การกำกับดูแลความยั่งยืน

การบริหารความยั่งยืนและการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

นโยบายการพัฒนาความยั่งยืน

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงสร้างการพัฒนาความยั่งยืน

การพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน

PEA ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน จึงได้มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนองค์กร ให้มีความสมดุล ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ว่าจะได้รับการบริการที่เป็นเลิศภายใต้กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน PEA จึงได้นำแนวทางตามมาตรฐานสากลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาเป็นกรอบในการกำหนดนโยบายและคู่มือด้านการพัฒนาความยั่งยืนของ PEA โดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริบทความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อนำปัจจัยนำเข้าดังกล่าวมากำหนดกลยุทธ์การพัฒนาความยั่งยืนและถ่ายทอดลงสู่ระดับปฏิบัติการตามลำดับขั้น ซึ่งคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง มีบทบาทและส่วนร่วมในทุกกระบวนการตามโครงสร้างการบริหารจัดการความยั่งยืน
จุดยืนทางด้านกลยุทธ์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

โครงสร้างการบริหารจัดการความยั่งยืน

คณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมอบหมายให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลและการพัฒนา อย่างยั่งยืนทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารจัดการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เป็นไปตามความมุ่งมั่นที่แสดงไว้ในนโยบายการพัฒนาความยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบ ผลการประเมินประเด็นการพัฒนาความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ โดยมีผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้บริหารระดับสูง และคณะทำงานพัฒนา ความยั่งยืนของ PEA พิจารณากลั่นกรองประเด็นการพัฒนาความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ เพื่อเป็นปัจจัยนำเข้าประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะรวมถึงคำแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งได้กำหนดหน่วยงานดูแลรับผิดชอบโดยตรงภายใต้รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และผู้ช่วยผู้ว่าการยุทธศาสตร์ (กิจการองค์กร) ได้แก่ กองบริหารความยั่งยืนและความสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ฝ่ายส่งเสริมความสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรเพื่อความยั่งยืน สายงานยุทธศาสตร์ทำหน้าที่ถ่ายทอดนโยบาย ประเด็นการพัฒนาความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ แผนแม่บท และแผนงานต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร โดยร่วมกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบบริหารจัดการประเด็นการพัฒนาความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญแต่ละประเด็น ผลักดัน ติดตาม และสรุปรายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญเสนอผู้บริหารตามโครงสร้างกำกับดูแลรายไตรมาส
แผนภาพโครงสร้างการบริหารจัดการความยั่งยืนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์องค์กร (Strategic Objective)

PEA ได้ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2566 – 2570 โดยกำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objective) 4 ประเด็นดังนี้

วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 1 (SO1)

ยกระดับการบริหารจัดการระดับสากลด้วยดิจิทัล และนวัตกรรม โดยมีทุนมนุษย์เป็นแกนขับเคลื่อนสำคัญ
มุ่งเน้นการยกระดับการบริหารจัดการองค์กร การบริหารทุนมนุษย์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็น Enabler ในการขับเคลื่อนและผลักดันองค์กร โดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาและนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ และบริหารนวัตกรรม ซึ่งมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
การบริหารทุนมนุษย์จะมุ่งเน้นในการยกระดับการบริหารจัดการให้เป็นมาตรฐานสากล ยกระดับทักษะให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ เทคโนโลยี และภาวะการแข่งขัน ให้มีโครงสร้างอัตรากำลังและส่งเสริมบุคลากรที่ มีสมรรถนะสูง (Talent และ Successor) ให้สามารถรองรับบุคลากรที่ จะมีการเกษียณอายุได้อย่างทันกาล และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร (Human Resource Development :HRD) ให้มีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างกิจการไฟฟ้า และการเติบโตของธุรกิจใหม่และธุรกิจเกี่ยวเนื่องในอนาคต รวมถึงทันต่อเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล มีความยืดหยุ่น และสามารถทำงานในรูปแบบบูรณาการกัน
เทคโนโลยีดิจิทัล จะมุ่งเน้นในการสนับสนุนให้องค์กรรองรับและต่อยอดการเป็นองค์กร Digital Utility โดยให้ความสำคัญใน 3 มิติ ได้แก่ Digital Service เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า Digital Operational Excellence เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และความสามารถในการผลิต (Productivity) ที่สูงขึ้น และ Digital Business เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการในปัจจุบัน และนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ รวมถึงธุรกิจใหม่ในอนาคต และคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security และยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลที่ดีและบริหารจัดการด้านการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) และมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัย (ISO27001)
มุ่งเน้นในการบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) และการให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจหลักและธุรกิจเกี่ยวเนื่องโดยมุ่งเน้นในการนำงานวิจัย นวัตกรรม รวมทั้งองค์ความรู้ มาใช้ต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์การบริการ และกระบวนการดำเนินงาน รวมถึงการเปลี่ยน Business Model ขององค์กร ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และโครงสร้างกิจการไฟฟ้าเสรีในอนาคต รวมถึงมุ่งเน้นการส่งเสริมและผลักดันงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อการคัดกรองงานวิจัย เทคโนโลยี ที่มีศักยภาพของ กฟภ. ในการปรับปรุง/ยกระดับกระบวนการทำงานของแต่ละสายงาน และการนำนวัตกรรมออกสู่การจัดการเชิงพณิชย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรในระยะยาวได้ (Commercialized)

วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 2 (SO2)

พัฒนาระบบจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้และยกระดับสู่โครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid) เพื่อเป็นผู้นำระบบไฟฟ้าตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกเหนือจากการที่องค์กรจะให้ความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยการยกระดับคุณภาพของระบบไฟฟ้า ให้มีความมั่นคง เชื่อถือได้นั้น กระทรวงพลังงาน ได้ประกาศแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่าย Smart Grid ของประเทศไทย พ.ศ.2558 – 2579 เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินการพัฒนาระบบโครงข่าย Smart Grid ในภาพรวม สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานในฐานะผู้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่าย Smart Grid ของประเทศไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ในการพัฒนาระบบ Smart Grid ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการจัดหาไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพยั่งยืน มีคุณภาพบริการที่ดี และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Grid เป็นโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารมาบริหารจัดการ ควบคุมการผลิต ส่ง และจ่ายพลังงานไฟฟ้า สามารถรองรับการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาดที่กระจายอยู่ทั่วไป (Distributed Energy Resource : DER) และระบบบริหารการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งให้บริการกับผู้เชื่อมต่อกับโครงข่ายผ่านมิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้ มีคุณภาพไฟฟ้ได้มาตรฐานสากล ความอัจฉริยะนี้ เกิดจากการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ระบบสารสนเทศ ระบบสื่อสาร เข้าไว้ด้วยกันเป็นโครงข่าย ซึ่งโครงข่ายดังกล่าวจะสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสำคัญ 3 ด้านได้แก่
โดย กฟภ. ได้มุ่งพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มประสิทธิภาพ เชื่อมโยงทุกกิจกรรมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าเข้าด้วยกัน และรองรับกับโครงสร้างของระบบสาธารณูปโภคและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต
ทั้งนี้ กฟภ. ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยการยกระดับคุณภาพของระบบไฟฟ้า ให้มีความมั่นคง เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพ และมีความเพียงพอ (Stronger Grid) เพื่อให้รองรับการขยายตัวของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ และ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมตามจุดยุทธศาสตร์ของประเทศ
นอกจากนี้ กฟภ. จะพัฒนาปรับใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการบริหารโครงข่าย เช่น Voltage Control การอัพเกรด SCADA การใช้จำลองภาพรวมโครงข่ายด้วยแผนภาพจากดาวเทียม การใช้โดรนสำรวจ ประกอบกับการบูรณาการข้อมูลที่ใช้ในการบริหารโครงข่ายและสินทรัพย์ (Grid Model Data Management :GMDM) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารโครงข่าย (Grid Analytics และนำไปใช้ในการจัดการระบบการนำส่งที่ทรงประสิทธิภาพ (Smarter Grid) รวมถึง ยังมุ่งเน้นการพัฒนาระบU Asset Management และกระบวนการจัดหาพัสดุที่มีคุณภาพ ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์และการดำเนินงานขององค์กร รวมถึงการลดต้นทุนในการดำเนินงาน การบำรุงรักษา และเพิ่มอัตราผลตอบแทนทางการเงินขององค์กร โดยจัดทำและดำเนินงานตาม Asset Management Roadmap รวมถึงมีการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ และการวางแผนการบำรุงรักษา (Maintenance Strategy) ที่เหมาะสมในสินทรัพย์ของระบบไฟฟ้าที่สำคัญขององค์กร
กฟภ. ดำเนินการข้างต้นควบคู่ไปกับการยกระดับการดำเนินงานด้านลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีการสำรวจและรับรู้ถึงความต้องการ ความคาดหวัง ความเชื่อมั่น และความพึงพอใจของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำมาจัดทำแนวทางการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ และไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยจุดประสงค์ที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า และลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของการดำเนินงานด้านลูกค้า มีการมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ดีขึ้นด้วยการพัฒนาปรับปรุง Digital Touchpoint และการประยุกต์ใช้ระบบ Customer Relationship Management (CRM) เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านลูกค้าและตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลูกค้ารายย่อย (บ้านอยู่อาศัยและพาณิชย์รายย่อย) กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ (อุตสาหกรรมและพาณิชย์รายใหญ่! และภาครัฐ รวมถึงมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยั่งยืนทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านช่องทางที่เหมาะสม เช่น การพัฒนาช่องทางการให้บริการผ่าน PEA Smart Plus การเพิ่มเติมบริการออนไลน์ต่าง ๆ (e-Services) ให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเน้นไปที่บริการที่มีนัยสำคัญและมีผลกระทบเชิงบวกสูง เช่น บริการแจ้งค่าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bill) และกรรับชำระที่สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึง การเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ
นอกจากนี้ กระบวนการให้บริการลูกค้ายังให้ความสำคัญกับการพัฒนา Digital Customer Experience เนื่องด้วยสัดส่วนประเภทการให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์และจำนวนการให้บริการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมประสบการณ์ลูกค้าที่ดีในการใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ตามเส้นทางเดินของผู้บริโภค (PEA Customer Journey รวมถึงการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนผู้ใช้ไฟฟ้าสมัครใช้บริการ Digital ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับประสบการณ์ที่ดี เพิ่มความพึงพอใจ และตอบสนองความคาดหวังกับการใช้บริการขององค์กร อีกทั้ง ยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์การเป็นผู้ให้บริการที่มีความทันสมัย สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ในการให้บริการไฟฟ้าอัจฉริยะ และช่วยลดต้นทุนการให้บริการลูกค้า ของ กฟภ. ได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 3 (SO3)

