มิติด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากการดำเนินธุรกิจของ PEA ที่มุ่งเน้นการจำหน่ายและให้บริการพลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ โดยผ่านกระบวนการดำเนินงานขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยการใช้ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมและมีส่วนทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและเร่งด่วนทั้งในระดับประเทศและระดับสากลในปัจจุบัน และสามารถส่งผลกระทบเชิงลบต่อ ทั้งสภาพแวดล้อม สังคม ประชาชน และความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจของ PEA
PEA มองเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงมุ่งมั่นแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จัดให้มีแผนปฏิบัติการของสายงาน กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด มาตรการควบคุมให้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการการใช้พลังงาน ติดตามและวิเคราะห์ปัญหาหรือช่องโหว่ในการปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอทุกไตรมาส เพื่อสร้างแนวทางการผลักดันและการควบคุมให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดย PEA ทำการพิจารณาผลกระทบตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า การส่งกระแสไฟฟ้าผ่านสายส่งแรงสูง จนถึง การจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ PEA ยังทำการสื่อสารการดำเนินการและผลการดำเนินการที่สำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่งเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อีกทั้ง มีการเปิดช่องทางการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย เพื่อนำข้อเสนอแนะมาเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินผลและเกิดการปรับปรุงแก้ไขการบริหารจัดการในด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สัญญลักษณ์รักษ์โลกต่าง ๆ

การบริหารจัดการด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ

การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency)
การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจมีจุดประสงค์เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ภายในองค์กรจากกิจกรรมต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อม โดย PEA ได้กำหนดแผนงานเพื่อควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจก และเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ โดยในปี 2565 ถูกกำหนดไว้ที่ระดับ 5 หรือ ที่ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Factor X) เท่ากับ 1.0526
อีกทั้ง PEA ยังนำผลการประเมินไปใช้ในการหาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของ PEA ในระยะถัดไป เพื่อเป็นข้อมูลในการสื่อสารกับหน่วยงานภาครัฐให้ทราบถึงแผนงานในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจขององค์กร และสอดคล้องกับนโยบายรวมถึงยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยขอบเขตการประเมินครอบคลุมการดำเนินงานโดยตรงของ PEA ในการให้บริการไฟฟ้าทั้ง 74 จังหวัด ทั่วประเทศ
เกณฑ์วัดระดับความสำเร็จในการดำเนินงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจปี 2565
Thumbnail-เป้าหมายในการดำเนินงาน
0

ค่า Factor X

ระดับเกณฑ์ที่ 1
Thumbnail-เป้าหมายในการดำเนินงาน
0

ค่า Factor X

ระดับเกณฑ์ที่ 2
Thumbnail-เป้าหมายในการดำเนินงาน
0

ค่า Factor X

ระดับเกณฑ์ที่ 3
Thumbnail-เป้าหมายในการดำเนินงาน
0

ค่า Factor X

ระดับเกณฑ์ที่ 4
Thumbnail-เป้าหมายในการดำเนินงาน
0

ค่า Factor X

ระดับเกณฑ์ที่ 5
โดยในปี 2565 PEA ได้ติดตามและรวบรวมข้อมูลปริมาณการใช้ทรัพยากรและพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมหลัก จำนวน 11 รายการทรัพยากรที่ใช้ ขณะเดียวกัน PEA ยังรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจขององค์กรหรือปริมาณหน่วยจำหน่ายไฟฟ้า (Economic Indicator) ควบคู่กัน เพื่อวัดผลประเมินระดับของค่า Factor X

กำหนดนโยบายสำนักงานสีเขียว (Green Office)

นโยบายสำนักงานสีเขียวมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมบุคลากรทุกคนของ PEA ให้ตระหนักถึง การใช้ทรัพยากรและพลังงานให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนยกระดับมาตรฐานภายในสำนักงานให้มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดอัตราการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด ซึ่ง PEA จะมีการติดตามประเมินผลเชิงบวกที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายของนโยบายเป็นประจำทุกปี อีกทั้งได้วางเป้าหมายการดำเนินการขยายผล โครงการสำนักงานสีเขียวให้ครอบคลุมการไฟฟ้าทั่วประเทศเพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 372 แห่ง จากจำนวน 482 แห่ง ในปี 2568
ในปี 2565 PEA ได้ทำการสื่อสารและประชาสัมพันธ์นโยบายดังกล่าวอย่างครอบคลุมผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ เว็บไซต์ Green Office ของ PEA รวมถึงจัดกิจกรรม Green Day เพื่อสร้างความตระหนักและเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในด้านผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธุรกิจของ PEA ให้แก่พนักงานทุกระดับ โดยองค์ประกอบของนโยบายในปี 2565 ประกอบด้วย 6 ข้อหลัก ดังนี้
แผนภาพกำหนดนโยบายสำนักงานสีเขียว

