Economic Dimensions
Innovation and Technology
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. (Provincial Electricity Authority: PEA) ได้เริ่มมีการพัฒนาระบบการจัดการนวัตกรรมองค์กร (Corporate Innovation System, CIS) และมีจัดทำแผนแม่บทด้านนวัตกรรมปี 2566 – 2570 เพื่อให้ กฟภ. มีทิศทางรวมถึงนโยบายด้านการส่งเสริม บริหารจัดการนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์, นโยบายด้ำนการบริหารจัดการและป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา, มีวิสัยทัศน์ที่จะใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการทำงานและสนับสนุนยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1
การพัฒนายกระดับกระบวนการ
จัดการนวัตกรรม
จัดการนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 2
การสร้างค่านิยม และเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 3
การนำความคิดสร้างสรรค์
และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์
และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์
การบริหารจัดการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้พัฒนาระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ State Enterprise Assessment Model : SE-AM เป็นไปตามมาตรฐาน ISO56002:2019 โดยได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจดำเนินงานโดยมีการจัดการนวัตกรรมรวมอยู่ด้วย PEA จึงได้จัดทำ “คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อการบริหารจัดการนวัตกรรมของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม กำหนดกรอบแนวทางการบริหารจัดการนวัตกรรมของ กฟภ. ที่ชัดเจน โดยมุ่งหวังให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจหลักการ แนวคิด ดำเนินการเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร สร้างความเข้าใจ ความตระหนัก และปลูกฝังวัฒนธรรมด้านนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรมของ กฟภ. อย่างยั่งยืนต่อไป
แผนภาพ ระบบจัดการนวัตกรรมองค์กรของ กฟภ. (ในรูปแบบ WAYS-MEANS-END)
รางวัลนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ
รางวัลนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ “2022 Kaohsiung International Innovation & Design EXPO” (KIDE 2022)
PEA คว้า 6 รางวัล ในการประกวดนวัตกรรมเวทีนานาชาติ “2022 Kaohsiung International Innovation & Design EXPO” (KIDE 2022) จัดโดย World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA) และTaiwan Invention Products Promotion Association (TIPPA) ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติเกาสง ประเทศไต้หวัน ประกอบด้วย
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) และประกาศนียบัตร (Cananian Special Award of Excellence) จาก Innovator Circles ประเทศแคนาดา จากผลงาน ระบบสำรวจเส้นทางด้วยแอปพลิเคชัน (Route Survey System by Application) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบระบบไฟฟ้าโดยแอปพลิเคชันสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปสร้างเส้นทาง (ไฟล์ AutoCAD) ได้ทันที ช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการสำรวจออกแบบระบบไฟฟ้า
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) และประกาศนียบัตร (Special Award) จาก Norton University ราชอาณาจักรกัมพูชา จากผลงานรอกไฟฟ้านำสายสะพานเพื่อพาดสายกรณีสายขาด (เสือข้ามเขา, High Voltage Cable Guide Pulley) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถพาดสายแรงสูงกรณีสายไฟฟ้าขาด ระหว่างเสาคู่ข้ามเหวที่ยังเหลือสายไฟที่ไม่ขาด และพาดอยู่บนเสาอย่างน้อย 1 เส้น ช่วยลดระยะเวลาในการซ่อมแซมลง และสามารถจ่ายไฟคืนสภาพในเวลาที่รวดเร็ว
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จากผลงาน โมดูลขยายฟังก์ชันตรวจจับสายขาดสำหรับรีเลย์ในระบบ 22 kV (Expansion Module for 46BC Function (EMU46BC)) เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานร่วมกับรีเลย์ป้องกันในระบบ 22 kV เพื่อรองรับการตรวจจับสายไฟฟ้าแรงสูงขาดในระบบจำหน่ายได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ช่วยยับยั้งอุบัติเหตุและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน
- รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) เครื่องมือปอกสายติดตั้งมิเตอร์ (Meter Wire Stripping Tool) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการปอกฉนวนของสายไฟฟ้าระบบจำหน่ายแรงต่ำ ทดแทนการปอกฉนวนแบบเก่าที่ใช้ มีดคัตเตอร์ทั่วไป ช่วยป้องกันตัวนำไฟฟ้าไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหายจากใบมีด
รางวัลนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ “Seoul International Invention Fair 2022 (SIIF 2022)”
PEA คว้า 6 รางวัล ในเวทีนานาชาติ Seoul International Invention Fair 2022 (SIIF 2022) ซึ่งจัดโดย Korea Invention Promotion Association (KIPA) ณ COEX Convention & Exhibition Center กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประกอบด้วย
