มิติด้านสังคม
สิทธิมนุษยชน
การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
- ผวก. ได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ทำหน้าที่กำกับดูแลแนวทางปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนได้ยึดถือและปฏิบัติตาม
- คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานจัดซื้อ หน่วยงานทรัพยากรบุคคล หน่วยงานการพัฒนาสู่ความยั่งยืน หน่วยงานประชาสัมพันธ์ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งดูแลความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น มีหน้าที่หลักในการนำแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ไปปฏิบัติใช้ โดยร่วมกับหน่วยงานบริหารความเสี่ยงเพื่อระบุประเด็นความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการกำหนดกลุ่มหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบ แล้วดำเนินการวางแผน กำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานของ กฟภ.
- คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนมีหน้าที่สื่อสารแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจของ กฟภ. ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Business Value Chain) เช่น บริษัทในเครือ ตัวแทนหรือตัวกลางทางธุรกิจอื่นที่กระทำการใดๆ ในนาม กฟภ. ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ (Supplier) คู่ค้า (Contractor) คู่ความร่วมมือ (Business Partners) และผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Venture) โดยมีแนวทาง การบริหารและจัดการต่างๆ เพื่อป้องกันการเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการที่อาจเกี่ยวข้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ผู้บริหารทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบทำให้มั่นใจว่าผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้ตระหนักถึงและมีความเข้าใจแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ โดยได้รับการอบรมอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
- พนักงานจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ กรณีมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้บังคับบัญชาหรือคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และหากพบเห็นการฝ่าฝืนแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ จะต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือผ่านช่องทางที่กำหนดไว้ตามคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและแนวทางการปฏิบัติของ กฟภ. โดยทันที
นโยบายและแนวทางปฏิบัติ
- กฟภ. ตระหนักถึงและเคารพในสิทธิมนุษยชนของพนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขององค์กรทั้งหมด ทั้งในด้านแนวคิดและมุมมองในประเด็นต่างๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เพศ สัญชาติ อายุ ความทุพพลภาพ หรือสถานภาพอื่นใดโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดย กฟภ. จะนำวิธีปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนไปเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานทุกๆ ด้านตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจขององค์กร (Business Value Chain)
- กฟภ. จะถือปฏิบัติตามกฎหมายบังคับใช้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศที่ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจของ กฟภ. ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Business Value Chain) ประกอบธุรกิจอยู่
- กฟภ. จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเด็ดขาด (Zero Tolerance Policy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานข้ามชาติโดยผิดกฎหมาย การใช้แรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์
- กฟภ. จะปฏิบัติต่อพนักงานอย่างมีมนุษยธรรม ปราศจากการใช้ความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ การขู่เข็ญทางร่างกาย จิตใจ หรือการข่มเหงด้วยวาจา และการรักษามาตรฐานด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและมีสิ่งแวดล้อมของการปฏิบัติงานที่ดี
- กฟภ. สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจขององค์กร รวมทั้งผู้ที่มีธุรกรรมร่วมกับ องค์กรได้ดำเนินธุรกิจโดยปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและเคารพสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
- กฟภ. ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนตามกระบวนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยมอบหมายให้คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกับหน่วยงานบริหารความเสี่ยง ดำเนินการ ดังนี้
- ตรวจสอบกิจกรรมการดำเนินงานของ กฟภ. ทั้งภายในและภายนอกองค์กรในทุกๆ ด้านของห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ (Business Value Chain) เพื่อระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence: HRDD)
- จัดทำแผนจัดการแก้ไขประเด็นที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงกำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาเยียวยาความเสียหายและการติดตามผล (Mitigation Plan)
- วางแผนป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
นอกจากนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของ กฟภ. ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในทุกกิจกรรมของการดำเนินงานอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนมีหน้าที่ต้องรายงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเปิดเผยรายงานดังกล่าวในรายงานความยั่งยืนประจำปี (Sustainability Report) เป็นประจำทุกปี
ทรัพยากรบุคคล
- กฟภ. จะนำแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารบุคลากรทั้งในด้านการสรรหา การจ้างงาน การปฐมนิเทศ เป็นต้น
- 2. หน่วยงานทรัพยากรบุคคลร่วมกับคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจะให้คำแนะนำและการฝึกอบรมที่จำเป็นแก่พนักงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ จะนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสื่อสาร
พนักงาน
เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าพนักงานได้รับทราบและเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจะบรรจุนโยบาย แนวทางปฏิบัติ รวมทั้งข้อมูลล่าสุดที่ปรับปรุงแก้ไขไว้บนเว็บไซต์ของ กฟภ. ทั้งนี้คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจะแจ้งพนักงานทราบหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญ
ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจของ กฟภ. ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Business Value Chain)
คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจะสื่อสาร เผยแพร่ และให้การสนับสนุนอื่นใดแก่ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจของ กฟภ. ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Business Value Chain) ได้แก่ บริษัทในเครือ ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ (Supplier) คู่ค้า (Contractor) คู่ความร่วมมือ (Business Partners) และผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Venture) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม เคารพและปฏิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชนตามแนวทางปฏิบัติฯฉบับนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นความสัมพันธ์ทางธุรกิจและในภายหลังตามความเหมาะสม โดยยึดมั่นในมาตรฐานการรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับ กฟภ.
