
ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2427 โดย ผู้ให้กำเนิดกิจการไฟฟ้าในประเทศไทย คือ จอมพลเจ้าพระยา สุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ด้วยการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้า และติดดวงโคมไฟฟ้าที่กรมทหารหน้าซึ่งเป็นที่ตั้งกระทรวงกลาโหมในปัจจุบันสำหรับกิจการไฟฟ้าในส่วนภูมิภาคเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อทางราชการได้ตั้งแผนกไฟฟ้าขึ้นในกองบุราภิบาลกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยและได้ก่อสร้างไฟฟ้าเทศบาลเมืองนครปฐมขึ้นเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าแก่ประชาชนเป็นแห่งแรกเมื่อปี 2473 จากนั้นมีการปรับปรุงเป็นกองไฟฟ้าและ กองไฟฟ้าภูมิภาคตามลำดับ ก่อนจัดตั้งเป็น “องค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค” เมื่อปี 2497

ได้รับการสถาปนาตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพุทธศักราช 2503 โดยรับช่วงภารกิจต่อจากองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาดำเนินการ มีการไฟฟ้าอยู่ในความรับผิดชอบ 200 แห่ง มีกำลังไฟฟ้าสูงสุดในปี 2503 เพียง 15,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าบริการประชาชนได้ 26.4 ล้านหน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ต่อปี ในทศวรรษแรกของการก่อตั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนับว่ามีการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จอย่างดีโดยได้รับการยกย่องให้เป็นรัฐวิสาหกิจชั้น 1 ในปี 2513 ที่มีผลงานโดดเด่นอยู่ในระดับแนวหน้าของรัฐวิสาหกิจในยุคนั้น

เร่งดำเนินการจ่ายไฟฟ้าให้หมู่บ้านชนบทเพื่อตอบสนองความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นด้วยการจัดแผนงานโครงการสำคัญได้แก่
•โครงการเร่งรัดพัฒนาไฟฟ้าชนบทเพื่อจ่ายไฟให้หมู่บ้านทั่วประเทศภาย ใน 15 ปี
•โครงการพัฒนาไฟฟ้าตำบลเพื่อจ่ายไฟให้หมู่บ้านภายใน 6 ปี
•จ่ายไฟให้หมู่บ้านชนบทแบบไฟฟ้าพัฒนาโดยเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถสมทบค่าใช้จ่ายค่าลงทุนก่อสร้างระบบไฟฟ้าจำนวนร้อยละ 30เพื่อให้ใช้ไฟฟ้าได้เร็วขึ้น ทำให้หมู่บ้านในชนบทมีไฟฟ้าใช้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เมื่อปี 2515 เป็นประมาณร้อยละ 35 เมื่อสิ้นปี 2523

เสริมระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้มีความพร้อมสำหรับรองรับการขยายตัวการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มวงจรระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีการใช้ไฟฟ้าหนาแน่นเปลี่ยนระบบแรงดันเพิ่ม และเชื่อมโยงโรงจักรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้งหมดเข้ารับไฟฟ้าจากสถานีย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แทนการผลิตของโรงจักรไฟฟ้าดีเซลก่อสร้างเชื่อมโยงระบบจำหน่ายแรงดันสูง 33 กิโลโวลต์ด้วยสายเคเบิลใต้นํ้าจากสถานีไฟฟ้าย่อยขนอมของ กฟผ. ไปยังเกาะสมุย ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นการวางสายเคเบิลใต้นํ้าครั้งแรกในประเทศไทย และเริ่มพัฒนานำทรัพยากรพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานนํ้า และแสงอาทิตย์ ฯลฯ มาผลิตพลังงานไฟฟ้า

มุ่งเน้นดำเนินการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาห
กรรมที่กระจายไปยังชนบทและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
การพัฒนาชุมชนในภูมิภาคให้เจริญ รวมทั้งโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกและพื้นที่ภาคใต้ โดยเน้นงานด้านการปรับปรุงและเสริมประสิทธิภาพความมั่นคงของระบบให้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วยการบริการที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยนำวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้

ปรับโครงสร้างองค์กร เน้นการดำเนินงานด้านบริการการเพิ่มประสิทธิภาพความมั่นคงของระบบจำหน่ายด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีและการขยายธุรกิจโดยแยกธุรกิจหลักเป็นกลุ่มธุรกิจเครือข่ายระบบไฟฟ้า ธุรกิจจำหน่ายและบริการ รวมทั้งปรับรูปแบบการบริหารจัดการโครงการเป็นแบบครบวงจร พัฒนาศักยภาพบุคลากร และบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมก้าวสู่ระดับสากลในธุรกิจพลังงาน

องค์กรสู่ PEA Digital Utility
มุ่งมั่นให้บริการพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องทั้งด้านคุณภาพและบริการสู่องค์กรที่เป็นเลิศด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ PEA Digital Utility ด้วยกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล พร้อมก้าวสู่ปีที่ 60 ด้วยการเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคยุคใหม่ที่ทันสมัย ด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าที่เป็นเลิศเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศควบคู่ไปกับการสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน
ธุรกิจของ กฟภ.
มุ่งเสริมสร้างศักยภาพอย่างไม่หยุดนิ่งสู่การยกระดับการเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคยุคใหม่ที่ทันสมัยด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าที่เป็นเลิศพร้อมค้นหาแหล่งพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่เพื่อตอบโจทย์อนาคต และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ
ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นปี 2562
กลยุทธ์การพัฒนาความยั่งยืน
