Sustainability Management
การบริหารความยั่งยืนและการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Sustainable Development Policy
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Sustainability Management Structure
การพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน
โครงสร้างการบริหารจัดการความยั่งยืน
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์องค์กร (Strategic Objective)
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 1 (SO1)
ยกระดับการบริหารจัดการระดับสากลด้วยดิจิทัล และนวัตกรรม โดยมีทุนมนุษย์เป็นแกนขับเคลื่อนสำคัญ
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 2 (SO2)
พัฒนาระบบจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้และยกระดับสู่โครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid) เพื่อเป็นผู้นำระบบไฟฟ้าตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- อิเล็กทรอนิกส์และระบบฝังตัว (Electronics and Embedded Systems)
- ระบบควบคุมอัตโนมัติ (System Control and Automation)
- สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 3 (SO3)
ยกระดับผลประกอบการต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่ มุ่งสู่การเปิดเสรีกิจการไฟฟ้า
- ร่วมกับ กฟน. กฟผ. จัดตั้งตลาดข้อตกลงซื้อขายไฟฟ้าล่วงหน้า (Forward Market) ในพื้นที่ EEC
- ร่วมจัดทำข้อบังคับ TPA Regime และข้อกำหนด TPA Code รวมถึงหลักเกณฑ์และอัตรา Wheeling Charge เพื่อเสนอต่อ กกพ.
- การแบ่งแยกหน้าที่ของศูนย์ควบคุมระบบจำหน่ายไฟฟ้าออกจากระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า
- เตรียมความพร้อมเรื่อง Market Operator Platform
- เตรียมความพร้อมบุคลากร โครงสร้าง บริษัทในเครือ รวมถึงแยกบัญชี และศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่าง DSO และ Trader
- สร้างบทบาทของ Key Trader ในพื้นที่ EEC
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 4 (SO4)
เป็นองค์กรไฟฟ้าชั้นนำ ตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศ เพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Corporate Governance
การกำกับดูแลกิจการและการต่อต้านทุจริตเพื่อสร้างคุณค่าสู่ความยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 1
ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
กลยุทธ์ที่ 2
ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี
กลยุทธ์ที่ 3
กลยุทธ์ที่ 4
การยกระดับระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีและต่อต้านการทุจริตขององค์กร
บูรณาการนโยบายธรรมาภิบาลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย GRC (Governance, Risk Management, Compliance)
ร่วมประกาศเจตจำนงการป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชัน
กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นต้นแบบด้านจริยธรรมพนักงาน รวมถึงค่านิยมองค์กร (TRUSTED)
บูรณาการมาตรฐาน PEA โปร่งใสอย่างยั่งยืนและระบบติดตามประเมินผล PEA โปร่งใสอย่างยั่งยืน กับระบบสารสนเทศสนับสนุนการประเมินการควบคุมตนเอง (Control Self-Assessment System: CSAS)
นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งบูรณาการและยกระดับฐานข้อมูลด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้เท่าทันต่อสถานการณ์ทุจริต เทียบเท่ามาตรฐานสากล (CG e-System)
ระบบ CG Testing
ระบบ COI Reporting
ระบบ CG Acknowledgement
การกำกับดูแลกิจการที่ดีฯ
แสวงหาความร่วมมือและร่วมขับเคลื่อนสังคมปลอดการทุจริต
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของ PEA”
เข้าร่วมโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
สร้างความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
ประเภทร้องเรียน
- คุณภาพไฟฟ้า
- การให้บริการ
- การจดหน่วย/แจ้งค่าไฟฟ้า
- พฤติกรรมพนักงาน
- อื่น ๆ
ประเภทการแจ้งเบาะแสทุจริตประพฤติมิชอบ
- กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
- กระบวนการด้านทรัพยากรบุคคล
- กระบวนการด้านงานบริการลูกค้า
- กระบวนการด้านการเงิน
- การประพฤติมิชอบ/ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม
- กระบวนการด้านระบบไฟฟ้า
- กระบวนการจัดการและบริหารองค์กร
- อื่น ๆ
การคุ้มครองข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส
ผลการดำเนินการด้านการกำกับดูแลกิจการและต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
- มีกรณีทุจริตที่เกิดขึ้นภายในองค์กร จำนวนทั้งสิ้น 8 กรณี โดยเกิดจากการเบียดบังทรัพย์ของทางราชการมาเป็นของตน ซึ่งจากกรณีดังกล่าวมีบุคลากรที่ถูกลงโทษทางวินัยจำนวน 8 ราย ซึ่ง PEA ได้ทำการลงโทษไล่ออกจากงานจำนวน 3 ราย และปลดออกจากงาน 5 ราย (สถานะ ธันวาคม ปี 2565)
- ข้อร้องเรียนจำนวนทั้งหมด 118 เรื่อง ทำการตอบชี้แจงแล้ว 50 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่มีมูล 15 เรื่อง ลดลงจากปีที่ผ่านมา (จำนวน 21 เรื่อง) คิดเป็นร้อยละ 28.57 (สถานะ ธันวาคม ปี 2565)
ประเภทข้อร้องเรียน | จำนวน (เรื่อง) | ร้อยละ |
---|---|---|
1. กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง | 15 | 12.71 |
2. กระบวนการด้านทรัพยากรบุคคล | 12 | 10.17 |
3. กระบวนการด้านงานบริการ | 9 | 7.63 |
4. กระบวนการด้านการเงิน | 8 | 6.78 |
5. ประพฤติมิชอบ/ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม | 56 | 47.46 |
6. กระบวนการด้านระบบไฟฟ้า | 6 | 5.09 |
7. กระบวนการจัดการและบริหารองค์กร | 1 | 0.85 |
8. อื่น ๆ | 11 | 9.32 |
รวมทั้งสิ้น | 118 | 100.00 |
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Risk Management
การบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
การบริหารจัดการความเสี่ยง
การบริหารจัดการและผลลัพธ์ในการดำเนินงานของประเด็นความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ
(สถานะ ธันวาคม ปี 2565)
ประเด็นความเสี่ยง
ตัวชี้วัด
-
ความสำเร็จของโครงการ (แผนงาน / โครงการของหน่วยงานที่ดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ตามเกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานของสายงาน กบ ประจำปี 2565)
Risk Appetite (RA) ร้อยละ 100
Risk Tolerance (RT) ร้อยละ 95 -
รายได้ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
Risk Appetite (RA) 7,230.44 ล้านบาท
Risk Tolerance (RT) 7,130.44 ล้านบาท -
บริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (CPI-X)
Risk Appetite (RA) 30,194 ล้านบาท
Risk Tolerance (RT) 30,250 ล้านบาท
ความสำคัญต่อ PEA
มาตรการลดความเสี่ยง
- แผนงานติดตามความคืบหน้ากระบวนการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ (รายเดือน)
- การใช้ช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ เช่น Line และอีเมล์ เป็นต้น เพื่อให้มีหลักฐานการติดตามเป็นรายวัน ให้มีความต่อเนื่อง
- แผนงานสนับสนุนการดำเนินงานให้กับผู้รับเหมา ในกรณีที่ประสบปัญหาด้านการเคลื่อนย้าย/ขาดแคลนแรงงาน
- ติดตามการดำเนินงาน และร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และสนับสนุน หาข้อมูล เพื่อประกอบการทำงาน ให้กับผู้รับเหมา
