มิติด้านสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การบริหารจัดการด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ
การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency)
เกณฑ์วัดระดับความสำเร็จในการดำเนินงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจปี 2565
ค่า Factor X
ระดับเกณฑ์ที่ 1
ค่า Factor X
ระดับเกณฑ์ที่ 2
ค่า Factor X
ระดับเกณฑ์ที่ 3
ค่า Factor X
ระดับเกณฑ์ที่ 4
ค่า Factor X
ระดับเกณฑ์ที่ 5
กำหนดนโยบายสำนักงานสีเขียว (Green Office)
ผลการดำเนินงานด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (tCO2e)
- ในปี 2561 PEA ได้รับการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เพื่อกำหนดตัวชี้วัดตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ จึงได้กำหนดให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปีดังกล่าวเป็นปีฐาน
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการดำเนินงานขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก แบ่งเป็น ขอบเขต ดังนี้
ขอบเขตที่ 1
ขอบเขตที่ 2
ขอบเขตที่3
- ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) มีที่มาจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)
- แนวทางการรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากการควบคุมการดำเนินงาน (Operational Control) ความหมายคือ องค์กรมีอำนาจควบคุมการดำเนินงานขององค์กรได้โดยตรง ซึ่งพิจารณาจากความเป็นเจ้าของและมีอำนาจควบคุมในการกำหนดนโยบายและ การดำเนินงาน โดยขอบเขตของการประเมินและรวบรวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นขององค์กรจะครอบคลุมแต่ละหน่วยธุรกิจที่องค์กรนั้นเป็นเจ้าของและมีอำนาจสามารถกำหนดนโยบายและควบคุมการดำเนินงานได้ไม่นับรวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น จากหน่วยธุรกิจที่องค์กรมีส่วนเป็นเจ้าของ แต่ไม่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงาน
- การคำนวณใช้วิธีการนำข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) คูณกับค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) และแสดงผลให้อยู่ในรูปของตัน (T) คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent)
ผลการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
จากการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ทรัพยากรทั้ง 11 รายการ ที่เป็นตัวชี้วัดสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของ PEA โดยนำมาประเมินและรายงานผลการดำเนินการติดตามตรวจสอบปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกเป็นประจำทุกเดือน เพื่อยกระดับแผนการใช้ทรัพยากรในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งในด้านการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเป้าหมายในการวัดผลประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ จากการดำเนินการดังกล่าว พบว่า PEA มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมจาก 5 กิจกรรมหลักขององค์กรเท่ากับ 229,959.59 tCO2e ในปี 2565 ทั้งนี้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวไม่รวมปริมาณหน่วยสูญเสียจากระบบส่ง และจำหน่ายไฟฟ้า
จากผลการประเมินในปี 2565 พบว่ากิจกรรมที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่
0%
ลำดับที่ 1
การให้บริการไฟฟ้าของ PEA คิดเป็นร้อยละ 39.16
0%
ลำดับที่ 2
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในยานพาหนะคิดเป็นร้อยละ 22.23
0%
ลำดับที่ 3
การผลิตและใช้เสาไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 14.62
0%
ลำดับที่ 4
การผลิตไฟฟ้าของ PEA คิดเป็นร้อยละ 18.46
0%
ลำดับที่ 5
การบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 5.53
- การปรับเปลี่ยนน้ำมันยานพาหนะรถยนต์ PEA เป็นน้ำมันประเภท B7 E20 E85 และแก๊สโซฮอล์ 95 ซึ่งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จำนวน 1,684.64 tCO2e จากเป้าหมายที่กำหนดไว้จำนวน 1,500.00 tCO2e
- การดำเนินงานภายใต้นโยบายสำนักงานสีเขียวซึ่งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จำนวน 3,092.17 tCO2e จากเป้าหมายที่กำหนดไว้จำนวน 200.00 tCO2e นอกจากนี้ยังสามารถขยายผลโครงการครอบคลุมการไฟฟ้าทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 372 แห่ง จากเป้าหมายที่วางไว้จำนวน 486 แห่ง
ข้อมูลตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ขอบเขต 1
ตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | รายการ | ปริมาณ | หน่วย | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | |||
การผลิตไฟฟ้าของ PEA | ปริมาณน้ำมันดีเซลที่ใช้ในการผลิต | 12,007,362 | 13,290,417 | 11,709,758 | 8,122,485.33 | 7,914,815 | ลิตร |
ปริมาณหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ | 46,519,469.25 | 51,490,339.42 | 45,366,478.27 | 31,468,502.95 | 30,663,938.10 | kWh | |
การบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าและวิศวกรรม | ปริมาณน้ำมันหม้อแปลงที่จัดซื้อ | 973,200 | 670,218 | 1,641,600 | 1,683,400 | 1,571,800 | ลิตร |
ปริมาณการใช้สาร SF6 | 978.6 | 560 | 820 | 480 | 360 | กิโลกรัม | |
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในยานพาหนะ | ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลในยานพาหนะ | 20,442,645 | 21,167,266 | 20,882,952 | 19,780,029 | 18,627,208 | ลิตร |
การผลิตเสาไฟฟ้าจากผลิตภัณฑ์คอนกรีต | เสาไฟฟ้าผลิตเอง | 18,015 | 14,786 | 20,347 | 22,542 | 43,244.04 | ลิตร |
การรั่วไหลของสารทำความเย็น | ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R-22 | 2,985.72 | 2,037.62 | 1,454 | 956.76 | 1,057.19 | กิโลกรัม |
ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R-410A | 30 | 387 | 44 | - | 31 | กิโลกรัม | |
ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R-134A | 8.3 | 153 | 32 | - | 38.90 | กิโลกรัม | |
ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R-32 | 17.7 | 149 | 39 | - | 38.90 | กิโลกรัม |
ข้อมูลตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ขอบเขต 2
ตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | รายการ | ปริมาณ | หน่วย | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | |||
การให้บริการของ PEA | ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน (302-1) | 119,246,722 | 136,115,090 | 143,544,716 | 142,813,195 | 146,708,695 | kWh |
หน่วยสูญเสียจากการจำหน่ายไฟฟ้า | ปริมานหน่วยสูญเสียจากการจำหน่าย | 7,622,929,052.80 | 7,837,142,184.70 | 7,809,717,354.10 | 8,049,384,018.10 | 7,939,860,740.40 | kWh |
ข้อมูลตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ขอบเขต 3
ตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | รายการ | ปริมาณ | หน่วย | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | |||
การให้บริการของ PEA | ปริมาณการใช้กระดาษ A4 | 217,624 | 129,731 | 127,498 | 132,538 | 131,547 | รีม |
ปริมาณการใช้กระดาษ Thermal | 19,128,320 | 38,292,340 | 6,133,184 | 6,351,278 | 1,682,879 | ฉบับ | |
ปริมาณการใช้น้ำประปา | 1,159,986.44 | 1,268,641 | 1,513,664 | 1,580,738 | 1,682,742 | m3 |