ยกระดับผลประกอบการต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่ มุ่งสู่การเปิดเสรีกิจการไฟฟ้า
ในอนาคตจะมีนโยบายของการเปิดซื้อขายไฟฟ้าเสรี โดยแบ่งแยกหน้าที่ DSO และ Retail ออกจากกัน โดยใช้กลไกตลาดที่แข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งโครงการนำร่องดำเนินการในพื้นที่ EEC และบทบาทของ กฟภ. ประกอบด้วย
ดังนั้น แผนในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดซื้อขายตลาดไฟฟ้าเสรี จึงควรเร่งรัดในการดำเนินการ เพื่อแสดงบทบาทที่ชัดเจนของ กฟภ. ในการเป็นผู้นำด้าน DSO โดยใช้ข้อได้เปรียบของบุคลากรและความพร้อมของระบบจำหน่าย และสร้างบทบาทที่ชัดเจนในการเป็นผู้นำด้าน Retail โดยใช้ความได้เปรียบของฐานลูกค้าที่มีจำนวนมากและกระจายครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะนำมาสู่การกำหนด Business Model ที่เปลี่ยนแปลงไปจากสถานะ ณ ปัจจุบัน เพื่อขยายการเติบโตทางธุรกิจ โดยองค์กรจำเป็นต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบัน เทคโนโลยีและโครงสร้างอุตสาหกรรมของระบบไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงปัจจุบันรายได้ขององค์กรมาจากธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจจำหน่ายไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม Core Competency และทรัพยากรขององค์กร ทำให้ กฟภ. มีโอกาสทางธุรกิจและมีความได้เปรียบเหนือเอกชนรายอื่น ๆ เช่น ธุรกิจบริการงานด้านระบบไฟฟ้ากับลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจจัดการพลังงาน Solar Rooftop ที่ปรึกษาออกแบบระบบไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งธุรกิจเกี่ยวเนื่องดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการสร้างรายได้ในภาพรวมขององค์กรในอนาคต
รวมถึง บทบาทการสร้างโอกาสทางธุรกิจในการลงทุนในธุรกิจด้านพลังงานทดแทน หรือการเข้าไปร่วมลงทุนในกิจการอื่น ๆ ทั้งของภาครัฐ หรือ เอกชน ทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน ผ่านการดำเนินการโดยบริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัทในเครือในอนาคต ซึ่งมีบทบาทเป็นทั้งผู้ลงทุนหลักและร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจของ กฟภ.

วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 4 (SO4)

เป็นองค์กรไฟฟ้าชั้นนำ ตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศ เพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมายการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนของ กฟภ. คือการมุ่งนการบรรลุเป้าหมายใน 3 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ (Economic) มิติสังคม (Social และมิติสิ่งแวดล้อม (Environment) นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในการดำเนินการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยนำแนวทางที่ดีที่เป็นมาตรฐานสากลมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน ทั้งมาตรฐาน ISO 26000 UNSDGs และ DJSI รวมถึงเกณฑ์การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง โดยการดำเนินโครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสอดคล้องตามความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนที่สำคัญอย่างครอบคลุมและยั่งยืน และสามารถดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเห็นผลลัพธ์ และได้รับรางวัลหรือการรับรองมาตรฐานด้านรายงานความยั่งยืนได้ตามมาตรฐานสากล
อีกทั้งเพื่อตอบสนองต่อนโยบายภาครัฐ นโยบายด้านพลังงานและความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในเรื่องการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี พ.ศ. 2593 และเป็นการสนับสนุนนโยบายความยั่งยืนขององค์กร วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์นี้จึงมุ่งเน้นไปในการนำองค์กรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบเชิงลบของการดำเนินธุรกิจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และวางรากฐานเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดในอนาคต
มุ่งเน้นการส่งเสริมให้องค์กรมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีการเติบโตอย่างยั่งยืน ตามแนวทางมาตรฐานสากล ทั้ง ISO ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและมาตรฐานของ UNSDGs (United Nations Sustainable Development Goals)
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

การกำกับดูแลและธรรมาภิบาล

การกำกับดูแลกิจการและการต่อต้านทุจริตเพื่อสร้างคุณค่าสู่ความยั่งยืน

PEA ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการภายใต้มาตรฐานการดำเนินงานและความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและมีผลการดำเนินงานที่ดีในระยะยาวควบคู่กับ การคำนึงถึงจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ปฏิบัติงาน ด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ ซึ่ง PEA ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้กำกับดูแลกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวัง ผ่านการกลั่นกรองของคณะกรรมการธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งมอบให้ผู้บริหารของ PEA เป็นตัวแทนปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นขององค์กรที่จะป้องกันการทุจริตทุกรูปแบบและนำไปสู่การยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index : CPI) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม
นักธุรกิจจับมือร่วมงานกัน
PEA ได้วิเคราะห์ผลการประเมินองค์ประกอบพื้นฐานและแนวทางปฏิบัติ รวมถึงวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และกำหนดเป็นกลยุทธ์ตามแผนแม่บท ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (พ.ศ. 2565 – 2569) ซึ่งครอบคลุมมาตรฐานทางจริยธรรม ค่านิยมหลักของจริยธรรมในการดำเนินกิจการ ประมวลจริยธรรมของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพหลักของ PEA โดยกำหนดแผนงาน/โครงการ รองรับอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1

ยกระดับเจตจำนงในการกำกับดูแลและการนำองค์กร
ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

กลยุทธ์ที่ 2

เสริมสร้างองค์ความรู้ สังคม และวัฒนธรรม
ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี

กลยุทธ์ที่ 3

ยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีและระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุกสู่ห่วงโซ่คุณค่าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

กลยุทธ์ที่ 4

สร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการและกลไกการป้องปราม เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ และลงโทษอย่างมีประสิทธิภาพ

การยกระดับระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีและต่อต้านการทุจริตขององค์กร

บูรณาการนโยบายธรรมาภิบาลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย GRC (Governance, Risk Management, Compliance)

เพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้หลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ และพันธกิจ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากรตั้งแต่ระดับกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ร่วมประกาศเจตจำนงการป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชัน
เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ ความมุ่งมั่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงจริยธรรม และ ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมผลักดันสู่การเป็นองค์กรที่สร้างคุณค่าให้กับสังคม สามารถปรับตัวภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แสดงจุดยืนร่วมกันในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบในองค์กร ทั้งนี้ PEA ดำเนินการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน โดยมีผู้บริหารและพนักงานทั่วประเทศเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง
กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นต้นแบบด้านจริยธรรมพนักงาน รวมถึงค่านิยมองค์กร (TRUSTED)
โดยจัดทำคลิปวิดีโอ เพื่อสะท้อนถึงพฤติกรรมต้นแบบ และทำการเผยแพร่ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร อีกทั้งจัดกิจกรรม PEA TRUSTED HEART เพื่อค้นหา สุดยอดพนักงาน โดยการร่วมส่งเรื่องราวของตนเองหรือเพื่อนพนักงานที่สามารถปฏิบัติตามจริยธรรมของพนักงานหรือปัจจัยขับเคลื่อนค่านิยมขององค์กร
บูรณาการมาตรฐาน PEA โปร่งใสอย่างยั่งยืนและระบบติดตามประเมินผล PEA โปร่งใสอย่างยั่งยืน กับระบบสารสนเทศสนับสนุนการประเมินการควบคุมตนเอง (Control Self-Assessment System: CSAS)
โดยจัดทำคลิปวิดีโอ เพื่อสะท้อนถึงพฤติกรรมต้นแบบ และทำการเผยแพร่ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร อีกทั้งจัดกิจกรรม PEA TRUSTED HEART เพื่อค้นหา สุดยอดพนักงาน โดยการร่วมส่งเรื่องราวของตนเองหรือเพื่อนพนักงานที่สามารถปฏิบัติตามจริยธรรมของพนักงานหรือปัจจัยขับเคลื่อนค่านิยมขององค์กร
นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งบูรณาการและยกระดับฐานข้อมูลด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้เท่าทันต่อสถานการณ์ทุจริต เทียบเท่ามาตรฐานสากล (CG e-System)
ซึ่งประกอบด้วย 3 ระบบหลัก ดังนี้ ระบบ CG Testing ใช้ในการประเมินผลการตระหนักรับรู้และการเสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี คุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใสและการต่อต้านการทุจริต ระบบ COI Reporting ใช้ในการรายงาน การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมของ PEA และ ระบบ CG Acknowledgement ใช้ในการสื่อสารและเผยแพร่คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีฯ และลงนามรับทราบ

ระบบ CG Testing

การประเมินผลการตระหนักรับรู้และการเสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี คุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใสและการต่อต้านการทุจริต

ระบบ COI Reporting

รายงานการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมของ PEA

ระบบ CG Acknowledgement

สื่อสารและเผยแพร่คู่มือ
การกำกับดูแลกิจการที่ดีฯ

แสวงหาความร่วมมือและร่วมขับเคลื่อนสังคมปลอดการทุจริต

PEA ได้ให้ความสำคัญกับการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการกำกับดูแลและต่อต้านคอร์รัปชันของ PEA ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการใช้องค์ความรู้และสมรรถนะของ PEA ในการเข้าไปขับเคลื่อนชุมชนสำคัญและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ PEA ให้ปลอดจากการทุจริต โดยมีแนวทางดำเนินการสำคัญ ดังนี้
พิธีส่งมอบโครงการ "PEA หมู่บ้าน ช่อสะอาด"

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของ PEA”

โดยผสานความร่วมมือระหว่างมูลนิธิต่อต้านการทุจริตและ PEA เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” โดยใช้ 4 แนวทางสำคัญประกอบด้วย กายสะอาด จิตสะอาด พฤติกรรมสะอาด ปัญญาสะอาด
กลุ่มนักธุรกิจประชุมกันและจับมือแสดงความยินดี

เข้าร่วมโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)

โดย PEA กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องจัดทำข้อตกลงคุณธรรมทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ PEA ผู้เสนอราคา และผู้สังเกตการณ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนที่จะเข้าร่วมเสนอราคาในโครงการต่าง ๆ
โลโก้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

สร้างความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

ดำเนินการตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างของ PEA ที่น่าจับตามองทั้ง 725 โครงการ พร้อมจัดทำสรุปประเด็นการตรวจพบ และกำหนดมาตรการ รวมถึงแนวทางการแก้ไขป้องกันในภาพรวมขององค์กร อีกทั้ง ยังได้นำระบบสารสนเทศ ACT AI มาใช้ในการตรวจสอบข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร
PEA พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการรับเรื่องร้องเรียน และบริหารจัดการตอบสนองต่อข้อร้องเรียนได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยที่ระบบสามารถจัดเก็บข้อมูล ติดตามความคืบหน้า รวมถึงผลการดำเนินงานบนฐานข้อมูลเดียวกัน นอกจากนี้การดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศยังถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของ PEA ในเรื่องความโปร่งใสองค์กร ซึ่งระบบ PEA-VOC สามารถแจ้งเบาะแสได้อย่างหลากหลายโดย PEA ได้แบ่งประเภทข้อร้องเรียนออกเป็น 6 ประเภท และ การแจ้งเบาะแสทุจริตประพฤติมิชอบออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

ประเภทร้องเรียน

ประเภทการแจ้งเบาะแสทุจริตประพฤติมิชอบ

การคุ้มครองข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส

PEA กำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้ร้องเรียนและแจ้งเบาะแสไว้อย่างชัดเจนในคู่มือการบริหารจัดการข้อร้องเรียนของ PEA โดยระบุว่าผู้รับผิดชอบข้อร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสจะต้องปกป้องข้อมูลผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสให้เป็นความลับ โดยต้องไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น คำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหาย เพื่อคุ้มครองผู้ร้องเรียน ผู้แจ้งเบาะแส พยานและบุคคลที่ให้ข้อมูลในการสืบสวน สอบสวน อย่าให้ต้องรับภัยหรือความไม่ชอบธรรมซึ่งอาจมาจากการร้องเรียนจากการเป็นพยานหรือการให้ข้อมูลนั้น

ผลการดำเนินการด้านการกำกับดูแลกิจการและต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

ประเภทข้อร้องเรียนจำนวน (เรื่อง)ร้อยละ
1. กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง1512.71
2. กระบวนการด้านทรัพยากรบุคคล1210.17
3. กระบวนการด้านงานบริการ97.63
4. กระบวนการด้านการเงิน86.78
5. ประพฤติมิชอบ/ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม5647.46
6. กระบวนการด้านระบบไฟฟ้า65.09
7. กระบวนการจัดการและบริหารองค์กร10.85
8. อื่น ๆ119.32
รวมทั้งสิ้น118100.00
จากข้อร้องเรียนทั้งหมด 118 เรื่อง พบว่าสามารถดำเนินการตอบสนองและปิดข้อร้องเรียนต่าง ๆ รวม 50 เรื่อง และอยู่ระหว่างการดำเนินการจำนวน 68 เรื่อง โดย PEA ได้กำหนดแนวทางการตอบสนองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดจำนวนข้อร้องเรียน ซึ่งจะนำมาปฏิบัติใช้ในปี 2566 มาตรการต่าง ๆ เช่นพัฒนาระบบ AI เพื่อใช้ในการตรวจสอบและรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง โดยบูรณาการเชื่อมกับระบบ AI ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เป็นต้น
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

การบริหารความเสี่ยง

การบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร

PEA ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจด้านพลังงาน โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลง คือ ต้นทุนการดำเนินงานและราคาพลังงาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดความสำเร็จต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร ทั้งนี้ PEA ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร ด้วยการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ตามมาตรฐานสากล COSO ERM 20017 (Enterprise Risk Management Integrating with Strategy and Performance: ERM) เป็นการบริหารความเสี่ยงลักษณะเชิงรุก มีการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง วัตถุประสงค์ขององค์กร การระบุประเภทของความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงผ่านมุมมองของโอกาสและผลกระทบ การกำหนดมาตรการและกระบวนการจัดการความเสี่ยง เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรง ลดมูลเหตุที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการบริหารความเสี่ยงมีความทันกาล เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและสามารถบรรลุภารกิจ วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ และสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
เพื่อผลักดันให้บรรลุยุทธศาสตร์ เป้าหมายและการดำเนินธุรกิจในแต่ละระยะ ด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงระยะเรียกว่า Intelligent risk และการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์องค์กร ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้านได้แก่ ด้านกลยุทธ์ (Strategic risk) ด้านการดำเนินงาน (Operational risk) ด้านการเงิน (Financial risk) และด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance risk) รวมทั้งโอกาสที่เกิดจากการวิเคราะห์ใน SWOT อีกทั้ง PEA ได้พิจารณาจากความสอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร การลงทุนประจำปี การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กร ลูกค้า คู่แข่ง งบประมาณ บุคลากร แผนปฏิบัติการประจำปี ตัวชี้วัดขององค์กรและเหตุการณ์ (Incident) ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี และ ที่เกี่ยวข้องกับ Stakeholder ขององค์กร รวมทั้งโอกาสที่จะเกิดขึ้นทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว

การบริหารจัดการความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่ PEA ให้ความสำคัญและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล COSO ERM 2017 เพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อส่งผลให้บรรลุพันธกิจและวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ PEA มีการรายงานผลการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทุกไตรมาส มีการทบทวนผล การบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยรวบรวมปัจจัยนำเข้าทั้งจากภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กร มีการประเมินความเสี่ยงโดยการสำรวจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจากคณะกรรมการบริหารเป็นประจำ ทุกปี รวมถึงได้มีการนำผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรของ PEA ในปีที่ผ่านมา เข้ามาเป็นหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาความเสี่ยงในปีปัจจุบัน
ในการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะทำหน้าที่ในการกำกับดูแล และสนับสนุนต่อนโยบายบริหารความเสี่ยง โดยกำหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในและผู้บริหารสูงสุดของ PEA เป็นผู้รับผิดชอบ ในการกำกับดูแล ควบคุม ติดตามการนำนโยบายและ กรอบการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติตาม พร้อมทั้งประสานงานกับคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงทุกสายงาน ซึ่งมีรองผู้ว่าการของแต่ละสายงานเป็นประธาน และเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) ให้ดำเนินการ ตามกระบวนการที่กำหนดตามนโยบายและคู่มือการบริหารความเสี่ยง โดยโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง มีรายละเอียดดังนี้
แผนภาพโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การบริหารจัดการและผลลัพธ์ในการดำเนินงานของประเด็นความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ

(สถานะ ธันวาคม ปี 2565)

ประเด็นความเสี่ยง
ผลประกอบการต่ำกว่าเป้าหมาย รวมถึงการดำเนินการโครงการสำคัญล่าช้า เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19
ตัวชี้วัด
ความสำคัญต่อ PEA
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในปี 2563 ต่อเนื่องจนถึงปี 2564 และสถานการณ์ยังคงมีโอกาสเกิดขึ้นสูงในระยะที่ 4 ในปี 2565 ซึ่งส่งผลให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านสภาพคล่องทางการเงิน และการดำเนิน งานต่าง ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้าง การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้า ที่เกิดการหยุดชะงักเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ทั้งการ Lock down ในบางพื้นที่ การห้ามดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และยังมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนโดยการลดค่าไฟฟ้า การขยายเวลาการชำระค่าไฟฟ้า ทำให้ PEA อาจเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งรายได้ของธุรกิจเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ไฟฟ้า หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ไม่ใช้บริการจาก PEA ตามแผนงานที่กำหนด PEA จำเป็น ต้องติดตามและบริหารความเสี่ยงซึ่งอาจกระทบต่อการดำเนินงานได้
มาตรการลดความเสี่ยง
ผลลัพธ์

0%

ความสำเร็จของโครงการ
(แผนงาน / โครงการของหน่วยงานที่ดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ตามเกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานของสายงาน กบ ประจำปี 2565
มีค่าอยู่ที่ร้อยละ 100 (เป็นไปเป้าหมาย)
0

ล้านบาท

รายได้ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

มีค่าอยู่ที่ 7,604.55 ล้านบาท (ดีกว่าเป้าหมาย)

0

ล้านบาท

บริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (CPI-X)

มีค่าอยู่ที่ 28,174.58 ล้านบาท (ดีกว่าเป้าหมาย)

การบริหารจัดการและผลลัพธ์ในการดำเนินงานของประเด็นความเสี่ยงด้านสังคม

(สถานะ ธันวาคม ปี 2565)

ประเด็นความเสี่ยง

การยกระดับความพึงพอใจ และความคาดหวังต่อทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายสำคัญ และลูกค้านิคมอุตสาหกรรม

ตัวชี้วัด
ความสำคัญต่อ PEA
ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ PEA เป็นประเด็นที่ PEA ให้ความสำคัญในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังในแต่ละกลุ่ม โดยได้นำข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการ การทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการลูกค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า รักษาระดับมาตรฐานการให้บริการ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า รวมถึงยกระดับมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการ ตามข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement: SLA) รวมถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า การกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดูแลในแต่ละกลุ่มลูกค้าในมิติต่าง ๆ เช่น ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบริการ ด้านสนับสนุนและด้านการบริหารข้อร้องเรียน เป็นต้น การพัฒนาระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการบริการลูกค้าแต่ละกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ PEA ยังมีฐานะเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน จากบทบาทที่ผสมผสานกัน (Multiple Roles) ระหว่างความเป็นผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนบูรณาการในการยกระดับการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มาตรการลดความเสี่ยง
ผลลัพธ์
0
ระดับความพึงพอใจลูกค้า Key Account

มีค่าอยู่ที่ 4.4650 (ดีกว่าเป้าหมาย)

0
ระดับความพึงพอใจลูกค้านิคมอุตสาหกรรม

มีค่าอยู่ที่ 4.5508 (ดีกว่าเป้าหมาย)

0
ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

มีค่าอยู่ที่ 4.2700 (ดีกว่าเป้าหมาย)

การบริหารจัดการและผลลัพธ์ในการดำเนินงานของประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

(สถานะ ธันวาคม ปี 2565)

ประเด็นความเสี่ยง
การเตรียมความพร้อมและการวางแผนระยะยาวโครงการนำร่อง EEC เพื่อรองรับการเปิดไฟฟ้าเสรี
ตัวชี้วัด
ความสำคัญต่อ PEA
เนื่องจากภาครัฐมีนโยบายของการเปิดซื้อขายไฟฟ้าเสรี เพื่อตอบโจทย์ด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ จากนโยบาย Net Zero หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ที่นานาประเทศออกมาประกาศเจตนารมณ์ โดยใช้กลไกตลาดที่แข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งโครงการนำร่องดำเนินการที่พื้นที่ EEC ดังนั้น แผนในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดซื้อขายตลาดไฟฟ้าเสรี จำเป็นที่ PEA ต้องเร่งรัดในการดำเนินการ เพื่อแสดงบทบาทที่ชัดเจนของ PEA ในการเป็นผู้นำด้าน DSO โดยใช้ข้อได้เปรียบของบุคลากรและความพร้อมของระบบจำหน่าย และสร้างบทบาทที่ชัดเจนในการเป็นผู้นำด้าน Retail โดยใช้ความได้เปรียบของฐานลูกค้าที่มีจำนวนมากและกระจายครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะนำมาสู่การกำหนด Business Model ที่เปลี่ยนแปลงไปจากสถานะ ณ ปัจจุบัน
มาตรการลดความเสี่ยง
ผลลัพธ์

0%

ความสำเร็จของแผนงานการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดไฟฟ้าเสรี ประจำปี 2565
มีค่าอยู่ที่ร้อยละ 100 (เป็นไปเป้าหมาย)

แนวทางการจัดการประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในปี 2565

ประเด็นความเสี่ยง
กระแสเงินสด จากการเรียกเก็บเงินได้ล่าช้า หนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้น
อุปสรรค
การขยายเวลาการชำระค่าไฟฟ้า ทำให้ PEA อาจเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งรายได้ของธุรกิจเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ไฟฟ้า หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจเกี่ยวเนื่องไม่ใช้บริการจาก PEA ตามแผนงานที่กำหนด PEA จำเป็น ต้องติดตามและบริหารความเสี่ยงซึ่งอาจกระทบต่อการดำเนิน งานได้
แนวทางแก้ไข
ผลลัพธ์
ประเด็นความเสี่ยง
ความสัมพันธ์ และ/หรือ การรักษาฐานลูกค้า High Value (ลูกค้ากลุ่มที่สร้างรายได้หลักให้กับองค์กร) และ การเชื่อมโยงประเด็นความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังไม่เต็มประสิทธิภาพ
อุปสรรค
ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ และ/หรือ รักษาฐานลูกค้า High Value ได้ และไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีของการให้บริการแบบ New Normal (Digital Customer Experience)
แนวทางแก้ไข
ผลลัพธ์
ประเด็นความเสี่ยง
การถูกโจมตีจากภายนอก เช่น Malware, Hacking, Ransomware, Denial of Service เป็นต้น
แนวทางแก้ไข
ผลลัพธ์

การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและการบริหารภาวะวิกฤต

ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจของ PEA ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สำคัญในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความเสี่ยงด้านความต้องการในการใช้ไฟฟ้าและเสถียรภาพของระบบที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น PEA จึงจำเป็น ที่จะต้องมีการวางแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและการบริหารภาวะวิกฤตตามกรอบมาตรฐานสากล ISO 22301:2019 ที่มีประสิทธิภาพ ผลกระทบของภัยคุกคามต่อการดำเนินธุรกิจ และสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล
เป้าหมายการดำเนินงาน
กลยุทธ์การดำเนินงาน

การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจและบริหารภาวะวิกฤต

แผนภาพการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจและบริหารภาวะวิกฤต
PEA ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดังนี้
โดยระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management System: BCMS) ของ PEA นั้นจะยึดตามแนวทางมาตรฐานสากล ISO 22301: 2019 เพื่อให้มีระบบการบริหารจัดการภาวะวิกฤตหรือภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ และฟื้นคืนกระบวนงานหลักที่สำคัญ (Critical Business Process) ได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมและส่งมอบบริการพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งลดผลกระทบจากภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดย PEA มีกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ดังนี้
แผนภาพกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCMS) ของ PEA แบ่งช่วงการรับมือได้ดังนี้

ก่อนวิกฤต

การป้องกันและเตรียมความพร้อมรับภัย

ระหว่างวิกฤต

การจัดการในภาวะวิกฤต

หลังวิกฤต

ดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง ฟื้นฟูและทบทวน

ผลการดำเนินการด้านการบริหารความเสี่ยง
การวางแผนปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

PEA มุ่งมั่นในการเติบโตร่วมกับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน มุ่งเน้นการดำเนินงานที่ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ ด้วยการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นธรรม ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อลดผลกระทบจากทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานของ PEA รอบด้าน พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่น และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสม อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจให้เติบโต ได้อย่างยั่งยืน ตามแนวทางการดำเนินการของมาตรฐาน AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) ดังนี้
จากกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้ PEA สามารถระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
แผนภาพกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 9 กลุ่ม

ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประจำปี 2566

0
ค่าเฉลี่ยของผลสำรวจความความผูกพันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 9 กลุ่มกับ PEA

การสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กลุ่มที่ 1 กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลและภาครัฐ

ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน (การเตรียมความพร้อมของเอกสารและการขออนุญาตเข้าพื้นที่, การย้ายเสาไฟฟ้าระบบจำหน่าย, การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรกรณีซ่อมบำรุง)
  • ความรวดเร็วในการติดต่อ หรือการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
  • มุ่งเน้นการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีจริยธรรม
  • ข้อมูลมีความถูกต้อง โปร่งใส และเข้าถึงได้ง่าย
  • มีนโยบายด้านการลงทุนที่เป็นไปตามเป้าหมายของนโยบายภาครัฐ
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ผลการดำเนินงานการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสำนักงาน ป.ป.ช. ปี 2565 ได้ผลการประเมินร้อยละ 97.37 (Rating Score ระดับ AA) เป็นอันดับที่ 1 ของรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน และอันดับที่ 6 ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่เข้ารับการประเมิน

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • บูรณาการกระบวนการออกแบบและทบทวนระบบงาน กระบวนการทำงานข้อกำหนดของระบบงานกับแต่ละกระบวนการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business Architecture: BA) ซึ่งเป็นการดำเนินงานขั้นต้นของการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของ PA เพื่อตอบสนองต่อความต้องการความคาดหวังของทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ PEA รวมถึงตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของ PEA โดยระบบงาน กระบวนการ พร้อมผู้รับผิดชอบ เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ค่า SAIFI และ SAIDI เป็นไปตามเป้าหมายและค่าลดลงทุกปี (SAIFI 1.76 ลดลงจาก 2.19 และ SAIDI 34.98 ลดลงจาก 44.51)

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • PEA สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รวมถึงได้รับการรับรองตามมาตรฐานISO/EC 27001:2013 ในขอบเขตโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Citical Infrastructure) ครอบคลุมสำนักงานใหญ่ ส่วนภูมิภาค 12 เขตและร:บบคอมพิวเตอร์ชอฟต์แวร์สำร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก ของ PEA ระยะที่ 2 (รซ. ระยะที่ 2) ขอบเขตกลุ่มรับชำระเงินระบบงานรับชำระเงิน พิมพ์หนังสือแจ้งค่ไฟฟ้า และใบเสร็จรับเงิน (Bill printing and Payment Management : BPM) นอกจากนี้ภายในปี 2565 – 2566 ยังมีแผ่นการดำเนินการขยายขอบเขตการขอรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 ไปยังโครงสร้างพื้นฐานระบบงานหลักมีความสำคัญของ PEA เพิ่มติม ให้ครอบคลุมทุกระบบงานหลัก ประกอบด้วยกลุ่มซอฟต์แวร์ Back Ofice (ระบบ Enterprise Resource Planning: ERP), กลุ่มซอฟต์แวร์ Front Office (ระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า IS-U) และระบบงานบริหารไฟฟ้าขัดข้อง (Outage Management System : OMS)

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • บรรลุเป้าหมายการยกระดับความรู้ของพนักงานจากการเข้าร่วมการอบรมและผ่านการอบรมหลักสูตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protedtion) อย่างน้อยร้อยละ 90 ของพนักงาน

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ได้รับแจ้งเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 6 เรื่อง โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DataProtecion Officer : DPO) เพื่อประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ไม่พบเหตุการณ์ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือละเมิดความเป็นส่วนตัวที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
  1. จัดสัมภาษณ์หน่วยงานกำกับดูแล และภาครัฐเพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการ 1 ครั้งต่อปี (In-depth Interview) สำรวจทำแบบสำรวจความผูกพัน ความต้องการ ความคาดหวังของหน่วยงานกำกับดูแล และภาครัฐที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
  2. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานกำกับดูแล และภาครัฐที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ในประเด็นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังต่อไปนี้
    • ประเด็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงพลังงาน, คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน, สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
    • ประเด็นเกี่ยวกับพลังงาน ร่วมกับกระทรวงพลังงาน, คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
    • ประเด็นเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ ร่วมกับ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทและองค์การบริหารส่วนจังหวัด/ท้องถิ่น
    • ประเด็นเรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ร่วมกันกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด/ท้องถิ่น
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่ม 1.1 ภาครัฐ/องค์กรอิสระ ผู้กำหนดหรือกำกับนโยบายทิศทางการดําเนินงาน
  1. ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ (ฝนย.) สายงานยุทธศาสตร์
  2. ฝ่ายพัฒนาองค์กรและบริหารการเปลี่ยนแปลง (ฝพป.) สายงานยุทธศาสตร์
  3. ฝ่ายบริการทรัพยากรบุคคล (ฝบบ.) สายงานบริหารองค์กร
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่ม 1.2 ภาครัฐ/องค์กรอิสระ ผู้อนุมัติอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการดําเนินงาน
  1. ฝ่ายคดีและสอบสวน (ฝคส.) สายงานบริหารองค์กร
  2. ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา (ฝปบ.) สายงานภาคกลางและใต้
  3. ฝ่ายวิศวกรรมและบริการ (ฝวบ.) สายงานภาคกลางและใต้
  4. ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา (ฝปบ.) สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
  5. ฝ่ายวิศวกรรมและบริการ (ฝวบ.) สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่ม 1.3 ภาครัฐ/องค์กรอิสระ ผู้ให้ความร่วมมือสนับสนุน หรือ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
  1. ฝ่ายบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (ฝบย.) สายงานยุทธศาสตร์
 
Engagement score
0
ค่าเฉลี่ยความผูกพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่ 1 กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลและภาครัฐกับ PEA

กลุ่มที่ 2 กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้ไฟ้า

ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • คุณภาพไฟฟ้าการให้บริการ (การดับไฟฟ้าตามแผน, การแก้ไขปัญญาไฟฟ้าขัดข้อง, มาตรฐาน/ความปลอดภัย, การมีไฟฟ้าใช้/ขอใช้ไฟฟ้าและบริการต่าง ๆ, การปรับปรุง/บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า, การจดหน่วย/แจ้งค่าไฟฟ้า, การงดจ่ายไฟ/ต่อกลับมิเตอร์, การชำระค่าไฟฟ้า, ช่องทางการสนับสนุนลูกค้า, การแนะนำ/ให้คำปรึกษาลูกค้า)
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ค่า SAIFI และ SAIDI เป็นไปตามเป้าหมายและค่าลดลงทุกปี (SAIFI 1.76 ลดลงจาก 2.19 และ SAIDI 34.98 ลดลงจาก 44.51)