- การหารือร่วมกับผู้รับเหมา เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน และเร่งกระบวนการตรวจรับและเบิกจ่ายเพื่อสนับสนุนปัญหาสภาพคล่องของผู้รับเหมา
- แผนงานการดำเนิน งานธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (Business Portfolio Implementation)
- แผนงานควบคุมการขยายตัวของลูกหนี้และมูลค่าหนี้ค้างชำระ
- มาตรการการแจ้งเตือน/ติดตามหนี้
- มาตรการงดจ่ายไฟ ภายหลังจากการค้างชำระเกินระยะเวลาที่กำหนด
- เจรจาต่อรองการผ่อนชำระหนี้ค้างจ่าย
- แผนงานวิเคราะห์ข้อมูลฐานลูกค้าเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการทำธุรกิจ
- แผนเชื่อมโยง/ปรับปรุงกระบวนการทำงานระหว่างส่วนกลางและหน้างานในการทำธุรกิจใหม่
- แผนงานขยายผลชิ้นงานนวัตกรรมเชิงพาณิชย์
- แผนธุรกิจราย segment ของชิ้นงานอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายและผลงานงานวิจัย
- แผนการจัดการปัญหาการขาดแคลนพัสดุ (smart/modern warehouse) ในการทำธุรกิจ
- การปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อพัสดุให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
- มีการทบทวนและศึกษากลยุทธ์ ในแต่ละกลุ่มธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจเสริม
- แผนการปรับปรุงกระบวนการและการดำเนินงานให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
- แผนงานเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงิน
ผลลัพธ์
0%
ความสำเร็จของโครงการ
(แผนงาน / โครงการของหน่วยงานที่ดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ตามเกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานของสายงาน กบ ประจำปี 2565
มีค่าอยู่ที่ร้อยละ 100 (เป็นไปเป้าหมาย)
ล้านบาท
รายได้ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
มีค่าอยู่ที่ 7,604.55 ล้านบาท (ดีกว่าเป้าหมาย)
ล้านบาท
บริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (CPI-X)
มีค่าอยู่ที่ 28,174.58 ล้านบาท (ดีกว่าเป้าหมาย)
การบริหารจัดการและผลลัพธ์ในการดำเนินงานของประเด็นความเสี่ยงด้านสังคม
(สถานะ ธันวาคม ปี 2565)
ประเด็นความเสี่ยง
การยกระดับความพึงพอใจ และความคาดหวังต่อทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายสำคัญ และลูกค้านิคมอุตสาหกรรม
ตัวชี้วัด
-
ระดับความพึงพอใจลูกค้า Key Account
Risk Appetite (RA) 4.4234
Risk Tolerance (RT) 4.3734 -
ระดับความพึงพอใจลูกค้านิคมอุตสาหกรรม
Risk Appetite (RA) 4.3118
Risk Tolerance (RT) 4.2618 -
ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Risk Appetite (RA) 4.1100
Risk Tolerance (RT) 4.1000
ความสำคัญต่อ PEA
มาตรการลดความเสี่ยง
- แผนงานยกระดับการดำเนินงานด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- แผนงานสร้างความ สัมพันธ์เพื่อรักษาฐานลูกค้ารายสำคัญ (Key Account) และนำระบบ Digital CRM มาใช้สนับสนุนในการให้บริการลูกค้า
- แผนงานการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อกำหนดและดำเนินการตามมาตรฐานการให้บริการ (SLA) ที่เกินความคาดหวังของลูกค้า และเหนือกว่าคู่เทียบ
- แผนงานพัฒนา Digital Customer Experience
- ดำเนินการตามคู่มือการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ระเบียบ กฟภ. ว่าด้วยการจัดการและความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ พ.ศ. 2560
- นโยบายความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
- มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) PEA
- การประเมินผลช่องทางความนิยมของช่องทางดิจิทัลของลูกค้า
- การสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 8 กลุ่ม ของ PEA
- การจัดทำเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Voice of Stakeholders : VOS)
- แผนงานพัฒนา Digital Customer Experience
ผลลัพธ์
ระดับความพึงพอใจลูกค้า Key Account
มีค่าอยู่ที่ 4.4650 (ดีกว่าเป้าหมาย)
ระดับความพึงพอใจลูกค้านิคมอุตสาหกรรม
มีค่าอยู่ที่ 4.5508 (ดีกว่าเป้าหมาย)
ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มีค่าอยู่ที่ 4.2700 (ดีกว่าเป้าหมาย)
การบริหารจัดการและผลลัพธ์ในการดำเนินงานของประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
(สถานะ ธันวาคม ปี 2565)
ประเด็นความเสี่ยง
ตัวชี้วัด
-
ความสำเร็จของแผนงานการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดไฟฟ้าเสรี
Risk Appetite (RA) : 100
Risk Tolerance (RT) : 95
ความสำคัญต่อ PEA
มาตรการลดความเสี่ยง
- แผนงานการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดไฟฟ้าเสรีประกอบ ด้วย 6 แผนงานย่อย ได้แก่
- การเตรียมความพร้อมการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตลาดซื้อขายไฟฟ้า (MO) และศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า (DSO)
- การออกแบบระบบสารสนเทศและสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ของ Energy Trading Platform เพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินธุรกิจ Power Marketer
- การเตรียมความพร้อมบุคลากรและโครงสร้างเพื่อรองรับสู่การเปิดไฟฟ้าเสรี
- การเตรียมความพร้อมด้านบัญชี การเงิน ข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- การเตรียมความพร้อมของบริษัทในเครือ
- การจัดทำและปรับปรุง TPA Code ให้สอดคล้องกับ TPA Framework
ผลลัพธ์
0%
ความสำเร็จของแผนงานการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดไฟฟ้าเสรี ประจำปี 2565
มีค่าอยู่ที่ร้อยละ 100 (เป็นไปเป้าหมาย)
แนวทางการจัดการประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในปี 2565
ประเด็นความเสี่ยง
อุปสรรค
แนวทางแก้ไข
- แผนงานเพิ่มความเข้มข้นในการติดตาม ลูกหนี้และมูลค่าหนี้ค้างชำระของลูกค้ารายใหญ่
- แผนงานแบ่งเกรดลูกหนี้ (Classify ลูกหนี้) และกำหนดเป้าหมายรายประเภท เพื่อเร่งรัดติดตามลูกหนี้ (รายย่อย และรายใหญ่)
ผลลัพธ์
- ทำให้ PEA สามารถบริหารสภาพคล่องเพื่อให้มีกระแสเงินสดเพียงพอและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
- ทำให้ PEA มีการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในการติดตามเร่งรัดหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระในปี 2565 รวมถึงตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระจากระบบงาน BI-CBSEX-SAP และ ระบบ ETSx เปรียบเทียบกับเป้าหมายระยะเวลาจัดเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำปี สำหรับเขตที่มีระยะเวลาจัดเก็บเงินเกินกว่ากำหนดเพื่อเร่งรัดติดตามหนี้ค้างชำระ
- ทำให้ PEA มีการแบ่งเกรดลูกหนี้ (Classify ลูกหนี้) และกำหนดเป้าหมายรายประเภท เพื่อเร่งรัดติดตามลูกหนี้ (รายย่อย และรายใหญ่) ทำให้สามารถบริหารจัดการลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นความเสี่ยง
อุปสรรค
แนวทางแก้ไข
- แผนการจัดทำแนวทาง วิธีการวิเคราะห์กลยุทธ์ และการ Classification ลูกค้ากลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะใช้ไปใช้บริการจาก SPP (Small Power Producer)
- แผนงานเชื่อมโยง Ranking ประเด็นความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 8 กลุ่มกับกระบวนการที่มีอยู่เดิม
ผลลัพธ์
