About PEA
วิสัยทัศน์ ภารกิจ และค่านิยมขององค์กร
PEA กำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรให้เท่าทันทุกการเปลี่ยนแปลงพร้อมพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องด้วยการบริหารงานและนโยบายทางการเงินที่รอบคอบ ก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคยุคใหม่ที่ทันสมัยด้วยนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาระบบไฟฟ้าสู่ความเป็นเลิศ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศสู่การสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน
วิสัยทัศน์
ไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน Smart Energy for Better Life and Sustainability
ภารกิจ
จัดหา ให้บริการพลังงานไฟฟ้า และดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจทั้งด้านคุณภาพและบริการ โดยการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ค่านิยม
ทันโลก บริการดี มีคุณธรรม
PEA business path
พ.ศ. 2427-2502
แรกมีไฟฟ้าใช้ในประเทศไทย
ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2503 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้ให้กำเนิดกิจการไฟฟ้าในประเทศไทย คือ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เมื่อครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ โดยท่านได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้าและติดดวงโคมไฟฟ้าที่กรมทหารหน้า ซึ่งเป็นที่ตั้งกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน ในวันที่เปิดทดลองใช้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าเป็นครั้งแรกนั้น ปรากฏว่าบรรดาขุนนาง ข้าราชการและประชาชนมาดูแสงไฟฟ้าอย่างแน่นขนัดด้วยความตื่นตาตื่นใจ เมื่อความทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างขึ้นในวังหลวงทันที จากนั้นมาไฟฟ้าก็เริ่มแพร่หลายไปตามวังเจ้านาย
พ.ศ. 2503-2513
ทศวรรษที่ 1 บุกเบิกก่อสร้างไฟฟ้าให้ชุมชน
เมื่อ PEA ได้รับการสถาปนาตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพุทธศักราช 2503 ณ วันที่
28 กันยายน พ.ศ. 2503 โดยรับช่วงภารกิจต่อจากองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยทุนประเดิมจำนวน 87 ล้านบาทเศษ มีการไฟฟ้าอยู่ในความรับผิดชอบ 200 แห่ง มีผู้ใช้ไฟจำนวน 137,377 ราย และพนักงาน 2,119 คน กำลังไฟฟ้าสูงสุดในปี 2503 เพียง 15,000 kW ผลิตด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลทั้งสิ้น สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าบริการประชาชนได้ 26.4 ล้านหน่วยต่อปี และมีประชาชนได้รับประโยชน์จากการใช้ไฟฟ้าประมาณ 1 ล้านคน หรือร้อยละ 5 ของประชาชนที่มีอยู่ทั่วประเทศในขณะนั้น 23 ล้านคน
พ.ศ. 2514-2523
ทศวรรษที่ 2 เร่งรัดขยายไฟฟ้าสู่ชนบท
ย่างเข้าสู่สิบปีที่สองของการก่อตั้ง PEA ศักยภาพของความพร้อมในการพัฒนาที่สั่งสมไว้ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1 บวกกับการเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 -2519) และแรงผลักดันของความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาในอัตราที่สูงมากเกือบร้อยละ 30 ต่อปี มีผลให้ PEA ต้องเตรียมปรับแผนเพื่อตั้งรับการพัฒนาชนบทด้านไฟฟ้าอย่างแข็งขัน และทันต่อ
ความต้องการของประชาชน
พ.ศ. 2524-2533
ทศวรรษที่ 3 ส่งเสริมความเจริญสู่ธุรกิจและอุตสาหกรรม
ไฟฟ้ามีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้านของประเทศ เนื่องจากไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมทุกประเภท สร้างผลผลิต ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอัตราการใช้ไฟฟ้าของประเทศมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณ
การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รายได้ประชาชาติ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
พ.ศ. 2534-2543
ทศวรรษที่ 4 นำเทคโนโลยีชั้นสูงมาพัฒนามาตรฐานการบริการ
การดำเนินการของ PEA ที่ผ่านมา 30 ปี ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้บริการกับประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างทั่วถึง ทำให้การบริการด้านพลังงานไฟฟ้าสามารถรองรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่ย้ายแหล่งการลงทุนจากในเมืองให้กระจายไปในชนบท และทำให้บริการประชาชนได้มากขึ้น เป็นการกระจายไปในชนบทและทำให้บริการประเภทอื่น ๆ สามารถเข้าไปให้บริการประชาชนได้มากขึ้น เป็นการกระจายความเจริญไปทั่วประเทศ
พ.ศ. 2544-2553
ทศวรรษที่ 5 พัฒนาองค์กรเพื่อก้าวสู่ระดับสากลในธุรกิจพลังงาน
PEA ตระหนักในความสำคัญของการให้บริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมทั้งมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงานให้ทันสมัย คล่องตัวและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนในการตัดสินใจประกอบกิจการต่าง ๆ
พ.ศ. 2554 - ปัจุบัน
ทศวรรษที่ 6 พัฒนาคุณภาพระบบไฟฟ้าและการบริการ ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ PEA DIGITAL UTILITY
PEA ปรับโครงสร้างองค์กรและกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน มุ่งมั่นให้บริการพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านคุณภาพและบริการ มุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ร่วมสร้างคุณค่า
สู่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ PEA Digital Utility
ธุรกิจ PEA
ธุรกิจและบริการของ PEA
PEA มีการดำเนินงานหลักคือ เป็นธุรกิจจัดหาและให้บริการจำหน่ายไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ส่วนภูมิภาคในพื้นที่ 74 จังหวัด ของประเทศไทย ยกเว้น กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยรับพลังงานไฟฟ้าจากระบบเครือข่ายของผู้ผลิตไฟฟ้า ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และ จากโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กมาก (VSPP) เพื่อนำมาจำหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า อันประกอบด้วย การส่งไฟฟ้า (Transmission) ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ (อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โรงแรม และห้างสรรพสินค้า) และอุตสาหกรรมขนาดกลาง รวมถึงการจำหน่าย (Distribution) ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย (ที่พักอาศัย) ผ่านหน่วยงานที่มีการแบ่งพื้นที่เป็น 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ อีกทั้ง