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Prize) และประกาศนียบัตร Special Award จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จากผลงาน เครื่องมือทดสอบโครงข่ายสื่อสารของ PEA (PEA Communication Network Test Tool (INSPECTOR)) เป็นเครื่องมือสำหรับทดสอบคุณภาพของโครงข่ายสื่อสาร (IP Network) ขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพา ใช้งานง่าย และราคาต้นทุน การผลิตไม่สูง
- รางวัลเหรียญทองเเดง (Bronze Prize) จากผลงาน อุปกรณ์แปลงการสื่อสาร RS-232 Serial Communication ไปเป็นการสื่อสารแบบไร้สายด้วยเทคโนโลยีวิทยุ LoRa (RS232 Serial Communication to Wireless Converter Module Based on LoRa radio (BBLoraX)) เป็นอุปกรณ์แปลงรูปแบบการสื่อสารจาก Serial Communication – RS-232 ไปเป็นการสื่อสารแบบไร้สายด้วยเทคโนโลยี LoRa เพื่อให้อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันด้วยความถี่วิทยุได้ในระยะไกล โดยอุปกรณ์ BBLoRaX สามารถนำไปใช้งานติดตั้งได้ทันที และ ไม่จำเป็นต้องพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มเติม
- ประกาศนียบัตร Vifotec Special Award จาก Vietnam Fund for Supporting Technological Creations (VIFOTEC) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จากผลงาน ชุดตรวจสอบการติดต่อสื่อสาร ด้วย DNP3.0 Protocol (DNP3.0 Protocol Line Monitor and Test Set) เป็นเครื่องมือตรวจสอบการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบ SCADA กับ RTU ถูกออกแบบใช้งานแบบไร้สาย และติดต่อแสดงผลผ่าน Smart Phone ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ลดต้นทุนในการออกแบบส่วนแสดงผล และส่งข้อมูลไปให้ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว
รางวัลนวัตกรรมจากเวทีระดับนานาชาติงานประชุมวิชาการคุณภาพนานาชาติ IQPC 2022 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
PEA คว้า 4 รางวัล ในงานการประชุมวิชาการคุณภาพนานาชาติ International Quality & Productivity Convention 2022 (IQPC 2022) ณ บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประกอบด้วย
- รางวัล Excellent เรื่อง ระบบติดตาม ตรวจสอบ งานขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า 4.0 เพื่อสร้างระบบติดตาม ตรวจสอบ งานขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ระบบบันทึกข้อมูล ในการติดตามงาน (Tracking System) ระบบตรวจสอบข้อมูลและบริหารจัดการ (Information Monitoring Administration) ระบบตอบกลับการสนทนากับลูกค้าอัตโนมัติ (SMS CHATBOT to Customer) สามารถ ช่วยให้งานขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- รางวัล Excellent เรื่อง เด็กน้อยคอยวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกองระบบสารสนเทศให้ผู้ใช้งานสะดวกในการใช้งาน ลดขั้นตอนในการใช้คำสั่งทางด้านเทคนิคในการวิเคราะห์ปัญหาด้านเครือข่ายและเพิ่มประสิทธิภาพความพร้อมในการให้บริการ (Service Availability) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบปัญหาด้านเครือข่ายที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้การสื่อสารการแจ้งปัญหาระหว่างผู้ใช้งานกับผู้ดูแลระบบเป็นไปในทิศทางเดียวกันจึงลดเวลาในการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาด้านเครือข่ายให้สามารถแก้ไขได้รวดเร็วขึ้น
- รางวัล Excellent เรื่อง พัฒนางานกระแสไฟฟ้าขัดข้อง (ส่วนงานบริการผู้ใช้ไฟฟ้า) เพื่อพัฒนากระบวนการหลังการขายไฟฟ้าของ PEA ในด้านการแก้ไขกระแสไฟฟ้าขัดข้องให้ผู้ใช้ไฟฟ้า โดยปรับปรุงกระบวนการแจ้งข้อมูลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มช่องทางการแจ้งข้อมูลค่าบริการ ช่องทางการติดตาม ช่องทางสืบค้นข้อมูลการดำเนินการ และข้อมูลค่าบริการที่เกี่ยวข้องให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถแสดงแผนที่เส้นทางการเดินทางเพื่อให้พนักงานเข้าถึง จุดปฏิบัติงาน ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- รางวัล Outstanding เรื่อง โปรแกรมติดตามผลและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อลดหน่วยสูญเสีย (Loss) ปรับปรุงแผนงานการตรวจสอบมิเตอร์แรงต่ำ โดยวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าจากข้อมูลหน่วยการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟย้อนหลัง 5 ปี เพื่อให้ได้ลำดับความสำคัญในการตรวจสอบมิเตอร์และสร้างแผนการตรวจสอบ ให้สอดคล้องกับปริมาณงานในแต่ละพื้นที่ ช่วยให้ PEA สามารถลดภาระงาน ลดระยะเวลาและได้หน่วยการใช้ไฟฟ้า ที่สะท้อนความเป็นจริงและเป็นธรรมกับผู้ใช้ไฟฟ้า
รางวัลนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New products” (iENA 2022)
PEA คว้า 12 รางวัล ในเวทีนานาชาติ “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New products” (iENA 2022) ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประกอบด้วย
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตร Special Prize on Stage for excellent efforts in creating invention จาก Korea Invention Promotion Association (KIPA) สาธารณรัฐเกาหลี จากผลงาน เครื่องมือตรวจสอบมิเตอร์ประกอบซีทีแรงต่ำ (P-MAC: Power Meter and Current transformer tester) เครื่องมือตรวจสอบมิเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ โดยคำนวณและวินิจฉัยแสดงผลผ่านแอปพลิเคชันมือถือ ส่งข้อมูลเข้าเก็บแบบออนไลน์ เป็นการใช้เทคโนโลยีทดแทนการใช้บุคลากรในการวินิจฉัย ลดความผิดพลาดจากมนุษย์ (Human Error)