- ทำให้ PEA มี แนวทางการ Classification ลูกค้ากลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะใช้บริการจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer: SPP) ตามแนวทาง Risk Assessment Matrix โดยจะประเมินความเสี่ยงใน 2 มิติ คือ ระดับโอกาสในการสูญเสียลูกค้า และระดับผลกระทบ ต่อการสูญเสียลูกค้า และจัดทำแผนการรองรับลูกค้ากลุ่มเสี่ยงพิเศษ สำหรับลูกค้ารายสำคัญ ที่ถูกคัดเลือกด้วยคุณสมบัติของกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสูญเสียลูกค้าให้กับ SPP และดำเนินการทำ Exit Interview เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุในการสูญเสียลูกค้าและนำมาหาทางป้องกันต่อไป
- ทำให้ PEA มีการจัดทำระบบรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Voice of Stakeholders : VOS) ผ่านระบบการรับฟังเสียงของลูกค้า (Voice of Customer : VOC) และจัดลำดับประเด็นความสำคัญของประเด็นความต้องการ ความคาดหวังของ Stakeholder
ประเด็นความเสี่ยง
แนวทางแก้ไข
- จัดหาพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software ระบบศูนย์ฯ (SCADA/TDMS)
- การจัดหาอุปกรณ์ ระบบการเข้าถึง แอปพลิเคชันแบบเสมือน (Virtual Desktop Infrastructure: VDI) และระบบยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (Multifactor Authentication)
ผลลัพธ์
- ทำให้ PEA มีการติดตั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software ระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟ (SCADA/TDMS) ทันสมัย ป้องกันการถูกโจมตีจากภายนอกเนื่องจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบมีการยกระดับให้มีความทันสมัยตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
- ทำให้ PEA มีเครื่องมือหรือขั้นตอน ด้านความปลอดภัยที่ทันสมัยและป้องกันการโจมตีจากบุคคลภายนอก
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและการบริหารภาวะวิกฤต
เป้าหมายการดำเนินงาน
- ให้บริการพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดอุบัติการณ์ที่ทำให้หยุดชะงักได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
- ให้ระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ PEA ตามมาตรฐาน PEA BCMS สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 22301:2019 โดยมุ่งเน้นการวางแผนการนำไปปฏิบัติ การรักษาและปรับปรุงระบบ การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
- ระยะเวลาในการกู้คืนระบบ (Recovery Time Objective: RTO) เป็นไปตามที่กำหนด
- มุ่งเน้นการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
กลยุทธ์การดำเนินงาน
- กำหนดแนวทางในการป้องกัน ลดโอกาสการเกิด เตรียมความพร้อม ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และฟื้นฟูกลับสู่สภาวะปกติ
- มุ่งเน้นการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยคุกคามที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก การทบทวนปรับปรุง แผนและการฝึกซ้อมแผนอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร
- สนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องการบริหาร ความต่อเนื่องทางธุรกิจ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามนโยบายความต่อเนื่องทางธุรกิจ
- ติดตาม เฝ้าระวังและประเมินประสิทธิผลการดำเนินการตามระบบการบริหารความต่อเนื่อง ทางธุรกิจของ PEA (PEA BCMS)
การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจและบริหารภาวะวิกฤต
PEA ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดังนี้
- กำหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management Policy) ให้มีความสอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งนโยบายบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (Operation Risk Management Policy) ขององค์กร นำเสนอต่อผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พิจารณาให้ความเห็นชอบ
- ให้ความเห็นชอบในการระบุภารกิจสำคัญ การกำหนดระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นฟู การกำหนดกลยุทธ์ และพิจารณาขออนุมัติประกาศใช้แผนรับรองการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP)
- กำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การป้องกัน และการแก้ปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
- นำเสนอแผนงานและความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การป้องกันและการแก้ไขปัญหา กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินให้ ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับทราบ
- กำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์นโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management Policy) และแผนรับรองการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) ให้พนักงานทราบ
- พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย และกำหนดอำนาจของคณะกรรมการชุดย่อย ภายใต้กรอบอำนาจของคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management Committee: BCM Committee) เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการฯ
- มีอำนาจเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือขอเอกสารเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์
ระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCMS) ของ PEA แบ่งช่วงการรับมือได้ดังนี้
ก่อนวิกฤต
การป้องกันและเตรียมความพร้อมรับภัย
- ทุกหน่วยงานในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำข้อมูลภัยพิบัติ/ภาวะวิกฤต ในอดีตและปัจจุบัน มาประเมินวิเคราะห์โอกาสเกิด (ต่ำ/สูง/มาก)
- สร้างแผนตอบสนองวิกฤต (ERP BCP RP และแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤต)
- สร้างกลไกติดตามและแจ้งเตือนความเสี่ยง
- มอบหมายบุคคลและบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการวิกฤต
- ฝึกซ้อมแผนด้วยสถานการณ์จำลอง
ระหว่างวิกฤต
การจัดการในภาวะวิกฤต
- บริหารจัดการวิกฤตติดตามและแนวทางที่จัดทำ
- ประสานงานขอการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
- สื่อสารแนวทางมาตรการไปยังบุคคลภายในและสาธารณะ
- ปรับเปลี่ยนวิธีการตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
หลังวิกฤต
ดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง ฟื้นฟูและทบทวน
- ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องตามแผนที่จัดทำ
- ดำเนินการฟื้นฟูกลับสู่สภาวะปกติ
- ทบทวนและประเมินประสิทธิภาพของแผนที่เกี่ยวข้อง
- ปรับปรุงแผนและกระบวนการบริหารจัดการวิกฤต
- สื่อสารแผนให้ทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ
ผลการดำเนินการด้านการบริหารความเสี่ยง
- PEA สำนักงานใหญ่ รักษาสถานะ การรับรองมาตรฐาน ISO 22301:2019 ได้อย่างต่อเนื่อง
- พัฒนาระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ PEA ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยนำข้อกำหนด ISO 22301:2019 มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน โดยสื่อสารและถ่ายทอดให้การไฟฟ้าเขต และ การไฟฟ้าจุดรวมงาน รวมทั้งสิ้น 36 แห่ง เพื่อนำไปปฏิบัติตามระบบ PEA BCMS
- มีการฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ของกระบวนงานหลักที่หลากหลายเพื่อรองรับ ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเรียงลำดับเหตุการณ์ที่มีจำนวนการฝึกซ้อมจากมากไปน้อยได้ ดังนี้