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กฟภ.
คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจะสื่อสาร เผยแพร่ และให้การสนับสนุนเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร ได้รับทราบนโยบายและแนวทางปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของ กฟภ.
กรณีมีข้อสงสัย
หากพนักงานเกิดความไม่มั่นใจว่าการกระทำใด อาจเป็นลักษณะที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับองค์กร หรือในกรณีที่มีคำถามหรือข้อสงสัย พนักงานควรปรึกษากับผู้บังคับบัญชาโดยตรงหรือคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนทันที
การรายงานการพบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
หากพนักงานมีข้อสงสัยหรือมีหลักฐานว่ามีพนักงานหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนามองค์กร ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับ กฟภ. จะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบหรือรายงานผ่านช่องทางการรายงานตามคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและแนวทางการปฏิบัติของ กฟภ. โดยทันที และเมื่อองค์กรได้รับรายงานแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
การปกป้องดูแลพนักงาน
กฟภ. ให้ความมั่นใจกับพนักงานว่าจะไม่มีพนักงานคนใดต้องถูดลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือได้รับผลกระทบใดๆ จากการแจ้งเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับการถูกข่มเหง การถูกเลือกปฏิบัติ การถูกละเมิดสิทธิ หรือตกเป็นเหยื่อ มีสิทธิร้องปัญหาตามกระบวนการและช่องทางรายงานตามคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและแนวทางการปฏิบัติของ กฟภ. แนวทางการให้ข้อมูลการกระทำผิดและการทุจริต การสอบสวน และการคุ้มครองข้อมูลขององค์กร
การฝ่าฝืนนโยบาย
- กฟภ. จะดำเนินการลงโทษทางวินัยแก่พนักงานผู้ฝ่าฝืนการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ รวมถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่เพิกเฉยต่อการกระทำผิดหรือรับทราบว่ามีการกระทำผิดแต่ไม่ดำเนินการจัดการให้ถูกต้อง ซึ่งมีบทลงโทษทางวินัยจนถึงขั้นให้ออกจากงาน การไม่ได้รับรู้ถึงแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามได้
- 2. บริษัทในเครือ ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ (Supplier) คู่ค้า (Contractor) คู่ความร่วมมือ (Business Partners) และผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Venture) ของ กฟภ. ที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ หรือรับทราบถึงการกระทำที่ขัดต่อแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ แต่ไม่ได้รายงานให้ฝ่ายบริหารของ กฟภ. ทราบ หรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเมื่อเจ้าหน้าที่สอบสวนของ กฟภ. ได้สอบถามเกี่ยวกับการกระทำที่อาจขัดต่อแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ ทั้งนี้ กฟภ. อาจบอกเลิกสัญญาได้
การกำกับติดตามและสอบทาน
- คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนต้องทบทวนแนวทางปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ เป็นประจำทุกปีและเสนอให้ ผวก. พิจารณาอนุมัติหากมีการเปลี่ยนแปลง
- หน่วยงานตรวจสอบภายในจะตรวจสอบระบบการควบคุมภายในและกระบวนการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในมีประสทธิผลในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจตามหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ จะหารือผลการตรวจสอบร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม และจะรายงานให้ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบต่อไป
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาและการรักษาทรัพยากรมนุษย์
บุคลากรถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กร PEA จึงมุ่งมั่นดูแลพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ โดยให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการวางแผนกำลังคน และการสรรหาคัดเลือกบุคลากรด้วยความเท่าเทียม โปร่งใส ซึ่งจะเน้นการเฟ้นหาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความมุ่งมั่น และมีศักยภาพในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืน นอกจากการสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถแล้วนั้น การบริหารค่าตอบแทนและการรักษาพนักงานก็เป็นสิ่งที่ PEA ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยจะทำการตรวจสอบและการประเมินความเสี่ยงในหน่วยงาน ในลักษณะการบังคับใช้แรงงาน แรงงานเด็ก แรงงานผิดกฎหมาย การกีดกันทางเพศ ฯลฯ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อ
การมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของพนักงานทุกคน เพื่อให้พนักงาน
มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานจวบจนเกษียณอายุงาน และยกระดับความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากรให้มีผลกระทบต่อสังคมในภาพรวม
โดย PEA เชื่อมั่นว่าหากพนักงานและลูกจ้างมีความสุขที่ได้ทำงานให้กับองค์กรจะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันองค์กรจะสามารถทำให้บุคลากรอยากอยู่กับองค์กรมากขึ้นและสามารถสร้างผลกำไรให้กับองค์กรได้สูงขึ้น ซึ่งทำให้ลูกค้าได้รับคุณภาพและการบริการที่ดีเยี่ยมและสนับสนุนการเติบโตและพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
การบริหารจัดการด้านการดูแลบุคลากรอย่างเท่าเทียม
- เปิดโอกาสในการจ้างงานอย่างเท่าเทียม มีกระบวนการคัดเลือกอย่างโปร่งใส โดยพิจารณาความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติที่เป็นไปตามที่องค์กรกำหนด
- ส่งเสริมให้พนักงานดำเนินการงานภายใต้แนวทางปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน โดยจะ ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเด็ดขาด (Zero Tolerance Policy) ในทุกกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานข้ามชาติโดยผิดกฎหมาย การใช้แรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์ (412-1)
- เปิดโอกาสในการทำงานให้กับผู้พิการ โดยกำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการจ้างงาน การให้สิทธิสวัสดิการที่เท่าเทียมกับพนักงานทั่วไป เพื่อส่งเสริมคนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเน้นหลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ ตลอดจนความคุ้มค่าในการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขระเบียบหรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
- กำกับดูแล พร้อมทั้งจัดอบรม ชี้แจง และสื่อสารให้การปฏิบัติงาน เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร โดยการจัดประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติอย่างครอบคลุมทั้ง 12 เขต และทำสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้พนักงานรับทราบทั่วทั้งองค์กร
- เปิดโอกาสให้พนักงานมีการรวมกลุ่มจัดตั้งทำหน้าที่เป็นผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในการเจรจาต่อรองกับฝ่ายนายจ้าง เพื่อคุ้มครองสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน รวมถึงให้คำปรึกษาสมาชิกที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนประกาศนโยบายด้านแรงงานสัมพันธ์อย่างเป็นทางการให้บุคลากรทุกพื้นที่รับทราบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากร PEA ว่าองค์กรให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
- อบรมพัฒนาบุคลากรส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมการไม่เลือกปฏิบัติในการทำงาน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
- มีการทำสื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวน ได้แก่ หนังสือเวียน Banner บน Intranet คลิปวิดีโอสื่อสาร Line Open Chat และ PEA Email สำหรับเป็นช่องทางสอบถาม จัดเวทีให้มีการแสดงความคิดเห็นในการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนในระดับสายงาน/สำนัก/การไฟฟ้าเขต ผ่าน online เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน เกี่ยวกับการขับเคลื่อนแผนยกระดับความผูกพันในแต่ละหน่วยงาน
0%