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประกาศนียบัตร Special Prize for excellent efforts in creating invention จาก Korea Invention Promotion Association (KIPA) สาธารณรัฐเกาหลี จากผลงาน หมุนสลายคราบ (Busbar Cleaner) นวัตกรรมพิชิตคราบสกปรก ใช้ทำความสะอาด Busbar tube ของสถานีไฟฟ้าแรงสูง โดยไม่ดับกระแสไฟฟ้า เพียงแค่ฉีดน้ำแรงดันสูงที่ Busbar Cleaner ก็สามารถหมุน ทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประกาศนียบัตรนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Certificate for the excellent invention) จาก Research Institute of Creative Education (RICE) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จากผลงาน ชุดเกียร์อเนกประสงค์ (Multipurpose Gear Driven Set) นวัตกรรมใหม่ที่ประดิษฐ์ออกมาให้ใช้งานกับเครื่องมือประเภทแรงดันสูง เช่น เครื่องมือประเภทบีบ ตัด หรือเจาะ ด้วยระบบทดผ่านชุดเกียร์ สามารถเปลี่ยนถ่ายกำลังจาก 200-230 นิวตันเมตร ซึ่งเป็นแรงดันเทียบเท่าขนาดแรงบีบไฮดรอลิกที่ 6,000 - 17,000 PSI หรือมากกว่า
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประกาศนียบัตรนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Certificate for the excellent invention) จาก Research Institute of Creative Education (RICE) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จากผลงาน อุปกรณ์สลับแหล่งจ่ายแรงดันอัตโนมัติ (Automatic Transfer Voltage (ATV)) อุปกรณ์สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ช่วยสลับการใช้ไฟฟ้าไปใช้งานในเฟสอื่นที่มีแรงดันไฟฟ้าปกติ มาจ่ายชั่วคราวให้ผู้ใช้ไฟฟ้า หากเกิดกรณีไฟฟ้าขัดข้อง เมื่อเวลากระแสไฟฟ้ากลับมาสู่ภาวะปกติ ก็จะตัดจ่ายแรงดันมายังสภาวะเริ่มต้น
- รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประกาศนียบัตรนวัตกรรม ยอดเยี่ยม (Certificate for the excellent invention) จาก Research Institute of Creative Education (RICE) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จากผลงาน เครื่องมือสำหรับเปลี่ยนลูกถ้วยไฟฟ้าแรงสูงทางโค้ง (Tools for Changing High-voltage Insulators with Curve (TCHIC)) นวัตกรรมเพื่อช่วยผู้ปฏิบัติงานในการเปลี่ยนลูกถ้วยแรงสูงที่เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะในตำแหน่งทางโค้งซึ่งมีแรงตึงสายที่สูงมาก และมีความอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ช่วยลดเวลาการทำงานและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
- รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประกาศนียบัตรนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Certificate for the excellent invention) จาก Association of Portuguese Inventors, Innovators & Creatives (APIICIS) สาธารณรัฐโปรตุเกส จากผลงาน เครื่องมือวิเคราะห์สภาพหม้อแปลง (Transformer Tester) นวัตกรรมที่สามารถตรวจสอบสภาพหม้อแปลงไฟฟ้าในระบบจำหน่าย 22 kV แบบ Multi-Function ช่วยยืนยันสภาพหม้อแปลงไฟฟ้าก่อนนำไปติดตั้งใช้งาน หรือก่อนการจ่ายไฟ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง
รางวัลนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ Taiwan Innotech Expo 2022 (TIE 2022)
PEA คว้า 6 รางวัล ในเวทีนานาชาติ Taiwan Innotech Expo 2022 (TIE 2022) ณ เมืองไทเป ไต้หวัน ประกอบด้วย
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จากผลงาน เครื่องทดสอบสวิตช์แรงดันและเกจวัดแรงดันแบบพกพา (Density Switch and Pressure Gauge Tester Kit) นวัตกรรมสำหรับทดสอบการทำงานของเกจวัดแรงดันก๊าซ SF6 ที่ติดตั้งภายในสถานีไฟฟ้าหุ้มฉนวนก๊าซ (GIS) สามารถทดสอบการทำงานของเกจวัดแรงดันก๊าซได้ 4 สถานะ ได้แก่ Low gas alarm, High pressure, Lock out No.1 และ Lock out No.2 ซึ่งการทดสอบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องใช้ก๊าซ SF6 ในทดสอบ อีกทั้งเครื่องทดสอบยังมีขนาดเล็ก สามารถนำไปใช้ทดสอบ ณ จุดติดตั้ง ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการทดสอบเกจวัดแรงดันก๊าซ ลดใช้งานก๊าซเรือนกระจก (SF6) ขณะดำเนินการทดสอบและสร้างมาตรฐานการใช้งานอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าของ PEA
- รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) จากผลงาน เครื่องจำลองการละเมิด สำหรับทดสอบมิเตอร์ ชนิด 1 เฟส (Tampering Tester) นวัตกรรมสำหรับทดสอบมิเตอร์ชนิด 1 เฟส ว่าสามารถตรวจจับการละเมิดมิเตอร์ได้หรือไม่ โดยนวัตกรรมข้างต้นสามารถจำลองการละเมิดมิเตอร์ได้ 8 รูปแบบ ทำให้การทดสอบเพื่อตรวจรับมิเตอร์ชนิด 1 เฟส หรือตรวจสอบมิเตอร์ก่อนการนำไปติดตั้ง สามารถดำเนินการได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) และรางวัลพิเศษ Special Award จาก World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA) จากผลงาน เครื่องรีดลวดตรงและตัดอัตโนมัติ (The Automatic Steel Wire Straightening and Cutting Machine) นวัตกรรมสำหรับรีดลวดตรงและตัดอัตโนมัติในงาน ด้านการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีต และรีดลวดเหล็กจากม้วนลวดเหล็กให้มีลักษณะเป็นลวดตรง ก่อนที่จะดำเนินการตัดลวดเหล็กตามความยาวที่ต้องการใช้ โดยสามารถปรับระยะความยาวได้ถึง 6 ระยะ ทำให้ลดระยะเวลาในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีต ลดปริมาณเศษลวดสูญเสีย และเพิ่มความปลอดภัย
- รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) และรางวัลพิเศษ Special Award จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) จากผลงาน อุปกรณ์เปลี่ยนลูกถ้วยแขวนพร้อมขาจับ (PEA Comealong) นวัตกรรมสำหรับจับยึดสายไฟฟ้ากับครอสอาร์ม (Crossarm) ของเสาไฟฟ้าขณะดำเนินการเปลี่ยนลูกถ้วยแขวน (Suspension insulator) โดยนวัตกรรมข้างต้นจะใช้ชุดประกับเหล็กที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับจับยึดสายไฟฟ้าและชุดแผ่นเหล็กที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับติดตั้งกับครอสอาร์มของเสาไฟฟ้า ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการเปลี่ยนลูกถ้วยแขวน และเพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
รางวัลนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New products” (iENA 2022)
PEA คว้า 3 รางวัลในเวทีนานาชาติ “The INNOVERSE invention & innovation Expo 2022” ณ รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย
- รางวัลเหรียญทอง จากผลงาน เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าขนาดเล็ก (Mini AVR) เป็นนวัตกรรม ที่ทำงานในลักษณะเหมือน Stabilizer เพื่อเป็นแหล่งจ่ายแรงดันให้กับวงจรควบคุมหม้อแปลง AVR ให้ได้รับแรงดันปกติ แม้ในกรณีแรงดันวิกฤตเพื่อให้ทำงานได้ต่อเนื่อง ซึ่ง Mini AVR สามารถปรับแรงดันได้กว้างมากกว่า Stabilizer ที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป มีความทนทาน และฟังก์ชันการทำงานในแบบ Mode Standby กรณีแรงดันไฟฟ้าปกติ เพื่อยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ในสิ่งประดิษฐ์ ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ และสามารถพัฒนาต่อไปในอนาคตได้
- รางวัลเหรียญทอง จากผลงาน ชุดตรวจสอบการติดต่อสื่อสารด้วย DNP3.0 Protocol (DNP3.0 Protocol Line Monitor and Test Set) เป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบ การติดต่อสื่อสารระหว่างระบบ SCADA กับ RTU ได้แก่ระบบ CSCS FRTU-RCS หรือ อุปกรณ์ recloser ที่เป็น SCADA Ready ได้ สามารถใช้ทดแทน Software DNP3.0 Protocol Test Set ซึ่งมีราคาสูง รวมถึงใช้แทนอุปกรณ์ RS232 Compact Line Monitor ถูกออกแบบใช้งานแบบไร้สาย และติดต่อแสดงผลผ่าน Smart Phone ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ลดต้นทุนในการออกแบบส่วนแสดงผล และสามารถใช้งานในระยะห่างจากจุดติดตั้งอุปกรณ์ ทำให้ผู้ใช้งานมีความปลอดภัย นอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปให้ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว
- รางวัลเหรียญทอง จากผลงาน เครื่องป้อนสายพร้อมสารหล่อลื่นอัตโนมัติ (Cable Pusher with Auto Lubricant) เป็นนวัตกรรมจัดทำเครื่องป้อนสายพร้อมสารหล่อลื่นอัตโนมัติ โดยเครื่องมือดังกล่าวมีลักษณะ การใช้งานด้วยการป้อนสายพร้อมทาสารหล่อลื่นให้สายเคเบิลในขณะทำการดึงสายเคเบิลผ่าน Duct Bank และสามารถวัดระยะสายเคเบิลที่ดึงผ่านท่อร้อยสาย Duct Bank ได้ ทำให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น มีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น
รางวัลนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ "The 2022 Japan Design Idea and Invention Expo (JDIE 2022)”
PEA คว้า 3 รางวัล ในเวทีนานาชาติ “The 2022 Japan Design Idea and Invention Expo (JDIE 2022)” ณ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย
- รางวัลเหรียญทอง จากผลงาน โครงเหล็กรองรับชุดเข้าปลายสายสำหรับเสาขึ้นสายเคเบิลใต้ดินระบบ 115 kV (Cable Termination Steel support for 115 kV Riser Pole) เป็นนวัตกรรมที่ออกแบบพัฒนาโครงเหล็กเพื่อรองรับชุดเข้าปลายสายแบบไม่ใช้น้ำมัน เพื่อช่วยให้การออกแบบเสาขึ้นสายเคเบิลใต้ดินระบบ 115 kV มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปรับโครงสร้างให้น้อยลง ก่อสร้างง่าย ประหยัดเวลาการดำเนินงาน มีน้ำหนักของโครงสร้างและอุปกรณ์ประกอบติดตั้งต่าง ๆ น้อย มั่นคงแข็งแรง มีความปลอดภัยทั้งด้านโครงสร้างและด้านระบบไฟฟ้า และมีคุณลักษณะพิเศษคือก่อสร้างได้ในพื้นที่จำกัด
- รางวัลเหรียญทอง จากผลงาน เครื่องมือวิเคราะห์สภาพหม้อแปลง (Transformer Tester) เป็นนวัตกรรมที่สามารถตรวจสอบสภาพหม้อแปลงไฟฟ้าในระบบจำหน่าย 22 kV แบบ Multi-Function โดยสามารถตรวจสอบหม้อแปลงได้ 2 แบบ คือ 1) แบบ Offline เป็นการทดสอบอัตราส่วนขดลวดหม้อแปลง (Turn Ratio) ทดสอบความเป็นฉนวน (Insulation Resistance) และทดสอบความต้านทานขดลวดหม้อแปลง (Winding Resistance) 2) แบบ Online เป็นการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า (Voltage) และตรวจสอบลำดับเฟส (Phase Sequence) เป็นนวัตกรรมที่ช่วยยืนยันสภาพหม้อแปลงไฟฟ้าก่อนนำไปติดตั้งใช้งานหรือก่อนการจ่ายไฟ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง
- รางวัลเหรียญเงิน จากผลงาน รอกไฟฟ้านำสายสะพานเพื่อพาดสายกรณีสายขาด (เสือข้ามเขา : High Voltage Cable Guide Pulley) เป็นนวัตกรรมสร้างรอกจากอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด ปรับปรุงโครงเหล็กและมอเตอร์นำมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถพาดสายแรงสูงกรณีสายขาดระหว่างช่วงเสาคู่ข้ามเหวที่ยังเหลือสาย Overhead Ground Wire หรือเหลือสายไฟที่ไม่ขาด และพาดอยู่บนเสาอย่างน้อย 1 เส้นไว้เป็นสายสะพานแขวนรอกพาดสาย โดยผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องลากสายผ่านต้นไม้ สิ่งกีดขวางต่าง ๆ ทำให้ใช้เวลา ในการซ่อมแซมน้อยลงอย่างมาก ส่งผลให้สามารถจ่ายไฟคืนสภาพได้ในเวลาที่รวดเร็ว
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความปลอดภัยทางไซเบอร์
ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและธุรกิจ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบ
ทั้งในเชิงบวก คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ และผลกระทบในเชิงลบ คืออาจก่อให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ อันสามารถส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือด้านความมั่นคงของประเทศ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็น “ความพยายามจะบุกรุกเข้าถึงระบบหรือการโจมตีจากภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาต” (Intrusion Attempts) PEA จึงให้ความสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีดิจิทัลมาโดยตลอด เนื่องจากการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการข้อมูลเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจของ PEA ทำให้ PEA ทราบถึงความเสี่ยงที่องค์กรอาจได้รับจากการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มุ่งร้ายต่อระบบโครงสร้างพื้นฐาน ฐานข้อมูลต่าง ๆ อันจะนำไปสู่ความเสียหายต่อ
ทั้งองค์กรและระบบเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งทำให้ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ของ PEA ลดลง
ในปี 2565 PEA ได้มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานให้สามารถรองรับการดำเนินงานด้านการรักษา
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที โดยปรับเปลี่ยนหน่วยงานกองมาตรฐานและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เป็นกองมาตรฐานและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สังกัดฝ่ายสารสนเทศมีหน้าที่หลักในการดูแลและรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร ทั้งส่วนบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี อีกทั้งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กปค.) และหน่วยงานด้าน Information Technology และ Operation Technology เป็นคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่บริหารและประสานงานทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก รวมถึงมีศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Security Operation Center: SOC) เพื่อเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ PEA ยังได้กำหนดข้อมูลและขั้นตอนกระบวนการในการรับมือต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ และมีการทบทวนรวมถึงการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นประจำทุกปี ซึ่งการดำเนินการขององค์กรมุ่งเน้นให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมาย และมาตรฐานสากล ISO/IEC 27001 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เป็นพื้นฐานหลักที่ PEA นำไปประยุกต์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนการควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อไปได้ในอนาคต
การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
PEA ถือเป็นองค์กรที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศตามประกาศคณะกรรมการธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง รายชื่อหน่วยงานหรือองค์กร หรือส่วนงานของหน่วยงานหรือองค์กรที่ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ ซึ่งต้องกระทำตามวิธีการแบบปลอดภัยในระดับเคร่งครัด พ.ศ. 2559 รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้ครอบคลุมการรักษาความลับ (Confidentiality) การรักษาความครบถ้วน (Integrity) และการรักษาสภาพพร้อมใช้งาน (Availability) ของระบบสารสนเทศ ตามประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามวิธีการแบบปลอดภัย พ.ศ. 2555 และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ประกาศคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เรื่อง ประมวลแนวทางปฏิบัติและ
กรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ พ.ศ. 2564 และเพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ PEA สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสากล จึงได้กำหนด ระเบียบ นโยบาย แนวปฏิบัติ และมาตรการ ว่าด้วยการจัดการและความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและไซเบอร์ ดังนี้
- ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการจัดการและความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ พ.ศ. 2560
- นโยบายความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ พ.ศ. 2561 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562
- แนวปฏิบัติความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศประกอบนโยบายความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
- มาตรการการใช้ทรัพย์สินสารสนเทศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2563
โดยในปี 2565 PEA มีการบริหารจัดการสอดคล้องกับข้อกำหนดต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- จัดให้มีกระบวนการบริหารจัดการระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ซึ่งมีขอบเขตงานที่ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรที่สำคัญ (Critical Infrastructure) โดยเฉพาะด้านสารสนเทศของศูนย์คอมพิวเตอร์ PEA จึงได้ดำเนินการบริหารจัดการ ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐานสากล ISO/IEC27001 มาอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างอิงขั้นตอนการปฏิบัติ วิธีการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ขอบเขตโครงสร้างของระบบความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และบริบทองค์กร ซึ่ง PEA ได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติและวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2560 และมีการทบทวนเป็นประจำทุกปี โดยพิจารณาจากปัจจัยนำเข้าของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่กฎหมายกำหนด
โดยในปี 2564 – 2565 PEA มีแผนที่จะพัฒนาระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ในขอบเขตโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (Critical Infrastructure) ให้ครอบคลุมสำนักงานใหญ่และส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ และขอบเขตระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลักของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระยะที่ 2 (รซธ. ระยะที่ 2) กลุ่มรับชำระเงิน ระบบงานรับชำระเงิน พิมพ์หนังสือแจ้งค่าไฟฟ้า และใบเสร็จรับเงิน (Bill printing and Payment Management: BPM)
ตามแผนปฏิบัติการปี 2565
- นำเครื่องมือและระบบต่าง ๆ มาใช้ในการดำเนินการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการ บริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวัง เพื่อให้สามารถรับมือกับเหตุภัยคุกคามที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นได้ เช่น ระบบการจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (Log Collection) ระบบวิเคราะห์การโจมตีทางไซเบอร์ (Security Information and Event Management: SIEM) และกำหนดนโยบายการควบคุมอุปกรณ์ผ่านระบบ ITSM เป็นต้น ซึ่งทำให้สามารถตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของลูกค้าในด้านบริการทางดิจิทัลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- จัดหลักสูตรอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติตามนโยบาย PEA ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล โดยจัดการอบรมให้กับพนักงานในหน่วยงานเฉพาะ และพนักงานทั่วไปในหน่วยงานบริหารจัดการ รวมถึงมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศให้กับบุคลากรทุกคนในรูปแบบสื่อ วีดิทัศน์ในรูปแบบแอนิเมชัน 2 มิติ และ Infographic อาทิ Password Policy, ภัยจากการใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์, สารพัดวิธีจับโป๊ะ Phishing Mail ฯลฯ อีกทั้งเผยแพร่องค์ความรู้และแจ้งเตือนภัยผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ Lock Screen ก่อน Login PC, @PEAFriends, PEA จดหมายข่าว เป็นต้น โดยหลักสูตรการอบรมผู้บริหารและพนักงาน PEA ที่สำคัญในปี 2565 ประกอบด้วย
- หลักสูตรอบรมการสร้างความตระหนักรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับพนักงาน (ทุกสายงาน และการไฟฟ้าเขต ทั้ง 12 เขต ทั่วประเทศ) ผ่านระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System : LMS)
- หลักสูตร “Onboarding Program” ประจำปี 2565 สำหรับพนักงานใหม่ เรื่อง “ความมั่นคงปลอดภัยในระบบสารสนเทศ” ผ่านระบบ E – learning
- หลักสูตรการสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ สำหรับ ผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ (Developer) (Secure Software Development Life Cycle)
- หลักสูตรระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ สำหรับคณะทำงานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
- หลักสูตรการสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ประจำปี 2565 ให้กับคณะทำงานและคณะทำงานย่อยของทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งหมดจำนวน 12 เขต รวมถึงบริษัท Out Source ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ PEA
- หลักสูตร NIST: Cyber Security ให้กับคณะทำงานและคณะทำงานย่อยของทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งหมดจำนวน 12 เขต และหน่วยงาน OT (Scada AMR GIS)