ยังมีการให้บริการทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษา วางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ด้วยทีมงานมืออาชีพและเครื่องมือที่ทันสมัย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการและเกิดความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
พื้นที่ให้บริการ
PEA รับผิดชอบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ 74 จังหวัดของประเทศไทย ยกเว้น กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99 ของพื้นที่ประเทศไทย หรือประมาณ 510,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า 21,670,057 ราย
จำนวนสำนักงานบริการประชาชน
สำนักงานใหญ่
- สำนักงานใหญ่ จำนวน 1 แห่ง
ภาคเหนือ
- สำนักงานการไฟฟ้าเขต จำนวน 3 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าจังหวัด/อำเภอ จำนวน 42 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าสาขา จำนวน 86 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าสาขาย่อย จำนวน 120 แห่ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- สำนักงานการไฟฟ้าเขต จำนวน 3 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าจังหวัด/อำเภอ จำนวน 45 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าสาขา จำนวน 87 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าสาขาย่อย จำนวน 189 แห่ง
ภาคกลาง
- สำนักงานการไฟฟ้าเขต จำนวน 3 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าจังหวัด/อำเภอ จำนวน 42 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าสาขา จำนวน 86 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าสาขาย่อย จำนวน 120 แห่ง
ภาคใต้
- สำนักงานการไฟฟ้าเขต จำนวน 3 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าจังหวัด/อำเภอ จำนวน 45 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าสาขา จำนวน 87 แห่ง
- สำนักงานการไฟฟ้าสาขาย่อย จำนวน 189 แห่ง
ประเภทธุรกิจของ PEA
ธุรกิจหลัก
การจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าที่ซื้อมาจากแหล่งผลิตต่าง ๆ ทั้งจากพลังงานทดแทนและไม่ใช้พลังงานทดแทน
ธุรกิจเสริม
ประกอบด้วยงาน 7 ประเภท คือ
- งานก่อสร้างระบบไฟฟ้า
- งานประเภทเช่า
- งานซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
- งานตรวจสอบ
- งานทดสอบและงานวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า
- งานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
- งานที่ปรึกษาและออกแบบระบบ
ธุรกิจใหม่
ธุรกิจที่เป็นประโยชน์กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่รองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว (Disruptive Technology) เช่น
- EV (Electric Vehicle)
- Solar Rooftop
- Smart Meter
- Smart home
ธุรกิจใหม่ของ PEA
ธุรกิจ PUPAPLUG
PEA มีนวัตกรรมใหม่เป็นเต้ารับสำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ชาร์จที่ให้มากับรถไฟฟ้า ซึ่ง PUPAPLUG สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งฝั่งผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า และฝั่งผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าให้กลายเป็นสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าได้ โดย PEA ได้ร่วมมือกับ บริษัท ซีนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ PUPAPLUG ปัจจุบันได้มีการเปิดให้ลูกค้า สามารถสั่งจอง และชำระค่าสินค้าได้ในราคา 6,500 บาท/เครื่อง (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าสนใจสั่งจองสินค้าเป็นจำนวนมากทั้งบุคคลทั่วไปและภาคธุรกิจต่าง ๆ เช่น โรงแรม รีสอร์ท อาคารชุด ฯลฯ
ธุรกิจ PEA Volta Charging Station
ธุรกิจ PEA VOLTA Charging Station ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA เพื่อรองรับการให้บริการอัดประจุให้แก่ยานยนต์ไฟฟ้าแบบชาร์จเร็วหรือ Quick Charge ตามถนนเส้นทางหลักทั่วประเทศและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ปัจจุบัน PEA VOLTA เปิดให้บริการทั้งหมด 163 สถานี โดยครอบคลุม 64 จังหวัด 130 อำเภอ มีหัวชาร์จให้บริการรวมทั้งหมด 593 หัวชาร์จ แบ่งประเภทหัวชาร์จเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย AC Type 2 จำนวน 111 หัวชาร์จ CCS Type 2 จำนวน 111 หัวชาร์จ และ CHAdeMO จำนวน 214 หัวชาร์จ
ปี 2566 จะเปิดให้บริการ 313 สถานี
ครอบคลุมพื้นที่ 74 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร
ธุรกิจ PEA SOLAR
ธุรกิจ PEA SOLAR ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาดของประชาชน ผ่านบริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) ให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงการใช้ Solar Rooftop ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ราคาคุ้มค่า และติดตั้งโดยทีมงานมืออาชีพ รวมถึงมีจุดให้บริการครอบคลุมผู้ใช้ไฟทุกพื้นที่ทั่วไทย
ธุรกิจโครงสร้างตลาดซื้อขายไฟฟ้ารูปแบบใหม่
“Peer to peer Energy Trading”
ธุรกิจโครงสร้างตลาดซื้อขายไฟฟ้ารูปแบบใหม่ “Peer to peer Energy Trading” หรือระบบ
การซื้อขายไฟฟ้ากันเองระหว่างประชาชนกับประชาชน หรือระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนกับชุมชนโดยรอบซึ่งจะทำให้ลดความสูญเสียไฟฟ้าในระบบสายส่ง โดยเทคโนโลยี Blockchain จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การซื้อขายแบบ Peer to Peer สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนทั่วไปได้ โดยในปี 2565 PEA พัฒนาช่องทางรับชำระเงินรายได้อื่นฯ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับระบบสารสนเทศและสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ของ Energy Trading Platform