มีพนักงานที่ได้รับการดูแลภายใต้ข้อตกลงจากสหภาพแรงงานฯ ร้อยละ 100 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
ในการบริหารจัดการการดูแลบุคลากร PEA จะประเมินความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กร โดยมีวิธีการดำเนินการดังนี้
ผลการดำเนินด้านการดูแลบุคลากรอย่างเท่าเทียม
- ไม่มีข้อร้องเรียนในเรื่องการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่ไม่เป็นธรรม และไม่พบการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับกรณีของการเลือกปฏิบัติ (406-1)
- ระดับความพึงพอใจของพนักงานใหม่ที่มีต่อกระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร อยู่ที่ 4.61 จากคะแนนเต็ม 5 อยู่ในเกณฑ์ ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
- ค่าเฉลี่ยความผูกพันของบุคลากร อยู่ที่ 4.56 จากคะแนนเต็ม 5
- ค่าเฉลี่ยความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน อยู่ที่ 4.52 จากคะแนนเต็ม 5
- ระดับความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร อยู่ที่ 4.56 จากคะแนนเต็ม 5
- ระดับความอยากทุ่มเทกายใจในการทำงาน อยู่ที่ 4.61 จากคะแนนเต็ม 5
- อัตราการลาออกของพนักงานปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 0.22 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 83.33
- อัตราการลาออกของลูกจ้างปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 8.90 ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 13.00
0%
การจ้างงานคนพิการต่อพนักงานทั้งหมดร้อยละ 0.8
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทํางาน
นอกจากความมุ่งมั่นในการดูแลพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติแล้ว PEA มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานของพนักงาน (Cultivate a Motivating Workplace Environment) เนื่องจากการปฏิบัติงานในระบบไฟฟ้าของ PEA ที่ผ่านมามีการประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าช็อก ตกจากที่สูง รวมถึงการใช้ยานพาหนะขณะปฏิบัติงาน ฯลฯ และส่งผลกระทบต่อการสูญเสียบุคลากรในการปฏิบัติงาน ดังนั้น PEA
จึงมุ่งมั่นลดสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยทั้งจากสุขภาพและบริบทแวดล้อมอันส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของ
ผู้ที่ปฏิบัติงาน โดยถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การดำเนินงานของ PEA ขับเคลื่อนไปได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ PEA จัดให้มีและพัฒนาการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของพนักงานให้มีความครอบคลุมและปลอดภัยที่สุดทั้งในเรื่องของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และยุทธศาสตร์ของหน่วยงานสนับสนุนด้านความปลอดภัยของประเทศไทย และมาตรฐานการดำเนินงานด้านความปลอดภัยระดับสากล พร้อมทั้งมีแผนแม่บทความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย
การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
PEA ถ่ายทอดยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยไปสู่การปฏิบัติ โดยได้จัดทำเป็นแผนการดำเนินงาน (Action Plan) เพื่อรองรับเป้าหมายในการดำเนินงานของแต่ละยุทธศาสตร์ โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย และระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมอย่างครบถ้วน ตามแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2563 – 2567 (ทบทวนครั้งที่ 2 พ.ศ. 2565) พร้อมทั้งพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยของ PEA (PEA Safety Management System: PEA-SMS) สอดคล้องกับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
เพื่อขอการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (TIS 18001/BS OHSAS 18001) และดูแลป้องกันอุบัติเหตุครอบคลุมตั้งแต่พนักงาน ผู้รับเหมา และประชาชน
กระบวนการจัดการความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยจากการทำงาน
PEA จัดการความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยจากการทำงาน โดยใช้ระบบ การจัดการความปลอดภัยของ PEA (PEA Safety Management System : PEA-SMS) พร้อมทั้งจัดทำแบบฟอร์มรายงานผลการประเมินความเสี่ยงฉุกเฉิน ประจำปี ในการประเมินและวัดระดับความเสี่ยงเป็นขั้นตอนที่ช่วยในการจัดลำดับความเสี่ยง โดยเรียงลำดับความเสี่ยงสูงสุดไปจนถึงความเสี่ยงต่ำสุด การประเมินระดับความเสี่ยงจะอาศัยพื้นฐานในการพิจารณาความสัมพันธ์ของความรุนแรง และโอกาสที่จะเกิด
ตามหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงที่ได้ตกลงร่วมกัน และสามารถคำนวณได้จากระดับความเสี่ยง = โอกาสที่จะเกิด x ความรุนแรง โดยอาศัยพื้นฐานในการพิจารณา ดังนี้
ระดับ | ความรุนแรง | รายละเอียด |
---|---|---|
1 | น้อย | ไม่หยุดงาน หรือทรัพย์สินเกิดความเสียหายมีมูลค่าน้อยกว่า 50,000 บาท |
2 | ปานกลาง | หยุดงานไม่เกิน 3 วัน หรือทรัพย์สินเกิดความเสียหายมีมูลค่าตั้งแต่ 50,000 - 250,000 บาท |
3 | มาก | หยุดงานเกิน 3 วัน หรือทรัพย์สินเกิดความเสียหายมีมูลค่าตั้งแต่ 250,000 - 500,000 บาท |
4 | มากที่สุด | สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพ/เสียชีวิต หรือทรัพย์สินเกิดความเสียหายมีมูลค่าเกินกว่า 500,000 บาท |
PEA จัดการความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและความเจ็บการจัดลำดับความเสี่ยงมีการกำหนดเงื่อนไขที่ใช้ในการจัดลำดับความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง
จากมากไปหาน้อย เพื่อใช้ประโยชน์ในการพิจารณาเลือกเหตุฉุกเฉินที่สำคัญเพื่อจัดทำแผนตอบโต้ต่อภาวะฉุกเฉิน โดยแบ่งระดับความเสี่ยง ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
วยจากการทำงาน โดยใช้ระบบ การจัดการความปลอดภัยของ PEA (PEA Safety Management System : PEA-SMS) พร้อมทั้งจัดทำแบบฟอร์มรายงานผลการประเมินความเสี่ยงฉุกเฉิน ประจำปี ในการประเมินและวัดระดับความเสี่ยงเป็นขั้นตอนที่ช่วยในการจัดลำดับความเสี่ยง โดยเรียงลำดับความเสี่ยงสูงสุดไปจนถึงความเสี่ยงต่ำสุด การประเมินระดับความเสี่ยงจะอาศัยพื้นฐานในการพิจารณาความสัมพันธ์ของความรุนแรง และโอกาสที่จะเกิด
ตามหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงที่ได้ตกลงร่วมกัน และสามารถคำนวณได้จากระดับความเสี่ยง = โอกาสที่จะเกิด x ความรุนแรง โดยอาศัยพื้นฐานในการพิจารณา ดังนี้
ระดับ | จัดเป็นระดับความเสี่ยง |
---|---|
1 | เล็กน้อย |
2 | ยอมรับได้ |
3-4 | ปานกลาง |
6-9 | สูง |
12 | ไม่อาจยอมรับได้ |
โอกาสที่จะเกิดเหตุฉุกเฉิน | น้อย | ปานกลาง | มาก |
---|---|---|---|
ความรุนแรงของเหตุฉุกเฉิน | (1) | (2) | (3) |
น้อย (1) | เล็กน้อย (1) | ยอมรับได้ (2) | ปานกลาง (3) |
ปานกลาง (2) | ยอมรับได้ (2) | ปานกลาง (4) | สูง (6) |
มาก (3) | ปานกลาง (3) | สูง (6) | สูง (6) |
มากที่สุด (4) | ปานกลาง (4) | สูง (8) | ไม่อาจยอมรับได้ (12) |
การแบ่งระดับความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจว่าต้องมีการจัดการความเสี่ยง หรือการกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันคือ การกำจัดโอกาสที่จะเกิด หรือลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดความรุนแรง หรือลดทั้ง 2 องค์ประกอบ รวมถึงการพิจารณากำหนดเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการควบคุมป้องกัน
ซึ่งจะสัมพันธ์โดยตรงกับความเสี่ยงดังตาราง
ระดับความเสี่ยง | การปฏิบัติและเวลาที่ใช้ | การจัดการความเสี่ยง | |
---|---|---|---|
ไม่อาจยอมรับได้ | งานจะเริ่มหรือทำต่อไปไม่ได้จนกว่าจะลดความเสี่ยงลง ถ้าไม่สามารถลดความเสี่ยงลงได้ถึงแม้จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตามจะต้องหยุดการทำงานนั้นทันที | Reduce | องค์กรต้องหามาตรการควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นไปที่การลดโอกาสเกิดขึ้นเป็นหลัก และแผนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เพื่อรับมือต่อเหตุการณ์ความเสี่ยง |
สูง | ต้องลดความเสี่ยงลงก่อนจึงจะเริ่มทำงานได้ต้องจัดสรรทรัพยากรและมาตรการให้เพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงนั้น เมื่อมีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับงานที่กำลังทำอยู่ จะต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน | Plan | องค์กรต้องจัดทำแผนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และดำเนินการ ฝึกซ้อมแผน |