- การฝึกซ้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response Plan: ERP) และแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อรองรับอุบัติการณ์การถูกโจมตีทางไซเบอร์ ประจำปี 2565 ในรูปแบบ Table Top Exercise ร่วมกับ SCADA
- จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Security Operation Center: SOC) โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังการโจมตีทางไซเบอร์ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ ครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีปฏิบัติการ พร้อมระบบแจ้งเตือนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแบบทันท่วงที
ผลการดำเนินงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์
- PEA สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รวมถึงได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 ในขอบเขตโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Critical Infrastructure) ครอบคลุมสำนักงานใหญ่ ส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขต และระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก ของ PEA ระยะที่ 2 (รซธ. ระยะที่ 2) ขอบเขตกลุ่มรับชำระเงิน ระบบงานรับชำระเงิน พิมพ์หนังสือแจ้งค่าไฟฟ้า และใบเสร็จรับเงิน (Bill printing and Payment Management : BPM) นอกจากนี้ภายในปี 2565 - 2566 ยังมีแผนการดำเนินการขยายขอบเขตการขอรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 ไปยังโครงสร้างพื้นฐานระบบงานหลักมีความสำคัญของ PEA เพิ่มเติม ให้ครอบคลุมทุกระบบงานหลัก ประกอบด้วย กลุ่มซอฟต์แวร์ Back Office (ระบบ Enterprise Resource Planning: ERP), กลุ่มซอฟต์แวร์ Front Office (ระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า IS-U) และระบบงานบริหารไฟฟ้าขัดข้อง (Outage Management System : OMS) ให้แล้วเสร็จ
- มีการวัดประสิทธิผลการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ โดยกำหนดเกณฑ์วัดประสิทธิผลด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศไว้ในขั้นตอนปฏิบัติการวัดประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และมีการติดตามและรายงานสถานะของการดำเนินการตามแผนจัดการ ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
- มีการตรวจสอบการดำเนินงานภายในของระบบบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ โดย IA (Internal Audit) และ CB (Certified Body) เป็นประจำทุกปี โดยนำผลลัพธ์มาปรับปรุงและพัฒนากระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์รูปแบบเร่งรัด ระยะที่ 1 (Intensive Cybersecurity Capacity Building Program) เพื่อยกระดับการพัฒนาบุคลากรของด้านไซเบอร์ของประเทศ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure: CII) ทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ซึ่งประกอบด้วย หลักสูตรระดับพื้นฐาน หลักสูตรระดับผู้เชี่ยวชาญ และหลักสูตรระดับผู้บริหาร
- จัดทำแผนรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์และการตอบสนองต่อเหตุการณ์ระดับชาติ (National Incident Response Plan) และ Incident Response Fundamental ร่วมกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศทั้งภาครัฐและเอกชน (Critical Information Infrastructure หรือ CII)
- จากผลการดำเนินการในปี 2565 ไม่พบเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ร้ายแรงที่ส่งผลกระทบกับการดำเนินงานของ PEA จากการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ของศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ของ PEA พบว่า
0%
ร้อยละ 51 ของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใน PEA มาจากมัลแวร์ (Malware)
0%
ร้อยละ 22 เป็นภัยคุกคามที่ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลสำคัญ (Information Gathering) ของ PEA
0%
ร้อยละ 18 มาจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized Access)
0%
ร้อยละ 9 เป็นสาเหตุอื่น ๆ
และจากผลลัพธ์ดังกล่าว PEA จึงได้ดำเนินการวางแผนป้องกันการโจมตี ดังนี้
- ติดตั้งอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ตรวจจับป้องกันให้กับระบบสารสนเทศ เพื่อป้องกันและตรวจจับไฟล์ที่เป็นอันตราย รวมถึงปรับปรุงระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบัน
- ปรับปรุงกระบวนการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้เป็นปัจจุบัน
- ยกระดับการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นเชิงรุก เพื่อป้องกันกันก่อนที่เหตุการณ์ภัยคุกคามจะเกิดขึ้น
- เวียนย้ำการปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของ PEA และอบรมเชิงตระหนัก (Security Awareness Training) ให้แก่พนักงาน
- ผลการยกระดับความรู้ของพนักงานให้เท่าทันต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ จากการอบรมในหลักสูตร การสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของปี 2565 โดยมีพนักงานทั้งหมด 28,112 คน มีจำนวนพนักงานที่เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด 25,042 คน จากเป้าหมายที่วางไว้ 22,490 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 89.08 ของพนักงานทั้งหมด และในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ผ่านแบบทดสอบทั้งหมด 24,248 คนจากเป้าหมายที่วางไว้ที่ 20,241 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 96.83 จากผู้ที่เข้าอบรมทั้งหมด