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ค่าดัชนีการประสบอุบัติภัย (Disabling Injury Index: VDI) ได้เท่ากับ 0.0898 ลดลงจากปีที่ผ่านมา 0.0765 คิดเป็นร้อยละ 46.00
  • จำนวนพนักงานและลูกจ้างที่ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับงาน 14 คนลดลงจากปีที่ผ่านมา 11 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • PEA สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รวมถึงได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/EC 27001:2013 ในขอบเขตโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Citical Infrastructure) ครอบคลุมสำนักงานใหญ่ ส่วนภูมิภาค 12 เขตและระบบคอมพิวเตอร์ชอฟต์แวร์สำร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก ของ PEA ระยะที่ 2 (รซ. ระยะที่ 2) ขอบเขตกลุ่มรับชำระเงินระบบงานรับชำระเงิน พิมพ์หนังสือแจ้งค่ไฟฟ้า และใบเสร็จรับเงิน (Bill printing and Payment Management : BPM) นอกจากนี้ภายในปี 2565 – 2566 ยังมีแผ่นการดำเนินการขยายขอบเขตการขอรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 ไปยังโครงสร้างพื้นฐานระบบงานหลักมีความสำคัญของ PEA เพิ่มติม ให้ครอบคลุมทุกระบบงานหลัก ประกอบด้วยกลุ่มซอฟต์แวร์ Back Ofice (ระบบ Enterprise Resource Planning: ERP), กลุ่มซอฟต์แวร์ Front Office (ระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า IS-U) และระบบงานบริหารไฟฟ้าขัดข้อง (Outage Management System : OMS)

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • บรรลุเป้าหมายการยกระดับความรู้ของพนักงานจากการเข้าร่วมการอบรมและผ่านการอบรมหลักสูตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protedtion) อย่างน้อยร้อยละ 90 ของพนักงาน
  • ได้รับแจ้งเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 6 เรื่อง โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DataProtecion Officer : DPO) เพื่อประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ไม่พบเหตุการณ์ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือละเมิดความเป็นส่วนตัวที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
  1. สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าและผู้ใช้ไฟที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
  2. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าและผู้ใช้ไฟที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
  3. เยี่ยมเยือนลูกค้ารายสำคัญ (Key Account Customer) เพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ และนำระบบ Digital CRM มาใช้สนับสนุนในการให้บริการลูกค้า
  4. รับฟังเสียงของลูกค้าในหลากหลายช่องทาง ได้แก่
      • 1129 PEA Call Center จำนวน 37,932 เสียง
      • Website PEA จำนวน 5,470 เสียง
      • PEA Smart Plus จำนวน 4,820 เสียง
      • สปน./สตง./ปปช./ปปท. จำนวน 407 เสียง
      • สำนักงานการไฟฟ้า จำนวน 117 เสียง
      • ผู้ว่าการ/สำนักงานการไฟฟ้า ภาค 1-4 จำนวน 115 เสียง
      • ส่งผ่านหน่วยงานอื่น ๆ จำนวน 54 เสียง
      • PEA-V Care จำนวน 38 เสียง
      • ศูนย์ดำรงธรรม จำนวน 23 เสียง
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
  1. ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สายงานธุรกิจและการตลาด (ธต)
  2. ฝ่ายบริการวิศวกรรม สายงานธุรกิจและการตลาด (ธต)
Engagement score
0
ค่าเฉลี่ยความผูกพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่ 2 ลูกค้า/ผู้ใช้ไฟฟ้า กับ PEA

กลุ่มที่ 3 กลุ่มชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม

ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การป้องกันอุบัติเหตุ/อัคคีภัย จากระบบจำหน่ายไฟฟ้า และให้ความรู้ต่อการใช้บริการของ PEA หรือการใช้ไฟฟ้า อย่างประหยัดและปลอดภัยแก่ชุมชน
  • การปรับทัศนียภาพบนเสาไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของคนในสังคม อาทิ การจัดระเบียบสายสื่อสาร การนำสายไฟลงใต้ดิน
  • การให้บริการที่เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ และทั่วถึงแก่ทุกคน
  • มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่สะดวกและเข้าถึงง่าย และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
  • มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินงาน
     
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ค่าผลกระทบความไม่ปลอดภัย มีค่าเท่ากับ 0.0039 (สายไฟฟ้าขาด 5 ครั้ง, อุปกรณ์ไฟฟ้าระเบิด 2 ครั้ง และการลัดวงจรในระบบไฟฟ้า 1 ครั้ง) ดีกว่าค่าเป้าหมาย 6.72 เท่า

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ดำเนินการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่แล้วเสร็จจำนวน 153,987 ราย (เป้าหมายโครงการ 141,960 ราย)
  • ดำเนินการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้เกษตรกรผู้ต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ทำกินแล้ว 64,955 ราย (เป้าหมายโครงการ 57,100 ราย)
  • ในปี 2565 มีจำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว 21,535,107 ครัวเรือน (เทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในประเทศ 21,593,074 ครัวเรือน) เข้าถึงระบบไฟฟ้ากว่า ร้อยละ 99.73

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ไม่มีข้อร้องเรียนในเรื่องการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่ไม่เป็นธรรม และไม่พบการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับกรณีของการเลือกปฏิบัติ
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
  1. สำรวจทำแบบสำรวจความผูกพัน ความต้องการ ความคาดหวังของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
  2. ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนชุมชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการของชุมชน ทั้ง 12 เขต 1 ครั้งต่อปี
  3. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
  4. สื่อสาร แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ/อัคคีภัย จากระบบจำหน่ายไฟฟ้า และให้ความรู้ต่อการใช้บริการของ PEA หรือการใช้ไฟฟ้า อย่างประหยัดและปลอดภัยแก่ชุมชนทั่วประเทศผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ตลอดทั้งปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ฝ่ายบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (ฝบย.) สายงานยุทธศาสตร์
Engagement score
0
ค่าเฉลี่ยความผูกพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่ 3 กลุ่มชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมกับ PEA

กลุ่มที่ 4 กลุ่มสื่อมวลชน

ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทันสถานการณ์ รวดเร็ว และข้อมูลมีความชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน
  • ข้อมูลที่ได้รับสามารถสื่อสารถ่ายทอดต่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้โดยง่าย
  • การส่งเสริมการใช้ทั้งสื่อรูปแบบเก่า และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ข่าวได้ครอบคลุมทุกพื้นที่
  • ให้ความร่วมมือในการนำเสนอข่าว
  • ให้ความสำคัญกับสื่อมวลชนท้องถิ่นและเนื้อข่าว
  • ช่องทางการแจ้งข้อมูลข่าวสารเรื่องไฟฟ้า
  • ไม่มีโฆษกประจำสำนักงานเขตที่แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ กรณีเกิดเหตุการณ์วิกฤต
  • ขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้สื่อมวลชนไม่ทราบโครงการสนับสนุน โครงการช่วยเหลือของ PEA สำหรับผู้ใช้ไฟในประเภทต่าง ๆ
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง

ผลผลิต และผลลัพธ์

มีการฝึกซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ของกระบวนงานหลักที่หลากหลายเพื่อรองรับภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นโดยเรียงลำดับเหตุการณ์ที่มีจำนวนการฝึกซ้อมจากมากไปน้อยได้ ดังนี้

    • ไฟไหม้ ร้อยละ 30
    • Cyber Altack ร้อยละ 20
    • รถยนต์ชนเสาไฟฟ้าแรงสูง ร้อยละ 10
    • พายุพัดระบบจำหน่ายและสายส่ง ร้อยละ 10
    • น้ำท่วมสำนักงาน ร้อยละ 10
    • โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 10
    • จลาจล/ชุมนุมปิดล้อม ร้อยละ 5
    • วินาศกรรมสำนักงาน/
    • ระบบจำหน่ายและสายส่ง ร้อยละ 3
    • เคเบิลใต้น้ำชำรุด ร้อยละ 2
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
  1. จัดทำแบบสำรวจเพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการของสื่อมวลชน 1 ครั้งต่อปี
  2. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของสื่อมวลชนที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
  3. สำรวจทำแบบสำรวจความผูกพัน ความต้องการ ความคาดหวังของสื่อมวลชนที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
  4. จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชนเป็นประจำผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ งาน Press Tour, งาน Thank Press, งาน ผวก. พบ บก. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ

ฝ่ายบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (ฝบย.) สายงานยุทธศาสตร์

Engagement score
0
ค่าเฉลี่ยความผูกพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่ 4 กลุ่มสื่อมวลชนกับ PEA