- ไฟไหม้ ร้อยละ 30
- Cyber Attack ร้อยละ 20
- รถยนต์ชนเสาไฟฟ้าแรงสูง ร้อยละ 10
- พายุพัดระบบจำหน่ายและสายส่ง ร้อยละ 10
- น้ำท่วมสำนักงาน ร้อยละ 10
- โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 10
- จลาจล/ชุมนุมปิดล้อม ร้อยละ 5
- วินาศกรรมสำนักงาน/ระบบจำหน่ายและสายส่ง ร้อยละ 3
- เคเบิลใต้น้ำชำรุด ร้อยละ 2
- มีการทดสอบกระบวนการฟื้นฟูภัยพิบัติ (Disaster Recovery Planning: DRP) ซ้อมเสมือนจริง หรือเต็มรูปแบบ (Full BCP Exercise) โดยจำลองสถานการณ์พบ Ransomware ที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก (DC Site) ของโครงการ รซธ. ระยะที่ 2 (ระบบ SAP, BPM, OMS) ได้รับความเสียหาย ต้องย้ายไปใช้งานที่ศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง (DR Site) โดยสามารถฟื้นฟูการให้บริการกลับมาได้ตามกรอบระยะเวลา RTO ที่กำหนด
- มีการฝึกซ้อมการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ระบบเทคโนโลยีด้านการปฏิบัติการ (OT) และศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (SOC) โดยกำหนด Scenario จากแนวคิดการโจมตีที่เคยเกิดขึ้นจริงในประเทศกับภาคส่วนด้านพลังงานที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับ PEA เพื่อให้สามารถกำหนดวิธีการในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ในการนำไปสร้าง/ปรับปรุงแก้ไข แผนการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ในหน่วยงาน ทั้งในองค์กรและส่วนงานย่อย และยังเป็นการสร้าง ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน เหตุการณ์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Sector อื่น ๆ ไปจนถึงเหตุการณ์ร้ายแรง ที่ส่งผลกระทบในระดับประเทศ โดยผล การฝึกซ้อมเป็นไปตามจุดมุ่งหมายในการฝึกและผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- จัดฝึกอบรมการสื่อสารและบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะวิกฤต ให้กับผู้บริหารของ PEA เพื่อเสริมสร้างทักษะของผู้นำ/ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในภาวะวิกฤตให้เข้าใจหลักการและแนวทางในการบัญชาการและการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤต เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการ/ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียได้ทันสถานการณ์
การวางแผนปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต
- การปรับปรุงขอบข่าย (Scope) กิจกรรม/ระบบฯ ที่สนับสนุนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ของ PEA อาทิ ระบบการอ่านหน่วยมิเตอร์แบบอัตโนมัติ (AMR) ระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) เพื่อให้ขอบข่าย ของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ PEA มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
- ทดสอบ ปรับปรุงมาตรฐานและคู่มือมาตรฐานระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ PEA (PEA BCMS) เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จัดฝึกอบรมและให้ความรู้ เพื่อสร้างผู้ตรวจประเมินภายใน และรองรับการขยายขอบเขตการรับรองตามมาตรฐาน PEA BCMS
- ดำเนินการตรวจประเมินรับรองตามมาตรฐาน PEA BCMS โดยผู้ตรวจประเมินภายในของ PEA (Internal Auditor) และดำเนินการตรวจเพื่อยืนยันความสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 22301 โดยผู้ตรวจประเมินภายนอก
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Stakeholder Engagement
- PEA ดำเนินการระบุ วิเคราะห์ และจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเด็นระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ PEA อย่างเป็นระบบ ตามความสัมพันธ์ในการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน
จากกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้ PEA สามารถระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
- PEA กำหนดกลยุทธ์การสื่อสาร วิธีการ รูปแบบ และขั้นตอนที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงสถานการณ์และระยะเวลา ตลอดจนมีการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างใกลัชิดและสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจ และความมั่นใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มว่าจะได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอในเวลาที่เหมาะสม
ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประจำปี 2566
การสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
กลุ่มที่ 1 กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลและภาครัฐ
ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน (การเตรียมความพร้อมของเอกสารและการขออนุญาตเข้าพื้นที่, การย้ายเสาไฟฟ้าระบบจำหน่าย, การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรกรณีซ่อมบำรุง)
- ความรวดเร็วในการติดต่อ หรือการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
- มุ่งเน้นการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีจริยธรรม
- ข้อมูลมีความถูกต้อง โปร่งใส และเข้าถึงได้ง่าย
- มีนโยบายด้านการลงทุนที่เป็นไปตามเป้าหมายของนโยบายภาครัฐ
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ผลการดำเนินงานการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสำนักงาน ป.ป.ช. ปี 2565 ได้ผลการประเมินร้อยละ 97.37 (Rating Score ระดับ AA) เป็นอันดับที่ 1 ของรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน และอันดับที่ 6 ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่เข้ารับการประเมิน
ผลผลิต และผลลัพธ์
- บูรณาการกระบวนการออกแบบและทบทวนระบบงาน กระบวนการทำงานข้อกำหนดของระบบงานกับแต่ละกระบวนการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business Architecture: BA) ซึ่งเป็นการดำเนินงานขั้นต้นของการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของ PA เพื่อตอบสนองต่อความต้องการความคาดหวังของทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ PEA รวมถึงตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของ PEA โดยระบบงาน กระบวนการ พร้อมผู้รับผิดชอบ เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ค่า SAIFI และ SAIDI เป็นไปตามเป้าหมายและค่าลดลงทุกปี (SAIFI 1.76 ลดลงจาก 2.19 และ SAIDI 34.98 ลดลงจาก 44.51)
ผลผลิต และผลลัพธ์
- PEA สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รวมถึงได้รับการรับรองตามมาตรฐานISO/EC 27001:2013 ในขอบเขตโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Citical Infrastructure) ครอบคลุมสำนักงานใหญ่ ส่วนภูมิภาค 12 เขตและร:บบคอมพิวเตอร์ชอฟต์แวร์สำร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก ของ PEA ระยะที่ 2 (รซ. ระยะที่ 2) ขอบเขตกลุ่มรับชำระเงินระบบงานรับชำระเงิน พิมพ์หนังสือแจ้งค่ไฟฟ้า และใบเสร็จรับเงิน (Bill printing and Payment Management : BPM) นอกจากนี้ภายในปี 2565 – 2566 ยังมีแผ่นการดำเนินการขยายขอบเขตการขอรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 ไปยังโครงสร้างพื้นฐานระบบงานหลักมีความสำคัญของ PEA เพิ่มติม ให้ครอบคลุมทุกระบบงานหลัก ประกอบด้วยกลุ่มซอฟต์แวร์ Back Ofice (ระบบ Enterprise Resource Planning: ERP), กลุ่มซอฟต์แวร์ Front Office (ระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า IS-U) และระบบงานบริหารไฟฟ้าขัดข้อง (Outage Management System : OMS)