ผลการดำเนินงานด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ

0

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (tCO2e)

กราฟการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3
หมายเหตุ:

ขอบเขตที่ 1

การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การใช้น้ำมันดีเซลในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงพาหนะ การบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า การผลิตเสาไฟฟ้าจากผลิตภัณฑ์คอนกรีต การรั่วซึม/รั่วไหลจากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น

ขอบเขตที่ 2

การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อ พลังงานมาใช้ในองค์กร หน่วยสูญเสียในระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้า เป็นต้น

ขอบเขตที่3

การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมด้านอื่น ๆ การใช้กระดาษ A4 การใช้น้ำประปา เป็นต้น
กราฟอัตราส่วนความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ PEA
ในปี 2565 พบว่าอัตราส่วนความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ PEA มีค่าเท่ากับ 0.034464 kgCO2e/kWh โดยค่าความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 2 และ 3 ซึ่ง PEA มีการกำหนดหน่วยเฉพาะองค์กร คือ ปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้ากล่าวคือ การจำหน่ายไฟฟ้าจำนวน 1 kWh ก่อให้เกิดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 0.034464 kgCO2e ลดลงจากปีที่ผ่านมา 0.001720 kgCO2e/kWh คิดเป็นร้อยละ 4.75

ผลการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ

จากการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ทรัพยากรทั้ง 11 รายการ ที่เป็นตัวชี้วัดสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของ PEA โดยนำมาประเมินและรายงานผลการดำเนินการติดตามตรวจสอบปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกเป็นประจำทุกเดือน เพื่อยกระดับแผนการใช้ทรัพยากรในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งในด้านการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเป้าหมายในการวัดผลประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ จากการดำเนินการดังกล่าว พบว่า PEA มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมจาก 5 กิจกรรมหลักขององค์กรเท่ากับ 229,959.59 tCO2e ในปี 2565 ทั้งนี้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวไม่รวมปริมาณหน่วยสูญเสียจากระบบส่ง และจำหน่ายไฟฟ้า

โดยเมื่อนำผลการประเมินจำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2565 เปรียบเทียบกับผลลัพธ์ตั้งแต่ในรอบปี 2561 พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของ PEA เริ่มมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ในปี 2562 จนถึงปี 2565 อย่างต่อเนื่องจากในกิจกรรมปี 2562 – 2565 มีการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงานทั่วประเทศ การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงยานพาหนะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ ทั้งนี้ในทุก ๆ ปี PEA จะมีโครงการหรือกิจกรรมในการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การดำเนินงานด้าน Green Office การติดตั้ง Solar Roof สำนักงานการไฟฟ้าทั่วประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ในปี 2561 ถึงปี 2563 PEA คำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมจาก 6 กิจกรรมรวมการจัดการของเสียของ PEA โดยในปี 2564 เป็นต้นไปไม่ได้ทำการประเมิน เนื่องจากมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยมาก และไม่มีนัยสำคัญในการประเมินแต่ผลในภาพรวมยังคงมีแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้น
แผนภาพปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ PEA

จากผลการประเมินในปี 2565 พบว่ากิจกรรมที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่

0%

ลำดับที่ 1
การให้บริการไฟฟ้าของ PEA คิดเป็นร้อยละ 39.16

0%

ลำดับที่ 2
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในยานพาหนะคิดเป็นร้อยละ 22.23

0%

ลำดับที่ 3
การผลิตและใช้เสาไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 14.62

