เป้าหมาย
• ยกระดับบทบาทของงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนากระบวนการทำงานและการขยายผลเชิงพาณิชย์
กลยุทธ์
• พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เสริมสร้างความมั่นคงสร้างมาตรฐานที่เป็นเลิศ มุ่งสู่ความทันสมัย และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ กฟภ.
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2562
• ความสำเร็จของแผนงานการพัฒนาระบบการจัดการนวัตกรรมองค์กร (Corporate Innovation System) อยู่ในระดับ 3
การวางแผนปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต
• ยกระดับแผนงานการพัฒนาระบบการจัดการนวัตกรรมองค์กร (Corporate Innovation System)ให้นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึง Business Model ใหม่ๆ ได้ภายในปี 2563
การบริหารจัดการ
• นักวิจัยและผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง มีการประเมิน
ความเป็นไปได้ทางธุรกิจของผลงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในอนาคต รวมทั้งมีการวางแผนเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
• จัดสรรงบประมาณในอัตราร้อยละ 3 ของรายได้สุทธิ คิดเป็นจำนวนเงินเฉลี่ยปีละ 100-130 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนกองทุนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม
• สนับสนุนทุนแก่หน่วยงานวิจัยภายในประเทศหรือสถาบันวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการทางวิชาการใน 4 รูปแบบ ดังนี้
- ให้ทุนสนับสนุนเต็มจำนวน
- วิจัยร่วม (Co-research)
- ร่วมทุนวิจัย (Co-funding)
- รูปแบบอื่นๆ ตามที่ตกลงร่วมกัน
• สนับสนุนทุนแก่หน่วยงานวิจัยภายใน กฟภ. โดยให้ทุนสนับสนุนไม่เกิน 300,000 บาทต่อโครงการ
• สนับสนุนทุนแก่วิสาหกิจเริ่มต้น (วิสาหกิจเริ่มต้น คือ กิจการที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ หรือเป็นไปตามกฎหมายกำหนด) สำหรับดำเนินการในเชิงพาณิชย์ โดยให้ทุนสนับสนุนโครงการ 3 ระยะ ดังนี้ - ระยะที่ 1 : พัฒนาแนวคิดและศึกษาความเป็นไปได้ของผลงานวิจัยในเชิงพาณิชย์ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
มีกรอบงบประมาณไม่เกิน 10,000,000 บาท - ระยะที่ 2 : พัฒนาผลงานวิจัยต้นแบบระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน มิได้ระบุขอบเขตของกรอบงบประมาณ
- ระยะที่ 3 : พัฒนาผลงานวิจัยต้นแบบไปสู่ขั้นการขยายผลใช้งานทั่วทั้งองค์กร หรือทดลองผลิตในระดับอุตสาหกรรม หรือเชิงพาณิชย์ ระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน มิได้ระบุขอบเขตของกรอบงบประมาณ