ผลผลิต และผลลัพธ์
- บรรลุเป้าหมายการยกระดับความรู้ของพนักงานจากการเข้าร่วมการอบรมและผ่านการอบรมหลักสูตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protedtion) อย่างน้อยร้อยละ 90 ของพนักงาน
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ได้รับแจ้งเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 6 เรื่อง โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DataProtecion Officer : DPO) เพื่อประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ไม่พบเหตุการณ์ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือละเมิดความเป็นส่วนตัวที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
- จัดสัมภาษณ์หน่วยงานกำกับดูแล และภาครัฐเพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการ 1 ครั้งต่อปี (In-depth Interview) สำรวจทำแบบสำรวจความผูกพัน ความต้องการ ความคาดหวังของหน่วยงานกำกับดูแล และภาครัฐที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
- จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานกำกับดูแล และภาครัฐที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ในประเด็นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังต่อไปนี้
- ประเด็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงพลังงาน, คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน, สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- ประเด็นเกี่ยวกับพลังงาน ร่วมกับกระทรวงพลังงาน, คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
- ประเด็นเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ ร่วมกับ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทและองค์การบริหารส่วนจังหวัด/ท้องถิ่น
- ประเด็นเรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ร่วมกันกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด/ท้องถิ่น
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
- ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ (ฝนย.) สายงานยุทธศาสตร์
- ฝ่ายพัฒนาองค์กรและบริหารการเปลี่ยนแปลง (ฝพป.) สายงานยุทธศาสตร์
- ฝ่ายบริการทรัพยากรบุคคล (ฝบบ.) สายงานบริหารองค์กร
- ฝ่ายคดีและสอบสวน (ฝคส.) สายงานบริหารองค์กร
- ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา (ฝปบ.) สายงานภาคกลางและใต้
- ฝ่ายวิศวกรรมและบริการ (ฝวบ.) สายงานภาคกลางและใต้
- ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา (ฝปบ.) สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
- ฝ่ายวิศวกรรมและบริการ (ฝวบ.) สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
- ฝ่ายบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (ฝบย.) สายงานยุทธศาสตร์
Engagement score
กลุ่มที่ 2 กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้ไฟ้า
ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- คุณภาพไฟฟ้าการให้บริการ (การดับไฟฟ้าตามแผน, การแก้ไขปัญญาไฟฟ้าขัดข้อง, มาตรฐาน/ความปลอดภัย, การมีไฟฟ้าใช้/ขอใช้ไฟฟ้าและบริการต่าง ๆ, การปรับปรุง/บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า, การจดหน่วย/แจ้งค่าไฟฟ้า, การงดจ่ายไฟ/ต่อกลับมิเตอร์, การชำระค่าไฟฟ้า, ช่องทางการสนับสนุนลูกค้า, การแนะนำ/ให้คำปรึกษาลูกค้า)
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ค่า SAIFI และ SAIDI เป็นไปตามเป้าหมายและค่าลดลงทุกปี (SAIFI 1.76 ลดลงจาก 2.19 และ SAIDI 34.98 ลดลงจาก 44.51)
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ค่าดัชนีการประสบอุบัติภัย (Disabling Injury Index: VDI) ได้เท่ากับ 0.0898 ลดลงจากปีที่ผ่านมา 0.0765 คิดเป็นร้อยละ 46.00
- จำนวนพนักงานและลูกจ้างที่ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับงาน 14 คนลดลงจากปีที่ผ่านมา 11 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00
ผลผลิต และผลลัพธ์
- PEA สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รวมถึงได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/EC 27001:2013 ในขอบเขตโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Citical Infrastructure) ครอบคลุมสำนักงานใหญ่ ส่วนภูมิภาค 12 เขตและระบบคอมพิวเตอร์ชอฟต์แวร์สำร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก ของ PEA ระยะที่ 2 (รซ. ระยะที่ 2) ขอบเขตกลุ่มรับชำระเงินระบบงานรับชำระเงิน พิมพ์หนังสือแจ้งค่ไฟฟ้า และใบเสร็จรับเงิน (Bill printing and Payment Management : BPM) นอกจากนี้ภายในปี 2565 – 2566 ยังมีแผ่นการดำเนินการขยายขอบเขตการขอรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 ไปยังโครงสร้างพื้นฐานระบบงานหลักมีความสำคัญของ PEA เพิ่มติม ให้ครอบคลุมทุกระบบงานหลัก ประกอบด้วยกลุ่มซอฟต์แวร์ Back Ofice (ระบบ Enterprise Resource Planning: ERP), กลุ่มซอฟต์แวร์ Front Office (ระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า IS-U) และระบบงานบริหารไฟฟ้าขัดข้อง (Outage Management System : OMS)
ผลผลิต และผลลัพธ์
- บรรลุเป้าหมายการยกระดับความรู้ของพนักงานจากการเข้าร่วมการอบรมและผ่านการอบรมหลักสูตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protedtion) อย่างน้อยร้อยละ 90 ของพนักงาน
- ได้รับแจ้งเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 6 เรื่อง โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DataProtecion Officer : DPO) เพื่อประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ไม่พบเหตุการณ์ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือละเมิดความเป็นส่วนตัวที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
- สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าและผู้ใช้ไฟที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
- จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าและผู้ใช้ไฟที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
- เยี่ยมเยือนลูกค้ารายสำคัญ (Key Account Customer) เพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ และนำระบบ Digital CRM มาใช้สนับสนุนในการให้บริการลูกค้า
- รับฟังเสียงของลูกค้าในหลากหลายช่องทาง ได้แก่
- 1129 PEA Call Center จำนวน 37,932 เสียง
- Website PEA จำนวน 5,470 เสียง
- PEA Smart Plus จำนวน 4,820 เสียง
- สปน./สตง./ปปช./ปปท. จำนวน 407 เสียง
- สำนักงานการไฟฟ้า จำนวน 117 เสียง
- ผู้ว่าการ/สำนักงานการไฟฟ้า ภาค 1-4 จำนวน 115 เสียง
- ส่งผ่านหน่วยงานอื่น ๆ จำนวน 54 เสียง
- PEA-V Care จำนวน 38 เสียง
- ศูนย์ดำรงธรรม จำนวน 23 เสียง
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
- ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สายงานธุรกิจและการตลาด (ธต)
- ฝ่ายบริการวิศวกรรม สายงานธุรกิจและการตลาด (ธต)
Engagement score
กลุ่มที่ 3 กลุ่มชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม
ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การป้องกันอุบัติเหตุ/อัคคีภัย จากระบบจำหน่ายไฟฟ้า และให้ความรู้ต่อการใช้บริการของ PEA หรือการใช้ไฟฟ้า อย่างประหยัดและปลอดภัยแก่ชุมชน
- การปรับทัศนียภาพบนเสาไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของคนในสังคม อาทิ การจัดระเบียบสายสื่อสาร การนำสายไฟลงใต้ดิน
- การให้บริการที่เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ และทั่วถึงแก่ทุกคน
- มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่สะดวกและเข้าถึงง่าย และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
- มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินงาน
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ค่าผลกระทบความไม่ปลอดภัย มีค่าเท่ากับ 0.0039 (สายไฟฟ้าขาด 5 ครั้ง, อุปกรณ์ไฟฟ้าระเบิด 2 ครั้ง และการลัดวงจรในระบบไฟฟ้า 1 ครั้ง) ดีกว่าค่าเป้าหมาย 6.72 เท่า
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ดำเนินการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่แล้วเสร็จจำนวน 153,987 ราย (เป้าหมายโครงการ 141,960 ราย)
- ดำเนินการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้เกษตรกรผู้ต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ทำกินแล้ว 64,955 ราย (เป้าหมายโครงการ 57,100 ราย)
- ในปี 2565 มีจำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว 21,535,107 ครัวเรือน (เทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในประเทศ 21,593,074 ครัวเรือน) เข้าถึงระบบไฟฟ้ากว่า ร้อยละ 99.73
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ไม่มีข้อร้องเรียนในเรื่องการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่ไม่เป็นธรรม และไม่พบการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับกรณีของการเลือกปฏิบัติ
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
- สำรวจทำแบบสำรวจความผูกพัน ความต้องการ ความคาดหวังของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
- ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนชุมชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการของชุมชน ทั้ง 12 เขต 1 ครั้งต่อปี
- จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
- สื่อสาร แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ/อัคคีภัย จากระบบจำหน่ายไฟฟ้า และให้ความรู้ต่อการใช้บริการของ PEA หรือการใช้ไฟฟ้า อย่างประหยัดและปลอดภัยแก่ชุมชนทั่วประเทศผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ตลอดทั้งปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
Engagement score
กลุ่มที่ 4 กลุ่มสื่อมวลชน
ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทันสถานการณ์ รวดเร็ว และข้อมูลมีความชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน
- ข้อมูลที่ได้รับสามารถสื่อสารถ่ายทอดต่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้โดยง่าย
- การส่งเสริมการใช้ทั้งสื่อรูปแบบเก่า และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ข่าวได้ครอบคลุมทุกพื้นที่
- ให้ความร่วมมือในการนำเสนอข่าว
- ให้ความสำคัญกับสื่อมวลชนท้องถิ่นและเนื้อข่าว
- ช่องทางการแจ้งข้อมูลข่าวสารเรื่องไฟฟ้า
- ไม่มีโฆษกประจำสำนักงานเขตที่แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ กรณีเกิดเหตุการณ์วิกฤต
- ขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้สื่อมวลชนไม่ทราบโครงการสนับสนุน โครงการช่วยเหลือของ PEA สำหรับผู้ใช้ไฟในประเภทต่าง ๆ
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง
ผลผลิต และผลลัพธ์
มีการฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ของกระบวนงานหลักที่หลากหลายเพื่อรองรับภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นโดยเรียงลำดับเหตุการณ์ที่มีจำนวนการฝึกซ้อมจากมากไปน้อยได้ ดังนี้
- ไฟไหม้ ร้อยละ 30
- Cyber Altack ร้อยละ 20
- รถยนต์ชนเสาไฟฟ้าแรงสูง ร้อยละ 10
- พายุพัดระบบจำหน่ายและสายส่ง ร้อยละ 10
- น้ำท่วมสำนักงาน ร้อยละ 10
- โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 10
- จลาจล/ชุมนุมปิดล้อม ร้อยละ 5
- วินาศกรรมสำนักงาน/
- ระบบจำหน่ายและสายส่ง ร้อยละ 3
- เคเบิลใต้น้ำชำรุด ร้อยละ 2
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
- จัดทำแบบสำรวจเพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการของสื่อมวลชน 1 ครั้งต่อปี
- จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของสื่อมวลชนที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
- สำรวจทำแบบสำรวจความผูกพัน ความต้องการ ความคาดหวังของสื่อมวลชนที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
- จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชนเป็นประจำผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ งาน Press Tour, งาน Thank Press, งาน ผวก. พบ บก. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ฝ่ายบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (ฝบย.) สายงานยุทธศาสตร์
Engagement score
กลุ่มที่ 5 กลุ่มพันธมิตร
ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การประสานงานที่ดีเพื่อความปลอดภัย และ ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
- การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ทันกาล ข้อมูลมีความชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน และเข้าถึงได้ง่าย
- ดำเนินงานด้วยความเท่าเทียม, เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
- มีการส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง กลุ่มพันธมิตร (ผู้ส่งมอบ คู่ค้า คู่ความร่วมมือ) และ PEA
- มีโครงการ/การร่วมทุน เพื่อพัฒนาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในระดับประเทศ
- การอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อประสานงาน
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ค่า SAIFI และ SAIDI เป็นไปตามเป้าหมายและค่าลดลงทุกปี (SAIFI 1.76 ลดลงจาก 2.19 และ SAIDI 34.98 ลดลงจาก 44.51)
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ค่าดัชนีการประสบอุบัติภัย (Disabling Injury Index: VDI) ได้เท่ากับ 0.0898 ลดลงจากปีที่ผ่านมา 0.0765 คิดเป็นร้อยละ 46.00
- จำนวนพนักงานและลูกจ้างที่ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับงาน 14 คนลดลงจากปีที่ผ่านมา 11 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสำนักงาน ป.ป.ช. ปี 2565 ได้ผลการประเมินร้อยละ 97.37 (Rating Score ระดับ AA) เป็นอันดับที่ 1 ของรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน และอันดับที่ 6 ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่เข้ารับการประเมิน
- ผลการสำรวจความพึ่งพอใจต่อความโปร่งใสของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของ PEA มีระดับความพึงพอใจมาก หรือมีค่าเท่ากับ 4.17 คะแนน
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
• ประเด็นเกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน, ข้อกำหนด, ระเบียบ ด้านระบบไฟฟ้า ร่วมกับ ผู้ส่งมอบพลังงาน (กฟผ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กฟน.)