กลุ่มที่ 5 กลุ่มพันธมิตร

ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การประสานงานที่ดีเพื่อความปลอดภัย และ ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
  • การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ทันกาล ข้อมูลมีความชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน และเข้าถึงได้ง่าย
  • ดำเนินงานด้วยความเท่าเทียม, เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
  • มีการส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง กลุ่มพันธมิตร (ผู้ส่งมอบ คู่ค้า คู่ความร่วมมือ) และ PEA
  • มีโครงการ/การร่วมทุน เพื่อพัฒนาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในระดับประเทศ
  • การอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อประสานงาน
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ค่า SAIFI และ SAIDI เป็นไปตามเป้าหมายและค่าลดลงทุกปี (SAIFI 1.76 ลดลงจาก 2.19 และ SAIDI 34.98 ลดลงจาก 44.51)

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ค่าดัชนีการประสบอุบัติภัย (Disabling Injury Index: VDI) ได้เท่ากับ 0.0898 ลดลงจากปีที่ผ่านมา 0.0765 คิดเป็นร้อยละ 46.00
  • จำนวนพนักงานและลูกจ้างที่ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับงาน 14 คนลดลงจากปีที่ผ่านมา 11 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสำนักงาน ป.ป.ช. ปี 2565 ได้ผลการประเมินร้อยละ 97.37 (Rating Score ระดับ AA) เป็นอันดับที่ 1 ของรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน และอันดับที่ 6 ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่เข้ารับการประเมิน
  • ผลการสำรวจความพึ่งพอใจต่อความโปร่งใสของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของ PEA มีระดับความพึงพอใจมาก หรือมีค่าเท่ากับ 4.17 คะแนน
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
1. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของพันธมิตรที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
2. จัดทำแบบสำรวจความผูกพัน ความต้องการ ความคาดหวังของพันธมิตรที่มีต่อการดำเนินงานของPEA 1 ครั้งต่อปี
3. จัดประชุมเพื่อสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะในการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง PEA และพันธมิตรอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ในประเด็นและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังต่อไปนี้
ผู้ส่งมอบพลังงาน 

• ประเด็นเกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน, ข้อกำหนด, ระเบียบ ด้านระบบไฟฟ้า ร่วมกับ ผู้ส่งมอบพลังงาน (กฟผ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กฟน.)
• ประเด็นเกี่ยวขั้นตอนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบพลังงานร่วมกับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาด เล็กมาก (VSPP)

ผู้ส่งมอบอุปกรณ์และบริการ

• ประเด็นเกี่ยวกับมาตรฐานการก่อสร้างระบบไฟฟ้า ร่วมกับผู้รับเหมาก่อสร้างระบบไฟฟ้า/สถานีไฟฟ้า
• ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและความปลอดภัย ร่วมกับผู้รับจ้าง-รับเหมาบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
• ประเด็นเกี่ยวกับการควบคุมงานและความปลอดภัย ร่วมกับผู้รับเหมาแรงงาน

คู่ความร่วมมือ

• ประเด็นเกี่ยวกับการพาดสายสื่อสาร ร่วมกับหน่วยงานที่ต้องการพาดสายสื่อสาร

4. เยี่ยมเยือนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องระหว่าง PEA และพันธมิตรอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี สำหรับผู้ส่งมอบพนักงาน/ผู้ส่งมอบอุปกรณ์และบริการ

หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่ม 5.1 ผู้ส่งมอบพลังงานไฟฟ้า
  1. ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน (ฝนศ.) สายงานยุทธศาสตร์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่ม 5.2 ผู้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์
  1. ฝ่ายบริการวิศวกรรม (ฝบว.) สายงานธุรกิจและการตลาด
  2. ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (ฝพธ.) สายงานธุรกิจและการตลาด
  3. ฝ่ายวิศวกรรม (ฝวศ.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่ม 5.3 ผู้ส่งมอบบริการ

  1. ฝ่ายกลยุทธ์ดิจิทัลและบริหารจัดการข้อมูล (ฝดข.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
  2. ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล (ฝสท.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
  3. ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษาระบบดิจิทัล (ฝปด.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
  4. ฝ่ายพัฒนาระบบดิจิทัล (ฝพจ.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
  5. ฝ่ายระบบสื่อสาร (ฝรส.) สายงานดิจิทัลและการสื่อสาร
  6. ฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้า (ฝบร.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
  7. ฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์สถานีไฟฟ้า (ฝบส.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
  8. ฝ่ายปฏิบัติการและเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้า (ฝปฟ.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
  9. ฝ่ายก่อสร้างระบบไฟฟ้า (ฝกร.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
  10. ฝ่ายก่อสร้างสถานีไฟฟ้า (ฝกส.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
  11. ฝ่ายบริหารโครงการ 1 (ฝบก.1) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
  12. ฝ่ายบริหารโครงการ 2 (ฝบก.2) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
  13. ฝ่ายบริหารจัดการระบบวัดพลังงานไฟฟ้าและหม้อแปลงระบบจำหน่าย (ฝมจ.) สายงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
  14. ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ (ฝนย.) สายงานยุทธศาสตร์
  15. ฝ่ายบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (ฝบย.) สายงานยุทธศาสตร์
  16. ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า (ฝวร.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม
  17. ฝ่ายงานโยธา (ฝยธ.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม
  18. ฝ่ายส่งเสริมผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าและอนุรักษ์พลังงาน (ฝสอ.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม
  19. ฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และควบคุมคุณภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า (ฝวน.) สายงานวางแผนและวิศวกรรม
  20. ฝ่ายจัดการงานบริการองค์กร (ฝจบ.) สายงานโลจิสติกส์และบริการองค์กร
  21. ฝ่ายวิศวกรรมและบริการ (ฝวบ.) สายงานภาคกลางและใต้ ฝ่ายสนับสนุนการบริหารงาน สายงานภาคกลางและใต้
  22. ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา (ฝปบ.) สายงานภาคกลางและใต้
  23. ฝ่ายวิศวกรรมและบริการ (ฝวบ.) สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
  24. ฝ่ายสนับสนุนการบริหารงาน สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
  25. ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา (ฝปบ.) สายงานภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่ม 5.4 คู่ความร่วมมือในภารกิจสนับสนุน หรือภารกิจอื่น ของ กฟภ.
  1. ฝ่ายกลยุทธ์การตลาด (ฝกต.) สายงานธุรกิจและการตลาด
  2. ฝ่ายบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (ฝลพ.) สายงานธุรกิจและการตลาด
  3. ฝ่ายการเงิน (ฝกง.) สายงานบัญชีและการเงิน
 
Engagement score
0
ค่าเฉลี่ยความผูกพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่ 5 กลุ่มพันธมิตรกับ PEA

กลุ่มที่ 6 กลุ่มคณะกรรมการ

ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การปรับตัวของ PEA เพื่อรองรับผลกระทบจากนโยบายไฟฟ้าเสรี และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน
  • การสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด, พลังงานหมุนเวียน, พลังงานทดแทน
  • การมีธรรมาภิบาลในองค์กร ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ความโปร่งใสใน การดำเนินงาน การปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อลูกจ้าง/พนักงาน, คู่ค้า การหลีกเลี่ยงการจัดซื้อจัดจ้างที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง
  • ส่งเสริมความปลอดภัย เพื่อลดอุบัติเหตุจากการใช้ไฟฟ้า, ระบบไฟฟ้าในชุมชน
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสำนักงาน ป.ป.ช. ปี 2565 ได้ผลการประเมินร้อยละ 97.37 (Rating Score ระดับ AA) เป็นอันดับที่ 1 ของรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน และอันดับที่ 6 ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่เข้ารับการประเมิน
  • ผลการสำรวจความพึ่งพอใจต่อความโปร่งใสของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของ PEA มีระดับความพึงพอใจมาก หรือมีค่าเท่ากับ 4.17 คะแนน

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • บูรณาการกระบวนการออกแบบและทบทวนระบบงาน กระบวนการทำงานข้อกำหนดของระบบงานกับแต่ละกระบวนการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business Architecture: BA) ซึ่งเป็นการดำเนินงานขั้นต้นของการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของ PEA เพื่อตอบสนองต่อความต้องการความคาดหวังของทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ PEA รวมถึงตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของ PEA
    โดยระบบงาน กระบวนการ พร้อมผู้รับผิดชอบ เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