0%

ลำดับที่ 4
การผลิตไฟฟ้าของ PEA คิดเป็นร้อยละ 18.46

0%

ลำดับที่ 5
การบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 5.53
โดย PEA ได้นำผลการจัดลำดับดังกล่าว มาใช้ในการวางแผนปรับปรุงการใช้ทรัพยากรให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าลดลงได้ ซึ่งในปี 2565 ได้มีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบดังกล่าวแล้วในกิจกรรมลำดับที่ 2 หรือการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในยานพาหนะ โดยสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมดังกล่าวได้ทั้งหมดจำนวน 4,776.81 tCO2e จาก 2 กิจกรรมหลัก(305-5) ประกอบด้วย
โดยเมื่อทำการคำนวณค่า Factor X หรือประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco – Efficiency) ของ PEA ในปี 2565 พบว่ามีค่าเท่ากับ 627,104 kWh/1 tCO2e กล่าวคือ การจำหน่ายไฟฟ้าจำนวน 627,104 kWh ก่อให้เกิดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 1 tCO2e และเมื่อเปรียบเทียบจากการดำเนินกิจกรรมดำเนินงานของ PEA ระหว่างปี 2561 (ปีฐาน) กับปี 2565 แล้วนั้น พบว่า ในปี 2565 สามารถดำเนินการได้มีประสิทธิภาพมากกว่าในปี 2561 โดยคิดเป็น 1.05281 เท่า และจากการดำเนินงานตามแนวทาง ISO 14045 ในส่วนของกระบวนการกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตการประเมินสิ่งแวดล้อม รวมถึงการประเมินมูลค่าเศรษฐกิจและการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ส่งผลให้ PEA สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจในเกณฑ์ระดับ 5 ที่กำหนดค่า Factor X ไว้เท่ากับ 1.0526

ข้อมูลตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ขอบเขต 1

ตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รายการ ปริมาณ หน่วย
2561 2562 2563 2564 2565
การผลิตไฟฟ้าของ PEA ปริมาณน้ำมันดีเซลที่ใช้ในการผลิต 12,007,362 13,290,417 11,709,758 8,122,485.33 7,914,815 ลิตร
ปริมาณหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ 46,519,469.25 51,490,339.42 45,366,478.27 31,468,502.95 30,663,938.10 kWh
การบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าและวิศวกรรม ปริมาณน้ำมันหม้อแปลงที่จัดซื้อ 973,200 670,218 1,641,600 1,683,400 1,571,800 ลิตร
ปริมาณการใช้สาร SF6 978.6 560 820 480 360 กิโลกรัม
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในยานพาหนะ ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลในยานพาหนะ 20,442,645 21,167,266 20,882,952 19,780,029 18,627,208 ลิตร
การผลิตเสาไฟฟ้าจากผลิตภัณฑ์คอนกรีต เสาไฟฟ้าผลิตเอง 18,015 14,786 20,347 22,542 43,244.04 ลิตร
การรั่วไหลของสารทำความเย็น ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R-22 2,985.72 2,037.62 1,454 956.76 1,057.19 กิโลกรัม
ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R-410A 30 387 44 - 31 กิโลกรัม
ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R-134A 8.3 153 32 - 38.90 กิโลกรัม
ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R-32 17.7 149 39 - 38.90 กิโลกรัม

ข้อมูลตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ขอบเขต 2

ตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รายการ ปริมาณ หน่วย
2561 2562 2563 2564 2565
การให้บริการของ PEA ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน (302-1) 119,246,722 136,115,090 143,544,716 142,813,195 146,708,695 kWh
หน่วยสูญเสียจากการจำหน่ายไฟฟ้า ปริมานหน่วยสูญเสียจากการจำหน่าย 7,622,929,052.80 7,837,142,184.70 7,809,717,354.10 8,049,384,018.10 7,939,860,740.40 kWh

ข้อมูลตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ขอบเขต 3

ตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รายการ ปริมาณ หน่วย
2561 2562 2563 2564 2565
การให้บริการของ PEA ปริมาณการใช้กระดาษ A4 217,624 129,731 127,498 132,538 131,547 รีม
ปริมาณการใช้กระดาษ Thermal 19,128,320 38,292,340 6,133,184 6,351,278 1,682,879 ฉบับ
ปริมาณการใช้น้ำประปา 1,159,986.44 1,268,641 1,513,664 1,580,738 1,682,742 m3
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Scroll to Top