- จากการจำลองสถานการณ์การโจมตีจากภัยคุกคามไซเบอร์ (Cyber Drill) ในรูปแบบ Phishing Mail ได้จำลองสถานการณ์แจ้งเตือนให้ผู้ใช้ยืนยันตัวตนและความจำเป็นในการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลระบบสารสนเทศ ตามแผนภาพที่แสดงไว้
สรุปผลการทดสอบพนักงาน โดยการส่ง E-mail ไม่ประสงค์ดีไปยังพนักงานทั้งหมด 7,560 คน ตามลำดับเหตุการณ์ดังตาราง
ประจำปี | จำนวน Phishing Mail ที่ส่ง (ฉบับ) | จำนวนผู้เปิดอ่าน Phishing mail, คลิกลิงก์ในอีเมลม กรอกและกดส่งข้อมูล (คน) |
---|---|---|
ประจำปี 2565 ครั้งที่ 1 (ไตรมาส 2) | สำนักงานใหญ่ 500 คน และการไฟฟ้าเขต 12 เขต เขตละ 250 คน รวมทั้งสิ้น 3,500 ฉบับ | 34 |
ประจำปี 2565 ครั้งที่ 2 (ไตรมาส 4) | สำนักงานใหญ่ 640 คน, การไฟฟ้าเขต 12 เขต เขตละ 280 คน, พนักงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ที่เคยผ่านการทดสอบครั้งที่ 1/2565 จำนวน 34 คน และ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง 26 คน รวมทั้งสิ้น 4,060 คน | 92 |
จากผลการทดสอบพนักงาน พบว่า องค์กรมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงหากเกิด Phishing Mail ขึ้นจริง ดังนั้น กองมาตรฐานและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จึงได้กำหนดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนัก
ต่อพนักงานให้มากยิ่งขึ้น ในแผนปฏิบัติปี 2565 โดยจัดอบรมให้ความรู้ และเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์
ให้ทราบถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น การสังเกต วิธีรับมือและป้องกัน และวางแผนการทดสอบการโจมตี
แบบ Phishing Mail ให้ครอบคลุมพนักงาน ทั่วทั้งองค์กร
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Free and Fair Competition
จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านพลังงาน และการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปของประชาชน
ในปัจจุบัน จึงมีการผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างกิจการไฟฟ้าตามแผนปฏิบัติประเทศด้านพลังงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมไฟฟ้าไปสู่รูปแบบการแข่งขันหรือ “ตลาดไฟฟ้าเสรี” โดยการดำเนินธุรกิจของPEA ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการด้านโครงข่ายระบบไฟฟ้าและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า PEA ได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้การสนับสนุนในเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมมาโดยตลอด และกำหนดแนวปฏิบัติด้านการแข่งขันทางการตลาดที่เป็นธรรม โดยการไม่ใช้อำนาจใด ๆ หรือความสัมพันธ์ทางการเมืองเพื่อเพิ่มความได้เปรียบเทียบเหนือการตลาดในทางมิชอบ และยกระดับบุคลากรรวมถึงการดำเนินการขององค์กรในทุกโครงการให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
การบริหารจัดการการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
ในขณะที่การเปิดเสรีกิจการไฟฟ้าในอนาคต อาจเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจของ PEA ได้อีกประการหนึ่ง โดยเฉพาะในด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผู้ใช้บริการไฟฟ้าที่ลดลง จากการเพิ่มขึ้นของตัวเลือกในตลาด ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อรายได้โดยตรง PEA จึงมีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับต่อการแข่งขันในอนาคต ดังนี้
- แต่งตั้งคณะทำงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดไฟฟ้าเสรี
- ออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) ในส่วนของกระบวนการ เครื่องมือ Software ระบบบริหารจัดการข้อมูล สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปิดกิจการไฟฟ้าเสรี
ผลการดำเนินการด้านการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
- จัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ของ PEA เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ของประเทศ
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการประชุมชี้แจง หารือ และติดตามผลการดำเนินงาน โดยคณะทำงานติดตามและประเมินผลการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเปิดการไฟฟ้าเสรี อีกทั้งมีการประเมินความพร้อมของ PEA ต่อความพร้อมเข้าสู่การเปิดการไฟฟ้าเสรีเป็นประจำทุกเดือน
- จัดทำข้อกำหนดการเปิดให้ใช้และเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้าสำหรับบุคคลที่สาม (Third Party Access: TPA Code) สำหรับผู้ซื้อไฟฟ้าในตลาด
- แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ (Functional Unbundling) และการแบ่งแยกต้นทุนตามประเภทของการให้บริการ (Account Unbundling) เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรมในการให้บริการตามรูปแบบกิจการไฟฟ้าเสรี
- การจัดทำแนวทางการแบ่งแยกทางกฎหมาย (Legal Unbundling)
- ไม่มีพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันและการละเมิด รวมถึงการต่อต้านความไว้วางใจและการผูกขาดทางการค้าเกิดขึ้นในปี 2565