ผลผลิต และผลลัพธ์

    • ได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กร ระดับ “AAA” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ตั้งแต่ปี 2561 – 2565 จาก Tris Corporation
    • ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อยู่ที่ 2.30
      – ผลการบริหารค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (CPI-X) 31,387.04 ล้านบาท
      – อัตราส่วนการทำกำไร (Net profit margin) อยู่ที่ 2.00
      – รายได้ทั้งหมด 606,395.53 ล้านบาท
      – มูลค่าทางเศรษฐกิจที่จำหน่ายออก 603,801.94 ล้านบาท
      – มูลค่าทางเศรษฐกิจสะสม 2,593.59 ล้านบาท
      – รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.05 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
  1. จัดสัมภาษณ์ คณะกรรมการ เพื่อรับฟัง ความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการ 1 ครั้งต่อปี (In-depth Interview)
  2. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการ ที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
  3. สำรวจความพึงพอใจของคณะกรรมการที่มีต่อ การดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ฝ่ายเลขานุการองค์กร
Engagement score
0
ค่าเฉลี่ยความผูกพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่ 6 กลุ่มคณะกรรมการกับ PEA

กลุ่มที่ 7 กลุ่มพนักงาน/หน่วยงานภายใน

ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อการทำงาน รวมถึงได้รับการสื่อสารในการบริหารงาน และ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว
  • มีความชัดเจนในหน้าที่และอำนาจตามความรับผิดชอบและมีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน รวมถึงได้รับโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ เงินเดือน ผลตอบแทน สวัสดิการ และ สิทธิประโยชน์สำหรับบุคลากร
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ไม่มีข้อร้องเรียนในเรื่องการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่ไม่เป็นธรรม และไม่พบการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับกรณีของการเลือกปฏิบัติระดับความพึงพอใจของพนักงานใหม่ที่มีต่อกระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร อยู่ที่ 4.61 จากคะแนนเต็ม 5 อยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
  • ค่าเฉลี่ยความผูกพันของบุคลากร อยู่ที่ 4.56 จากคะแนนเต็ม 5
  • ค่าเฉลี่ยความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน อยู่ที่ 4.52 จากคะแนนเต็ม 5
  • ระดับความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอยู่ที่ 4.56 จากคะแนนเต็ม 5
  • ระดับความอยากทุ่มเทกายใจในการทำงาน อยู่ที่ 4.61 จากคะแนนเต็ม 5
  • อัตราการลาออกของพนักงานปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 0.22 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 83.33
  • อัตราการลาออกของลูกจ้างปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 8.90 ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 13.00
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
  1. ผู้บริหารพบปะผู้ปฏิบัติงาน (ประชุม/ตรวจเยี่ยม /ร่วมกิจกรรม) 1 ครั้งต่อสัปดาห์
  2. รายการผู้ว่าการพบพนักงาน 1 ครั้งต่อไตรมาส
  3. การประชุมผู้บริหารระดับสูงร่วมกับแต่ละสายงาน 1 ครั้งต่อเดือน
  4. การประกาศนโยบายในการบริหารและพัฒนาองค์กรของ ผู้ว่าการ 1 ครั้งต่อไตรมาส
  5. การสัมมนาชี้แจงแผนยุทธศาสตร์ประจำปี โดยผู้บริหารระดับสูง 1 ครั้งต่อปี
  6. การประชุมถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์/ทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปีของสายงาน 1 ครั้งต่อปี
  7. สำรวจความพึงพอใจของพนักงาน/หน่วยงานภายในที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ฝ่ายตรวจสอบภายในองค์กร (ฝตอ.) สำนักตรวจสอบภายใน
Engagement score
0
ค่าเฉลี่ยความผูกพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่ 7 กลุ่มพนักงาน/หน่วยงานภายในกับ PEA

กลุ่มที่ 8 กลุ่มบริษัทในเครือ

ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การให้ความสำคัญของบริษัทในเครือ และสร้างคุณค่าของบริษัทในเครือ ยกระดับความมั่นคงและผลการดำเนินงาน สถานะการเงินของบริษัทในเครือ พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร อีกทั้งควรมีการกำกับดูแล
  • มีแผนงานที่ชัดเจนกับบริษัทในเครือ
  • มีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และ ความรับผิดชอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนต่อบริษัทในเครือ
  • ผลักดันความร่วมมือระหว่างบริษัทในเครือกับ PEA
  • มีขั้นตอน กระบวนการธุรกิจที่ถูกต้องและรวดเร็ว ลดความล่าช้าในการทำธุรกรรมกับ PEA
  • สนับสนุน ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือตามที่บริษัท ในเครือร้องขอ
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • PEA สำนักงานใหญ่ รักษาสถานะการรับรองมาตรฐาน ISO 22301 :2019 ได้อย่างต่อเนื่อง
  • พัฒนาระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ PEA ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยนำข้อกำหนด ISO 22301:2019 มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน โดยสื่อสารและถ่ายทอดให้การไฟฟ้าเขต และการไฟฟ้าจุดรวมงาน รวมทั้งสิ้น 36 แห่งเพื่อนำไปปฏิบัติตามระบบ PEA BCM
 
ผลผลิต และผลลัพธ์
  • ได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กร ระดับ “AAA” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ตั้งแต่ปี 2561 – 2565 จาก Tris Corporation
  • ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อยู่ที่ 2.30
    – ผลการบริหารค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (CPI-X) 31,387.04 ล้านบาท
    – อัตราส่วนการทำกำไร (Net profit margin) อยู่ที่ 2.00
    – รายได้ทั้งหมด 606,395.53 ล้านบาท
    – มูลค่าทางเศรษฐกิจที่จำหน่ายออก 603,801.94 ล้านบาท
    – มูลค่าทางเศรษฐกิจสะสม 2,593.59 ล้านบาท
    – รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.05 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
  1. จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ความต้องการของคณะกรรมการ 1 ครั้งต่อปี
  2. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของบริษัทในเครือ ที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้งต่อปี
  3. สำรวจความพึงพอใจของคณะกรรมการที่มีต่อ การดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
  4. จัดประชุมเพื่อสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะในการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง PEA และบริษัทในเครืออย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี โดยครอบคลุมประเด็น ดังต่อไปนี้
    • เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และ ความรับผิดชอบ ในการดำเนินงานที่ชัดเจนต่อบริษัทในเครือ
    • ความร่วมมือระหว่างบริษัทในเครือกับ PEA
    • สนับสนุน ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือตามที่บริษัท ในเครือร้องขอ
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ (ฝนย.) สายงานยุทธศาสตร์
Engagement score
0
ค่าเฉลี่ยความผูกพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่ 8 กลุ่มบริษัทในเครือกับ PEA

กลุ่มที่ 9 กลุ่มคู่เทียบ/คู่แข่งขัน

ความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มีการส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Network) ระหว่าง PEA และ คู่เทียบ/คู่แข่งขัน
  • มีการดำเนินงาน/โครงการร่วมกัน เพื่อพัฒนาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในระดับประเทศ หรือต่อยอดธุรกิจอื่น
ประเด็นการตอบสนองความต้องการความคาดหวัง

ผลผลิต และผลลัพธ์

  • ค่า SAIFI และ SAIDI เป็นไปตามเป้าหมายและค่าลดลงทุกปี (SAIFI 1.76 ลดลงจาก 2.19 และ SAIDI 34.98 ลดลงจาก 44.51)
 
ผลผลิต และผลลัพธ์
  • ได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กร ระดับ “AAA” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ตั้งแต่ปี 2561 – 2565 จาก Tris Corporation
  • ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อยู่ที่ 2.30
    – ผลการบริหารค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (CPI-X) 31,387.04 ล้านบาท
    – อัตราส่วนการทำกำไร (Net profit margin) อยู่ที่ 2.00
    – รายได้ทั้งหมด 606,395.53 ล้านบาท
    – มูลค่าทางเศรษฐกิจที่จำหน่ายออก 603,801.94 ล้านบาท
    – มูลค่าทางเศรษฐกิจสะสม 2,593.59 ล้านบาท
    – รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.05 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความถี่
  1. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นความต้องการ/ ความคาดหวังจากคู่เทียบ/คู่แข่งขัน 1 ครั้ง
  2. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของคู่เทียบ/คู่แข่งขันที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 ครั้ง
  3. สำรวจความพึงพอใจของคู่เทียบ/คู่แข่งขันที่มีต่อการดำเนินงานของ PEA 1 ครั้งต่อปี
  4. จัดประชุมเพื่อสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะในการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง PEA และคู่แข่งขันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Network) ระหว่าง PEA และ คู่เทียบ/คู่แข่งขัน
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ (ฝนย.) สายงานยุทธศาสตร์
Engagement score
0
ค่าเฉลี่ยความผูกพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มที่ 9 กลุ่มคู่เทียบ/คู่แข่งขันกับ PEA
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Scroll to Top