ปานกลาง | จะต้องใช้ความพยายามที่จะลดความเสี่ยงแต่ค่าใช้จ่ายของการป้องกันควรจะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและมีการจำกัดงบประมาณ จะต้องมีมาตรการลดความเสี่ยงภายในเวลาที่กำหนด เมื่อความเสี่ยงระดับปานกลางมีความสัมพันธ์กับการเกิดความเสียหายร้ายแรง ควรทำการประเมินเพิ่มเติม เพื่อหาค่าของความน่าจะเป็นของความเสียหายที่แม่นยำขึ้น เพื่อเป็นหลักในการตัดสินความจำเป็นสำหรับมาตรการควบคุมว่าต้องมีการปรับปรุงหรือไม่ | Control | องค์กรต้องหามาตรการควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสม หรือในกรณีที่มีมาตรการควบคุมอยู่แล้วให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมนั้นอย่างสม่ำเสมอ โดยมุ่งเน้นไปที่การลดโอกาสเกิดขึ้นเป็นหลัก |
ยอมรับได้ | ไม่ต้องมีการควบคุมเพิ่มเติม การพิจารณาความเสี่ยงอาจจะทำเมื่อเห็นว่าคุ้มค่า หรือการปรับปรุงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การติดตามตรวจสอบยังคงต้องทำเพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมยังคงมีอยู่ | Accept | องค์กรสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ หรือในกรณีที่มีมาตรการควบคุมอยู่แล้วให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมนั้นอย่างสม่ำเสมอ |
เล็กน้อย | ไม่ต้องดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม | None |
นอกจากนี้ได้มีการกำหนดลักษณะการประสบอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นจากกระบวนการทำงาน และก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีผลกระทบสูง เช่น ไฟฟ้าช็อก, วัสดุ สิ่งของกระแทกยานพาหนะ, ตกจากที่สูง, เบิร์น, หกล้ม ลื่นล้ม, สิ่งก่อสร้างพังทลาย, วัตถุพังทลาย/หล่นทับ, วัตถุตัด/บาด/แทง, วัตถุหนีบ/ดึง และสารเคมี/สัตว์มีพิษ เพื่อนำการประสบอันตรายดังกล่าวมาศึกษา/ทบทวนและกำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
ปัจจุบัน PEA ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งผล
การวิเคราะห์พบความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีในกองสนับสนุนงานองค์กรซึ่งมีหน้าที่ ทั้งนี้ PEA
ได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565
ในการให้พนักงานที่มีความเสี่ยงดังกล่าว ทำการสุขภาพตามกฎหมาย และแนวปฏิบัติของ PEA อย่างเคร่งครัด และในปี 2565 ไม่พบผลที่ผิดปกติที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยจากการทำงาน ทั้งนี้ PEA ไม่มีพนักงาน และผู้รับเหมาเจ็บป่วยจากการทำงานในปีที่รายงาน
โครงสร้างคณะทำงานพิจารณาจัดทำระบบกำกับกระบวนการทำงานตามกฎหมาย ระเบียบ
วิธีปฏิบัติตามด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องกับ พนักงาน คู่ค้า ผู้รับจ้าง และผู้รับเหมา หรือ กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำนักงานใหญ่ (403-4)
PEA ยังมีวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย โดยมี Safety Talk ก่อนการเริ่มทำงานทุกสัปดาห์ และ
ยังนำระบบฝึกอบรมความปลอดภัย KYT มาใช้ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงาน
ควบคู่ไปด้วย โดย KYT เป็นวิธีการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน พร้อมทั้งกำหนดมาตรการหรือวิธีการจัดการอันตรายเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัย นอกจากนี้ยังดำเนินการ
จัดอบรมและพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย พร้อมติดตามและวัดผล เพื่อนำมาปรับปรุงการอบรมอย่างต่อเนื่อง
การสื่อสารกับพนักงานในการประชุมเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย (403-4)
พนักงาน
ช่องทางการสื่อสาร | ความถี่ในการสื่อสาร | ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง |
---|---|---|
ประชุมรายงานค่าดัชนีการประสบอุบัติภัยฯ (√DI) | ไตรมาสละ 1 ครั้ง | แผนกความปลอดภัยของการไฟฟ้าเขต |
ประชุมคณะอนุกรรมการความปลอดภัย | อย่างน้อย ไตรมาสละ 1 ครั้ง | ผู้ช่วยผู้ว่าการสายงานบริหารองค์กรเป็นประธาน |
ประชุมคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัย | ไตรมาสละ 1 ครั้ง | ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นประธาน โดยมีรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 12 เขต รวมถึงฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นคณะกรรมการ |
ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) | เดือนละ 1 ครั้ง | |
1) สำนักงานใหญ่มีรองผู้ว่าการสายงานบริหารองค์กรเป็นประธาน | ||
2) ส่วนภูมิภาคมีผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขตเป็นประธาน | ||
3) ส่วนสำนักงานการไฟฟ้าผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นประธาน | ||
โดย 1) – 3) มอบหมายเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพเป็นเลขานุการ |
ผู้รับเหมา
ช่องทางการสื่อสาร | ความถี่ในการสื่อสาร | ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง |
---|---|---|
การฝึกซ้อมสร้างความตระหนักเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน | เดือนละ 4 งาน | เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ |
ผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (3-3)
- ได้รับการรับรองมาตรฐาน TIS 18001 ครบทั้ง 12 หน่วยงาน
- ความสำเร็จของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ได้เท่ากับร้อยละ 100 อยู่ในระดับ 5 จากค่าเป้าหมายระดับ 5 คือ ร้อยละ 100
- ค่าดัชนีการประสบอุบัติภัย (Disabling Injury Index: √DI) ได้เท่ากับ 0.0898 อยู่ในระดับ 4.6364 จากค่าเป้าหมายระดับ 5 คือ 0.0882 – 0 ลดลงจากปีที่ผ่านมา 0.0765 คิดเป็นร้อยละ 46.00
- จำนวนพนักงานและลูกจ้างที่ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับงาน 14 คน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 11 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00
- จำนวนลูกจ้างที่ไม่ใช่พนักงาน แต่งานและ/หรือสถานประกอบการถูกควบคุมโดยองค์กร/คนงานจ้างเหมาแรงงานที่ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับงาน 64 คน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 12 คน คิดเป็นร้อยละ 15.79
- จัดฝึกอบรมพนักงานและลูกจ้างเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (403-5) โดยแบ่งเป็นหลักสูตรประเภทเทคนิควิศวกรรม และประเภทกฎหมายกำหนด มีจำนวนพนักงาน และลูกจ้าง เข้าร่วมอบรมเท่ากับ 2,142 คน คิดเป็นร้อยละ 3.707 ของพนักงาน/ลูกจ้างทั้งหมด
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การคํานึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้า
จากการมีผู้ใช้ไฟฟ้าประสบอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าขององค์กรในอดีต PEAตระหนักถึง
ความปลอดภัยของผู้ใช้ไฟฟ้าว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด จึงมุ่งเน้นการดำเนินการในระบบไฟฟ้าของ PEA โดยจะต้องมีความปลอดภัย มั่นคง มีเสถียรภาพที่ดี ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อการใช้งานและต่อระบบไฟฟ้า PEA
ได้ดำเนินการสำรวจ ปรับปรุง และบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องในด้านความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ได้แก่ ข้อมูลผลกระทบความไม่ปลอดภัยจากระบบไฟฟ้าของ PEA ต่อผู้ใช้ไฟฟ้า เช่น เสาไฟฟ้าหัก เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าพาดผ่านอาคาร สายไฟฟ้าขาด อุปกรณ์ไฟฟ้าระเบิด และการลัดวงจรในระบบ เพื่อใช้เป็นข้อมูล
ในการปรับปรุงและแก้ไขระบบ PEA ยังได้มีการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชน เช่น มาตรฐานระยะห่างปลอดภัยในระบบไฟฟ้า รวมถึงการให้ความรู้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในโครงการต่าง ๆ ของ PEA เช่น โครงการชุมชนปลอดภัยใช้ไฟ PEA ในแต่ละเขต เพื่อให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยในระบบไฟฟ้าของ PEA ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ อย่างไรก็ตามหากเกิดอุบัติเหตุ
จากระบบไฟฟ้า PEA ได้กำหนดแนวทางในการประเมินการเยียวยาแก่ผู้ได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุดังกล่าว รวมทั้งนำความเสี่ยงจากกรณีอุบัติเหตุนั้น ๆ มาปรับปรุงให้มีความปลอดภัยในระบบไฟฟ้าต่อการใช้งาน
เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าและชุมชนในพื้นที่ความรับผิดชอบยิ่งขึ้น
การบริหารจัดการด้านการคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้า
การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ไฟฟ้า PEA มีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
- กำหนดให้มีการตรวจสอบและประเมินจุดเสี่ยงที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้อยละ 100
- กำหนดให้มีการตรวจสอบและประเมินทั้งในด้านมาตรฐานการออกแบบ คุณภาพ รวมถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการส่งและจำหน่ายไฟฟ้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมด โดยจะถูกกำหนดเป็นประจำทุกปีและ การไฟฟ้าเขตจะจัดทำรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามแผนทุก 3 เดือน (416-1)
- กำหนดให้มีการสุ่มตรวจในแต่ละพื้นที่ให้บริการเป็นประจำ หากพบว่าดัชนีใดไม่ตรงตามแนวทางการดำเนินงานหรือมาตรฐานจะต้องทำการปรับปรุง พร้อมทั้งวางแผนการแก้ไขหรือการดำเนินการต่อ และแจ้งความคืบหน้าให้หน่วยงานความปลอดภัยรับทราบต่อไป (Safety Patrol)
- ปฏิบัติตามนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กองความปลอดภัยและอาชีวอนามัยติดตามผลการปรับปรุงตามกรณีที่พบจากการสำรวจหรือข้อร้องเรียนจากประชาชน และแก้ไขระบบจำหน่ายที่ยังไม่ดำเนินการ โดยดำเนินการตามระบบการจัดการความปลอดภัย (PEA safety management system: PEA-SMS) มาตรฐานที่ 7 (ความปลอดภัยของประชาชน) และแผนแม่บทความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ปี 2563 – 2567 (ทบทวนครั้งที่ 2 พ.ศ. 2565)
- ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าแจ้ง PEA เมื่อพบเห็นว่าระบบจำหน่ายของ PEA มีความไม่ปลอดภัย โดยมีช่องทางการแจ้ง ได้แก่ 1129 PEA Call Center, Line Application, Facebook, PEA Website และการไฟฟ้าในพื้นที่ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยให้แก่ประชาชน
แผนการดำเนินงานในการบริหารจัดการความปลอดภัยของผู้ใช้ไฟฟ้า
แผนการดำเนินงานในตามกรณีอุบัติเหตุ
ผลการดำเนินงานด้านการคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้า
การไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและ/หรือหลักปฏิบัติโดยสมัครใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพและความปลอดภัย
ของผลิตภัณฑ์และบริการภายในรอบระยะเวลารายงานจากระบบไฟฟ้าในปี 2565 (2-27 และ 416-2)
ของผลิตภัณฑ์และบริการภายในรอบระยะเวลารายงานจากระบบไฟฟ้าในปี 2565 (2-27 และ 416-2)
0
เหตุการณ์
จำนวนเหตุการณ์ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบส่งผลให้มีโทษปรับ 16 เหตุการณ์
0
เหตุการณ์
จำนวนเหตุการณ์ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ส่งผลให้มีการตักเตือน 2 เหตุการณ์
0
บาท
ค่าใช้จ่ายในการชดเชย และค่ามนุษยธรรมทั้งหมด เท่ากับ 1,755,000 บาท
หมายเหตุ: ไม่มีการละเมิดมาตรฐานภาคสมัครใจในปีที่รายงาน
โดยตัวอย่างเหตุการณ์ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบส่งผลให้มีโทษปรับ เช่น นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเข้าใกล้หรือนำสิ่งที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่มีที่ถือหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าในระยะที่น้อยกว่าระยะห่างตามมาตรฐาน โดยผิดตามพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 8 ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไป
ตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว PEA มีโทษปรับเป็นจำนวนเงิน 400,000.- บาท
ค่าผลกระทบความไม่ปลอดภัย
0
ค่าผลกระทบความไม่ปลอดภัย
มีค่าเท่ากับ 0.0039
สายไฟฟ้าขาด 5 ครั้ง
อุปกรณ์ไฟฟ้าระเบิด 2 ครั้ง
การลัดวงจรในระบบไฟฟ้า 1 ครั้ง
0%
อยู่ในระดับ 5 คิดเป็นร้อยละ 14.88% ของค่าเกณฑ์วัดระดับ 5
โครงการชุมชนปลอดภัยใช้ไฟ PEA
ประชาชนและพนักงาน PEA
เข้าร่วมรับฟัง ในโครงการ
ชุมชนปลอดภัยใช้ไฟ PEA
0
มีผู้เข้าร่วมรับฟังในรูปแบบออนไลน์ 932 คน
0