• ประเด็นเกี่ยวขั้นตอนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบพลังงานร่วมกับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาด เล็กมาก (VSPP)
ผู้ส่งมอบอุปกรณ์และบริการ
• ประเด็นเกี่ยวกับมาตรฐานการก่อสร้างระบบไฟฟ้า ร่วมกับผู้รับเหมาก่อสร้างระบบไฟฟ้า/สถานีไฟฟ้า
• ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและความปลอดภัย ร่วมกับผู้รับจ้าง-รับเหมาบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
• ประเด็นเกี่ยวกับการควบคุมงานและความปลอดภัย ร่วมกับผู้รับเหมาแรงงาน
คู่ความร่วมมือ
• ประเด็นเกี่ยวกับการพาดสายสื่อสาร ร่วมกับหน่วยงานที่ต้องการพาดสายสื่อสาร
4. เยี่ยมเยือนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องระหว่าง PEA และพันธมิตรอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี สำหรับผู้ส่งมอบพนักงาน/ผู้ส่งมอบอุปกรณ์และบริการ
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
- ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน (ฝนศ.) สายงานยุทธศาสตร์
- ฝ่ายบริการวิศวกรรม (ฝบว.) สายงานธุรกิจและการตลาด
- ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (ฝพธ.) สายงานธุรกิจและการตลาด
- ฝ่ายวิศวกรรม (ฝวศ.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่ม 5.3 ผู้ส่งมอบบริการ
- ฝ่ายกลยุทธ์ดิจิทัลและบริหารจัดการข้อมูล (ฝดข.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
- ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล (ฝสท.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
- ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษาระบบดิจิทัล (ฝปด.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
- ฝ่ายพัฒนาระบบดิจิทัล (ฝพจ.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
- ฝ่ายระบบสื่อสาร (ฝรส.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
- ฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้า (ฝบร.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
- ฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์สถานีไฟฟ้า (ฝบส.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
- ฝ่ายปฏิบัติการและเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้า (ฝปฟ.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
- ฝ่ายก่อสร้างระบบไฟฟ้า (ฝกร.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
- ฝ่ายก่อสร้างสถานีไฟฟ้า (ฝกส.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
- ฝ่ายบริหารโครงการ 1 (ฝบก.1) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
- ฝ่ายบริหารโครงการ 2 (ฝบก.2) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
- ฝ่ายบริหารจัดการระบบวัดพลังงานไฟฟ้าและหม้อแปลงระบบจำหน่าย (ฝมจ.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
- ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ (ฝนย.) สายงานยุทธศาสตร์
- ฝ่ายบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (ฝบย.) สายงานยุทธศาสตร์
- ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า (ฝวร.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม
- ฝ่ายงานโยธา (ฝยธ.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม
- ฝ่ายส่งเสริมผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าและอนุรักษ์พลังงาน (ฝสอ.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม
- ฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และควบคุมคุณภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า (ฝวน.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม
- ฝ่ายจัดการงานบริการองค์กร (ฝจบ.) สายงานโลจิสติกส์และบริการองค์กร
- ฝ่ายวิศวกรรมและบริการ (ฝวบ.) สายงานภาคกลางและใต้ ฝ่ายสนับสนุนการบริหารงาน สายงานภาคกลางและใต้
- ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา (ฝปบ.) สายงานภาคกลางและใต้
- ฝ่ายวิศวกรรมและบริการ (ฝวบ.) สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
- ฝ่ายสนับสนุนการบริหารงาน สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
- ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา (ฝปบ.) สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
- ฝ่ายกลยุทธ์การตลาด (ฝกต.) สายงานธุรกิจและการตลาด
- ฝ่ายบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (ฝลพ.) สายงานธุรกิจและการตลาด
- ฝ่ายการเงิน (ฝกง.) สายงานบัญชีและการเงิน
Engagement score
กลุ่มที่ 6 กลุ่มคณะกรรมการ
ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การปรับตัวของ PEA เพื่อรองรับผลกระทบจากนโยบายไฟฟ้าเสรี และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน
- การสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด, พลังงานหมุนเวียน, พลังงานทดแทน
- การมีธรรมาภิบาลในองค์กร ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ความโปร่งใสใน การดำเนินงาน การปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อลูกจ้าง/พนักงาน, คู่ค้า การหลีกเลี่ยงการจัดซื้อจัดจ้างที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง
- ส่งเสริมความปลอดภัย เพื่อลดอุบัติเหตุจากการใช้ไฟฟ้า, ระบบไฟฟ้าในชุมชน
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสำนักงาน ป.ป.ช. ปี 2565 ได้ผลการประเมินร้อยละ 97.37 (Rating Score ระดับ AA) เป็นอันดับที่ 1 ของรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน และอันดับที่ 6 ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่เข้ารับการประเมิน
- ผลการสำรวจความพึ่งพอใจต่อความโปร่งใสของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของ PEA มีระดับความพึงพอใจมาก หรือมีค่าเท่ากับ 4.17 คะแนน
ผลผลิต และผลลัพธ์
- บูรณาการกระบวนการออกแบบและทบทวนระบบงาน กระบวนการทำงานข้อกำหนดของระบบงานกับแต่ละกระบวนการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business Architecture: BA) ซึ่งเป็นการดำเนินงานขั้นต้นของการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของ PEA เพื่อตอบสนองต่อความต้องการความคาดหวังของทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ PEA รวมถึงตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของ PEAโดยระบบงาน กระบวนการ พร้อมผู้รับผิดชอบ เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กร ระดับ “AAA” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ตั้งแต่ปี 2561 – 2565 จาก Tris Corporation
- ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อยู่ที่ 2.30– ผลการบริหารค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (CPI-X) 31,387.04 ล้านบาท– อัตราส่วนการทำกำไร (Net profit margin) อยู่ที่ 2.00– รายได้ทั้งหมด 606,395.53 ล้านบาท– มูลค่าทางเศรษฐกิจที่จำหน่ายออก 603,801.94 ล้านบาท– มูลค่าทางเศรษฐกิจสะสม 2,593.59 ล้านบาท– รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.05 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
- จัดสัมภาษณ์ คณะกรรมการ เพื่อรับฟัง ความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการ 1 ครั้งต่อปี (In-depth Interview)
- จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการ ที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
- สำรวจความพึงพอใจของคณะกรรมการที่มีต่อ การดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
Engagement score
กลุ่มที่ 7 กลุ่มพนักงาน/หน่วยงานภายใน
ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อการทำงาน รวมถึงได้รับการสื่อสารในการบริหารงาน และ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว
- มีความชัดเจนในหน้าที่และอำนาจตามความรับผิดชอบและมีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน รวมถึงได้รับโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ เงินเดือน ผลตอบแทน สวัสดิการ และ สิทธิประโยชน์สำหรับบุคลากร
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ไม่มีข้อร้องเรียนในเรื่องการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่ไม่เป็นธรรม และไม่พบการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับกรณีของการเลือกปฏิบัติระดับความพึงพอใจของพนักงานใหม่ที่มีต่อกระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร อยู่ที่ 4.61 จากคะแนนเต็ม 5 อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
- ค่าเฉลี่ยความผูกพันของบุคลากร อยู่ที่ 4.56 จากคะแนนเต็ม 5
- ค่าเฉลี่ยความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน อยู่ที่ 4.52 จากคะแนนเต็ม 5
- ระดับความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอยู่ที่ 4.56 จากคะแนนเต็ม 5
- ระดับความอยากทุ่มเทกายใจในการทำงาน อยู่ที่ 4.61 จากคะแนนเต็ม 5
- อัตราการลาออกของพนักงานปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 0.22 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 83.33
- อัตราการลาออกของลูกจ้างปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 8.90 ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 13.00
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
- ผู้บริหารพบปะผู้ปฏิบัติงาน (ประชุม/ตรวจเยี่ยม /ร่วมกิจกรรม) 1 ครั้งต่อสัปดาห์
- รายการผู้ว่าการพบพนักงาน 1 ครั้งต่อไตรมาส
- การประชุมผู้บริหารระดับสูงร่วมกับแต่ละสายงาน 1 ครั้งต่อเดือน
- การประกาศนโยบายในการบริหารและพัฒนาองค์กรของ ผู้ว่าการ 1 ครั้งต่อไตรมาส
- การสัมมนาชี้แจงแผนยุทธศาสตร์ประจำปี โดยผู้บริหารระดับสูง 1 ครั้งต่อปี
- การประชุมถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์/ทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปีของสายงาน 1 ครั้งต่อปี
- สำรวจความพึงพอใจของพนักงาน/หน่วยงานภายในที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
Engagement score
กลุ่มที่ 8 กลุ่มบริษัทในเครือ
ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การให้ความสำคัญของบริษัทในเครือ และสร้างคุณค่าของบริษัทในเครือ ยกระดับความมั่นคงและผลการดำเนินงาน สถานะการเงินของบริษัทในเครือ พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร อีกทั้งควรมีการกำกับดูแล
- มีแผนงานที่ชัดเจนกับบริษัทในเครือ
- มีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และ ความรับผิดชอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนต่อบริษัทในเครือ
- ผลักดันความร่วมมือระหว่างบริษัทในเครือกับ PEA
- มีขั้นตอน กระบวนการธุรกิจที่ถูกต้องและรวดเร็ว ลดความล่าช้าในการทำธุรกรรมกับ PEA
- สนับสนุน ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือตามที่บริษัท ในเครือร้องขอ
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง
ผลผลิต และผลลัพธ์
- PEA สำนักงานใหญ่ รักษาสถานะการรับรองมาตรฐาน ISO 22301 :2019 ได้อย่างต่อเนื่อง
- พัฒนาระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ PEA ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยนำข้อกำหนด ISO 22301:2019 มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน โดยสื่อสารและถ่ายทอดให้การไฟฟ้าเขต และการไฟฟ้าจุดรวมงาน รวมทั้งสิ้น 36 แห่งเพื่อนำไปปฏิบัติตามระบบ PEA BCM
- ได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กร ระดับ “AAA” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ตั้งแต่ปี 2561 – 2565 จาก Tris Corporation
- ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อยู่ที่ 2.30– ผลการบริหารค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (CPI-X) 31,387.04 ล้านบาท– อัตราส่วนการทำกำไร (Net profit margin) อยู่ที่ 2.00– รายได้ทั้งหมด 606,395.53 ล้านบาท– มูลค่าทางเศรษฐกิจที่จำหน่ายออก 603,801.94 ล้านบาท– มูลค่าทางเศรษฐกิจสะสม 2,593.59 ล้านบาท– รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.05 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
- จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการของคณะกรรมการ 1 ครั้งต่อปี
- จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของบริษัทในเครือ ที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
- สำรวจความพึงพอใจของคณะกรรมการที่มีต่อ การดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
- จัดประชุมเพื่อสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะในการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง PEA และบริษัทในเครืออย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี โดยครอบคลุมประเด็น ดังต่อไปนี้
- เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และ ความรับผิดชอบ ในการดำเนินงานที่ชัดเจนต่อบริษัทในเครือ
- ความร่วมมือระหว่างบริษัทในเครือกับ PEA
- สนับสนุน ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือตามที่บริษัท ในเครือร้องขอ
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
Engagement score
กลุ่มที่ 9 กลุ่มคู่เทียบ/คู่แข่งขัน
ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- มีการส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Network) ระหว่าง PEA และ คู่เทียบ/คู่แข่งขัน
- มีการดำเนินงาน/โครงการร่วมกัน เพื่อพัฒนาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในระดับประเทศ หรือต่อยอดธุรกิจอื่น
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง
ผลผลิต และผลลัพธ์
- ค่า SAIFI และ SAIDI เป็นไปตามเป้าหมายและค่าลดลงทุกปี (SAIFI 1.76 ลดลงจาก 2.19 และ SAIDI 34.98 ลดลงจาก 44.51)
- ได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กร ระดับ “AAA” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ตั้งแต่ปี 2561 – 2565 จาก Tris Corporation
- ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อยู่ที่ 2.30– ผลการบริหารค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (CPI-X) 31,387.04 ล้านบาท– อัตราส่วนการทำกำไร (Net profit margin) อยู่ที่ 2.00– รายได้ทั้งหมด 606,395.53 ล้านบาท– มูลค่าทางเศรษฐกิจที่จำหน่ายออก 603,801.94 ล้านบาท– มูลค่าทางเศรษฐกิจสะสม 2,593.59 ล้านบาท– รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.05 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
- จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นความต้องการ/ ความคาดหวังจากคู่เทียบ/คู่แข่งขัน 1 ครั้ง
- จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของคู่เทียบ/คู่แข่งขันที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้ง
- สำรวจความพึงพอใจของคู่เทียบ/คู่แข่งขันที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
- จัดประชุมเพื่อสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะในการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง PEA และคู่แข่งขันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Network) ระหว่าง PEA และ คู่เทียบ/คู่แข่งขัน
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
Engagement score
- PEA เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในเรื่องที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ในการรับข้อเสนอแนะ ปัญหา และข้อร้องเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่ ก่อน ระหว่าง และหลังจากร่วมงานกับ PEA หรือระหว่างการปฏิสัมพันธ์กัน หรือในช่วงที่ PEA ดำเนินการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วน และนอกจากช่องทางดังกล่าว PEA ได้จัดทำ Stakeholder Survey ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาความร่วมมือและสร้างประโยชน์ระหว่าง PEA และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นธรรม
- PEA ทำการคาดการณ์ ระบุ วิเคราะห์ และจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเตรียมแผนรองรับและจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การกำหนดมาตรการควบคุมปัจจัยเสี่ยง (Existing Control) แผนลดโอกาสและความรุนแรงของความเสี่ยง (Mitigation plan) รวมถึงการ การทำแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน (Contingency Plan)
- PEA มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสู่สาธารณชน อย่างเปิดเผยผ่านรายงานความยั่งยืนประจำปี และเว็บไซต์ของ PEA